พระเจ้าอโศกมหาราช
พระเจ้าอโศกมหาราช | |
---|---|
พระเจ้าจักรพรรดิ Mahasamrat Magadhapati Magadhadhiraj Magadha Samrat Priyadarśin เทวานัมปริยะ Mahasammata janapadasthamaviryaprapt | |
จักรพรรดิโมริยะองค์ที่ 3 | |
ครองราชย์ | ป. 268 – 232 ปีก่อน ค.ศ.[3] |
ราชาภิเษก | 269 ปีก่อน ค.ศ.[3] |
ก่อนหน้า | พระเจ้าพินทุสาร |
ถัดไป | พระเจ้าทศรถ |
พระราชสมภพ | ป. 304 ปีก่อน ค.ศ. ปาฏลีบุตร แคว้นมคธ จักรวรรดิเมารยะ (ปัจจุบันคือปัฏนา รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย) |
สวรรคต | 232 ปีก่อน ค.ศ. (ป. 71 – 72 พรรษา) ปาฏลีบุตร แคว้นมคธ จักรวรรดิเมารยะ |
ชายา |
|
พระราชบุตร | |
ราชวงศ์ | โมริยะ |
พระราชบิดา | จักรพรรดิ พินทุสาร เมารยะ |
พระราชมารดา | จักรพรรดินี สุภัทรางคี หรือ ธรรมะ[note 1] |
ศาสนา | พุทธ[4][5] |
จักรพรรดิอโศก (เสียงอ่านภาษาสันสกฤต: [ɐˈɕoːkɐ], IAST: Aśoka; ป. 304 – 232 ปีก่อน ค.ศ.) หรือรู้จักกันในทั่วไปในพระนาม อโศกมหาราช เป็นจักรพรรดิเมาริยะองค์ที่ 3 แห่งแคว้นมคธในอนุทวีปอินเดียตั้งแต่ ป. 268 ถึง 232 ปีก่อน ค.ศ. พระองค์เป็นผู้มีบทบาทมากต่อการเผยแผ่ศาสนาพุทธจักรพรรดิอโศกขยายดินแดนของจักรวรรดิจากสมัยของพระเจ้าจันทรคุปตเมารยะไปถึงพื้นที่ที่ปัจจุบันคืออัฟกานิสถานจนถึงบังกลาเทศ เกือบทั่วทั้งอนุทวีปอินเดีย ยกเว้นเพียงบางส่วนของที่ซึ่งปัจจุบันคือรัฐทมิฬนาฑู, กรณาฏกะ และเกรละ ราชธานีในรัชสมัยคือปาฏลีบุตร (ใน มคธ, ปัจจุบันคือปัฏนา) และราชธานีชนบทที่ตักศิลา และ อุชไชนะ
ศึกครั้งสำคัญของจักรพรรดิอโศกคือศึกอันโหดร้ายต่อรัฐกลิงคะ ข้อมูลจากการตีความจารึกพระเจ้าอโศก ระบุว่าพระองค์เปลี่ยนศาสนาเป็นศาสนาพุทธ[6] หลังต้องเผชิญกับการล้มตายครั้งใหญ่ในสงครามกลิงคะ ซึ่งมีรายงานเสียชีวิตอยู่ที่ราว 100,000 รายเป็นอย่างต่ำ[7] จักรพรรดิอโศกเป็นที่จดจำในฐานผู้ตั้งอโศกสตมภ์ และเผยแผ่จารึกของพระองค์[8] และจากการส่งพระสงฆ์ไปยังศรีลังกาและเอเชียกลาง[4] รวมถึงการสร้างวิหารขึ้นเพื่อบูชาและเป็นอนุสรณ์ต่อช่วงชีวิตสำคัญของพระโคตมพุทธเจ้า[9]
การมีตัวตนของพระเจ้าอโศกในฐานะจักรพรรดิในประวัติศาสตร์เกือบถูกลืมไปแล้ว แต่นับตั้งแต่การถอดความข้อมูลที่เขียนด้วยอักษรพราหมีในคริสต์ศตวรรษที่ 19 พระเจ้าอโศกได้รับการยกย่องในฐานะหนึ่งในจักรพรรดิที่ยิ่งใหญ่ที่สุดพระองค์หนึ่งของประวัติศาสตร์อินเดีย ตราแผ่นดินของสาธารณรัฐอินเดียดัดแปลงมาจากหัวเสาอโศกรูปสิงห์ ส่วนอโศกจักรนำมาดัดแปลงไปตั้งตรงกลางธงชาติอินเดีย
แหล่งที่มาของข้อมูล
