ข้ามไปเนื้อหา

Intrafusal muscle fiber

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Intrafusal muscle fiber
muscle spindle ประกอบด้วยเส้นใยประสาทสั่งการ γ และเส้นใยประสาทรับความรู้สึก Ia
รายละเอียด
ส่วนหนึ่งของกล้ามเนื้อโครงร่าง
หน้าที่การรับรู้อากัปกิริยา
ตัวระบุ
ภาษาละตินmyofibra intrafusalis
THH3.03.00.0.00012
ศัพท์ทางกายวิภาคของจุลกายวิภาคศาสตร์

intrafusal muscle fiber แปลว่า เส้นใยกล้ามเนื้อในกระสวย เป็นเส้นใยกล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่เป็นอวัยวะรับความรู้สึกพิเศษ (คือเป็นตัวรับรู้อากัปกิริยา หรือ proprioceptor) ที่ตรวจจับความยาวและอัตราการเปลี่ยนความยาวของกล้ามเนื้อ[1] เป็นองค์ประกอบของ muscle spindle และได้เส้นประสาททั้งแบบรับความรู้สึก (นำเข้า) และแบบสั่งการ (นำออก) ซึ่งเป็นเส้นใยประสาทนำออกจากเซลล์ประสาทสั่งการแกมมาอันเป็นเซลล์ประสาทมีหลายขั้ว (multipolar) ในไขสันหลังส่วน anterior gray column เส้นใยกล้ามเนื้อในกระสวยแยกจากเส้นใยกล้ามเนื้อนอกกระสวยด้วยปลอกเนื้อเยื่อเกี่ยวพันรูปกระสวยที่ประกอบด้วยเซลล์สร้างเส้นใยแบน ๆ และคอลลาเจน[2] เพราะมีรูปร่างเป็นกระสวย (หรือ fusiform) ดังนั้น จึงมีชื่อว่า intrafusal (ในกระสวย)

มีเส้นใยกล้ามเนื้อในกระสวยสองอย่างคือ nuclear bag fiber และ nuclear chain fiber มีปลายประสาทรับความรู้สึกมีรูปร่างสองอย่างคือแบบหมุนวนเป็นขด (annulospiral ending) และแบบช่อกลีบดอกไม้ (flower-spray ending) ต่อกับเส้นใยกล้ามเนื้อตรงกลาง ๆ ที่หดเกร็งไม่ได้ ส่วนปลายเส้นใยกล้ามเนื้อทั้งสองข้างสามารถหดเกร็งได้และได้เส้นใยประสาทจากเซลล์ประสาทสั่งการแกมมา ข้อมูลความรู้สึกที่ได้จากเส้นใยกล้ามเนื้อสองอย่างเหล่านี้ทำให้บุคคลสามารถรู้ตำแหน่งของกล้ามเนื้อและอัตราที่มันกำลังเปลี่ยนไป

ไม่ควรสับสนเส้นใยกล้ามเนื้อในกระสวยกับ extrafusal muscle fiber (เส้นใยกล้ามเนื้อนอกกระสวย) ซึ่งเป็นตัวออกแรงของกล้ามเนื้อจริง เมื่อหดเกร็งก็จะทำให้ร่างกายเคลื่อนไหว และได้เส้นประสาทจากเซลล์ประสาทสั่งการอัลฟา

ดูเพิ่ม

[แก้]

เชิงอรรถและอ้างอิง

[แก้]
  1. Casagrand, Janet (2008). Action and Movement: Spinal Control of Motor Units and Spinal Reflexes. Boulder: University of Colorado.{{cite book}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  2. Mancall, Elliott L; Brock, David G, บ.ก. (2011). "Chapter 2 - Overview of the Microstructure of the Nervous System". Gray’s Clinical Neuroanatomy: The Anatomic Basis for Clinical Neuroscience. Elsevier Saunders. pp. 29-30. ISBN 978-1-4160-4705-6.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]