ข้ามไปเนื้อหา

เศข หาสินา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก เชก ฮาซินา)
เศข หาสินา
শেখ হাসিনা
หาสินาในปี 2023
นายกรัฐมนตรีบังกลาเทศ คนที่ 10
ดำรงตำแหน่ง
6 มกราคม 2009 – 5 สิงหาคม 2024
ประธานาธิบดี
ก่อนหน้าฟาครูดดีน อะห์เมด (รักษาการ)
ถัดไปLatifur Rahman (รักษาการ)
ดำรงตำแหน่ง
23 มิถุนายน 1996 – 15 กรกฎาคม 2001
ประธานาธิบดี
ก่อนหน้ามุฮามัด ฮาบีบูร์ ระห์มัน (รักษาการณ์)
ถัดไปลาตีฟูร์ ระห์มัน (รักษาการณ์)
ประธานสภา คนที่ 8
เริ่มดำรงตำแหน่ง
6 มกราคม 2009
ก่อนหน้าคาเลดา ซีอา
ดำรงตำแหน่ง
23 มิถุนายน 1996 – 15 กรกฎาคม 2001
ก่อนหน้าคาเลดา ซีอา
ถัดไปคาเลดา ซีอา
ประธานอวามีลีด คนที่ 8
เริ่มดำรงตำแหน่ง
16 กุมภาพันธ์ 1981
ก่อนหน้าอับดุล มาเลก อุกิล
สมาชิกรัฐสภา
เริ่มดำรงตำแหน่ง
12 มิถุนายน 1996
ก่อนหน้ามุชิพุร ระห์มัน หวลาเทร์
เขตเลือกตั้งโคปาลคัญช์-3
ดำรงตำแหน่ง
27 กุมภาพันธ์ 1991 – 15 กุมภาพันธ์ 1996
ก่อนหน้ากาซี ฟีโรซ ราชีด
ถัดไปมุชิพุร ระห์มัน หวลาเทร์
เขตเลือกตั้งโคปาลกัญช์-3
หัวหน้าฝ่ายค้าน คนที่ 2
ดำรงตำแหน่ง
10 ตุลาคม 2001 – 29 ตุลาคม 2006
นายกรัฐมนตรีคาเลดา ซีอา
ก่อนหน้าคาเลดา ซีอา
ถัดไปคาเลดา ซีอา
ดำรงตำแหน่ง
20 มีนาคม 1991 – 30 มีนาคม 1996
นายกรัฐมนตรีคาเลดา ซีอา
ก่อนหน้าอับดูร์ รัพ
ถัดไปคาเลดา ซีอา
ดำรงตำแหน่ง
7 พฤษภาคม 1986 – 3 มีนาคม 1988
ประธานาธิบดีฮุสเซน มูฮาเมด เอร์ชาด
ก่อนหน้าอาซาดูซซามัน ข่าน
ถัดไปอับดุร รัพ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด (1947-09-28) 28 กันยายน ค.ศ. 1947 (77 ปี)
ตุงคีปัร เบงกอลตะวันออก รัฐปากีสถาน
พรรคการเมืองอวามีลีกบังกลาเทศ
การเข้าร่วม
พรรคการเมืองอื่น
มหาพันธมิตร (2008-)
คู่สมรสเอ็ม เอ วาเซด มีอะห์ (สมรส 1968; เสียชีวิต 2009)
บุตร
บุพการี
ความสัมพันธ์ดู สายตระกูลเศข-วาเซด
ที่อยู่อาศัยคณภวัน เชเรบังกลานคร ธากา
การศึกษา
ลายมือชื่อ

เศข หาสินา วาเชด (เบงกอล: শেখ হাসিনা ওয়াজেদ; Sheikh Hasina Wazed, เกิด 28 กันยายน 1947) เป็นนักการเมืองชาวบังกลาเทศ ผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีบังกลาเทศคนที่สิบระหว่างปี 1996–2001 และ 2009–2024 เธอเป็นลูกสาวของชีค มูจิบูร์ เราะห์มาน บิดาแห่งบังกลาเทศและประธานาธิบดีบังกลาเทศคนแรก เธอดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีรวมนานกว่า 19 ปี ถือว่ายาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์บังกลาเทศ และเป็นหัวหน้ารัฐบาลสตรีที่ดำรงตำแหน่งนานที่สุดในโลก[1]

