ชนชั้นกระฎุมพี
เป็นส่วนหนึ่งของชุด |
ลัทธิมากซ์ |
---|
กระฎุมพี (/กฺระดุมพี/) เป็นชนชั้นทางสังคมกลุ่มหนึ่ง ซึ่งอยู่ในกลุ่มชนชั้นกลางหรือชนชั้นพ่อค้าวาณิช ซึ่งได้สถานะทางสังคมหรืออำนาจมาจากหน้าที่การงาน การศึกษา หรือความมั่งมี (ซึ่งตรงกันข้ามกับพวกอภิชน) เป็นชนชั้นที่มีฐานะจากการค้าขายหรืองานช่างฝีมือ ไม่มีที่ดินเป็นของตนเอง ซึ่งอาจหมายรวมถึง นายทุน นายทุนน้อย คนชั้นกลาง ส่วน "ไพร่กระฎุมพี" นั้น หมายถึงชนชั้นที่อยู่ต่ำกว่ากระฎุมพีแต่สูงกว่าชนชั้นที่ต่ำที่สุดในสังคม เป็น "พลเมืองที่มีเงินพอใช้เลี้ยงชีวิตไม่เป็นทาสบุคคลผู้ใด"[1]
แนวคิดเช่น เสรีภาพส่วนบุคคล สิทธิพลเมืองและการนับถือศาสนา และการค้าเสรี ล้วนสืบทอดมาจากปรัชญาของกระฎุมพี
ในมุมมองมาร์กซิสต์
[แก้]หนึ่งในการวิจารณ์กระฎุมพีที่ทรงอิทธิพลที่สุดมาจาก คาร์ล มาร์กซ โดยเขาโจมตีทฤษฎีการเมือง และมุมมองต่อประชาสังคมและวัฒนธรรมพลเมืองของกระฎุมพี ที่เชื่อว่าแนวคิดและสถาบันต่าง ๆ เหล่านี้เป็นความจริงสากลเสมอ ในมุมมองของมาร์กซนั้น แนวคิดเหล่านี้เป็นเพียงอุดมการณ์ของกระฎุมพีในฐานะชนชั้นปกครองกลุ่มใหม่ ซึ่งต้องการจะจัดระเบียบสังคมตามสิ่งที่ตนจินตนาการ
กระฎุมพีในประเทศไทย
[แก้]ลักษณะเด่นของกระฎุมพีในประเทศไทยก็คือ การกำเนิดและแหล่งที่มาของกระฎุมพีในสังคมรัตนโกสินทร์นั้นไม่ได้กำเนิดแยกเป็นอิสระจากชนชั้นศักดินา ที่ครอบครองอำนาจและผลประโยชน์เศรษฐกิจของอาณาจักรมาก่อน
รูปศัพท์
[แก้]ความหมายตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ได้ให้ความหมายไว้ดังนี้ น. (1) คำนี้เดิมแปลว่า คนมั่งมี, พ่อเรือน. [ในอินเดียบางแห่งหมายความว่า ชนจำพวกศูทรที่มั่งมีขึ้น (หนังสือ Hobson-Jobson ในคำว่า Kumbi-กุมพี), ภาษาทมิฬ (ภาษาปาก) ว่า คนจน].
คำว่า กระฎุมพี นี้ มาจากภาษาสันสกฤตว่า กุฎุมฺพี หรือ กุฏุมฺพิก (กุ-ตุม-พิ-กะ) ซึ่งแปลว่า ผู้มีทรัพย์ ซึ่งก็มาจากคำว่า กุฏุมฺพ (กุ-ตุม-พะ) ที่แปลว่า ขุมทรัพย์ ลง ณี และ อิก (อิ-กะ) ปัจจัยในตทัสสัตถิตัทธิต จึงแปลว่า ผู้มีทรัพย์ หรือ ผู้มีขุมทรัพย์ มีฐานะต่ำกว่า เศรษฐี ตามปรกติมักจะเป็น ลูกน้อง หรือ บริวาร ของเศรษฐี[2]
พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 อธิบายว่า เป็นคำนามหมายถึง "ชนชั้นต่ำ, นิยมใช้เข้าคู่กับคำ ไพร่ เป็น ไพร่กระฏุมพี" โดยระบุว่ามาจากคำสันสกฤตว่า "กุฎุมฺพิก" แปลว่า "คนมั่งมี"
ในวัฒนธรรม
[แก้]- เพลง คนกับควาย ของวงคาราวาน มีการใช้คำนี้ ในเนื้อเพลงท่อนหนึ่งว่า "...กระฎุมพีกินแรงแบ่งชนชั้น ชนชั้นชาวนาจึงต่ำลง..."[3]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ, ไพร่กระฎุมพี ความคิดการเมืองไพร่กระฎุมพีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์[ลิงก์เสีย], มติชน, 1 กันยายน พ.ศ. 2549 จากเว็บไซต์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (อ้างตามหมอบรัดเลย์)
- ↑ จำนงค์ ทองประเสริฐ, ไพร่-กระฎุมพี, เว็บไซต์ราชบัณฑิตยสถาน
- ↑ "www.caravanonzon.com - เพลงคนกับควาย วงคาราวาน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-14. สืบค้นเมื่อ 2007-09-18.