หลังรัฐบาลเผด็จการของฮุสเซน มูฮาเมด เอร์ชาด สิ้นสุดลง หาสินาซึ่งเป็นประธานพรรคอวามีลีก แพ้ในการเลือกตั้งปี 1991 ให้กับคาเลดา ซีอา ทั้งสองเคยร่วมมือกันโค่นล้มเอร์ชาดมาก่อนหน้า[2] หาิสนาเป็นหัวหน้าฝ่ายค้านในสภา และในตำแหน่งนี้เธอได้กล่าวโทษพรรคชาตินิยมบังกลาเทศ (BNP) ของซีอาว่ามีการทุจริตในการเลือกตั้งเกิดขึ้น และประกาศปฏิเสธรัฐสภาชุดนี้ นับจากนั้นได้เกิดการประท้วงทางการเมืองและความระหองระแหงทางการเมืองตามมา ซีอาลาออกจากตำแหน่งและรัฐบาลเปลี่ยนผ่านอยู่ในอำนาจแทน หลังจากนั้นหาสินาชนะการเลือกตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีสำเร็จในการเลือกตั้งเดือนมิถุนายน 1996 หลังจากนั้นมา บังกลาเทศเริ่มเข้าสู่ยุคสมัยแห่งการเติบโตทางเศรษฐกิจและหลุดพ้นจากความยากจน

ในสมัยการเป็นนายกรัฐมนตรีของเธอ บังกลาเทศเผชิญกับการถดถอยทางประชาธิปไตย ฮิวแมนไรต์วอชรายงานและบันทึกการสูญหายและฆาตกรรมนอกกฎหมายอย่างแพร่หลายภายใต้รัฐบาลของเธอ มีการลงโทษนักข่าวและผู้ที่วิจารณ์รัฐบาลของเธออย่างเป็นระบบโดยต่อเนื่อง[3][4] ในปี 2021 นักข่าวไร้พรมแดนประเมินนโยบายสื่อของหาสินาไปในทางลบ โดยนโยบายที่ขัดกับการรายง่านข่าวโดยเสรีของหาสินามีใช้มาตั้งแต่ปี 2014[5] เธอได้รับการขึ้นชื่อเป็นหนึ่งใน 100 บุคคลผู้ทรงอิทธิพลของโลกโดยไทม์ ประจำปี 2018[6] และหนึ่งใน 100 สตรีผู้ทรงอิทธิพลของโลกโดยฟอบส์ในปี 2015,[7] 2018 และ 2022[8][9][10]

ภายหลังการประท้วงใหญ่ทั่วประเทศ ในวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2567 เศข หาสินา ประกาศลาออกจากตำแหน่งและลี้ภัยไปยังประเทศอินเดีย[11]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Survey: Sheikh Hasina tops as longest serving female leader in world". Dhaka Tribune. 11 September 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 June 2022. สืบค้นเมื่อ 10 June 2022.
  2. Crossette, Barbara (9 December 1990). "Revolution Brings Bangladesh Hope". The New York Times. ISSN 0362-4331. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 November 2018. สืบค้นเมื่อ 8 February 2019.
  3. Riaz, Ali (September 2020). "The pathway of massive socioeconomic and infracstructuaral development but democratic backsliding in Bangladesh". Democratization. 28: 1–19. doi:10.1080/13510347.2020.1818069. S2CID 224958514.
  4. Diamond, Larry (September 2020). "Democratic regression in comparative perspective: scope, methods, and causes". Democratization. 28: 22–42. doi:10.1080/13510347.2020.1807517.
  5. "Predator Sheikh Hasina". Reporters Without Borders (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 30 June 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 July 2021. สืบค้นเมื่อ 5 July 2021.
  6. "Sheikh Hasina: The World's 100 Most Influential People". Time (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2023-08-09.
  7. "The World's 100 Most Powerful Women 2015". Forbes ME (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2023-05-04.
  8. "The World's 100 Most Powerful Women". Forbes. 4 December 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 September 2017. สืบค้นเมื่อ 4 December 2018.
  9. "The World's 100 Most Powerful Women". Forbes. 1 November 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 December 2018. สืบค้นเมื่อ 2 November 2017.
  10. "Sheikh Hasina: The World's 100 Most Influential People". Time (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 October 2020. สืบค้นเมื่อ 23 September 2020.
  11. "Bangladesh PM Sheikh Hasina resigns and flees country as protesters storm palace". BBC News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 August 2024. สืบค้นเมื่อ 5 August 2024.