[แก้]ข้อมูลของพระเจ้าอโศกมีทั้งจากจารึกของพระองค์ จารึกอื่นที่ระบุถึงพระองค์หรืออาจมาจากสมัยพระองค์ และวรรณกรรมสมัยโบราณ โดยเฉพาะข้อมูลศาสนาพุทธ[10] ข้อมูลเหล่านั้นมักขัดแย้งกันเอง แม้ว่านักประวัติศาสตร์หลายคนพยายามเชื่อมโยงหลักฐานของตนก็ตาม[11] เช่น ในขณะที่พระอโศกมักได้รับการระบุด้วยการสร้างโรงพยาบาลหลายแห่งในสมัยของพระองค์ ไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนว่ามีโรงพยาบาลในอินเดียโบราณช่วงศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสต์ศักราช หรือพระอโศกมีส่วนรับผิดชอบในการก่อสร้างสิ่งก่อสร้างหรือไม่[12]
จารึก
จารึกของพระเจ้าอโศกเป็นการแสดงอำนาจของจักรวรรดิแรกสุดในอนุทวีปอินเดีย[13] อย่างไรก็ตาม จารึกเหล่านี้ส่วนใหญ่เน้นไปที่หัวข้อ ธรรมะ และให้ข้อมูลเกี่ยวกับมุมมองอื่น ๆ ของรัฐหรือสังคมเมารยะน้อย[11] แม้แต่ในหัวข้อ ธรรมะ เนื้อหาเหล่านี้ก็ไม่สามารถตีความหมายอย่างตรงไปตรงมา จอห์น เอส. สตรอง นักวิชาการชาวอเมริกัน พูดไว้ว่า บางครั้งเป็นประโยชน์กว่าที่คิดว่าข้อความของพระเจ้าอโศกเป็นการโฆษณาชวนเชื่อโดยนักการเมืองที่มีจุดมุ่งหมายนำเสนอภาพลักษณ์อันดีของตนเองและฝ่ายบริหาร มากกว่าบันทึกข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์[14]
ตำนานศาสนาพุทธ
ข้อมูลเกี่ยวกับพระเจ้าอโศกจำนวนมากมาจากตำนานศาสนาพุทธที่แสดงพระองค์เป็นจักรพรรดิผู้ยิ่งใหญ่ในอุดมคติ[15] ตำราเกี่ยวกับตำนานนี้ไม่ได้อยู่ร่วมสมัยพระเจ้าอโศกและเรียบเรียงโดยนักเขียนชาวพุทธที่ใช้เรื่องราวต่าง ๆ ในการแสดงให้เห็นถึงผลของศรัทธาที่มีต่อพระเจ้าอโศก ทำให้จำเป็นต้องใช้ความระมัดระวังในขณะที่ใช้ข้อมูลนี้ในทางประวัติศาสตร์[16] ในบรรดานักวิชาการสมัยใหม่ มีความเห็นตั้งแต่ละเรื่องราวเหล่านี้เป็นตำนาน ไปจนถึงการยอมรับส่วนที่ดูมีความเป็นไปได้ทางประวัติศาสตร์ทั้งหมด[17]
ตำนานศาสนาพุทธเกี่ยวกับพระเจ้าอโศกปรากฏอยู่ในหลายภาษา เช่น สันสกฤต, บาลี, ทิเบต, จีน, พม่า, เขมร, สิงหล, ไทย, ลาว และโคตัน ตำนานทั้งหมดสืบต้นตอถึงธรรมเนียมปฐมภูมิ 2 แหล่ง คือ:[18]
- ธรรมเนียมอินเดียเหนือที่บันทึกในภาษาสันสกฤต เช่น ทิวยาวทาน (รวมถึง อโศกาวทาน); และข้อมูลภาษาจีนอย่าง A-yü wang chuan และ A-yü wang ching[18]
- ธรรมเนียศรีลังกาที่บันทึกในภาษาบาลี เช่น ทีปวงศ์, มหาวงศ์, Vamsatthapakasini (อรรถาธิบายของ มหาวงศ์), อรรถาธิบายของพระพุทธโฆสะในเรื่องวินัย และ Samanta-pasadika[18][19]
มีความแตกต่างที่ชัดเจนบางส่วนระหว่างสองธรรมเนียมนี้ เช่น ธรรมเนียมศรีลังกาเน้นบทบาทของพระเจ้าอโศกในตติยสังคายนา และการส่งพระสงฆ์หลายรูปไปยังพื้นที่ห่างไกล ซึ่งรวมถึง มเหนทระ พระโอรส ไปยังศรีลังกา[18] อย่างไรก็ตาม ธรรมเนียมอินเดียเหนือไม่มีระบุถึงเหตุการณ์เหล่านี้ แต่ก็มีเหตุการณ์อื่น ๆ ที่ไม่ปรากฏในธรรมเนียมศรีลังกา เช่นเรื่องราวเกี่ยวกับพระโอรสอีกองค์ที่มีพระนาม Kunala [20]
ข้อมูลอื่น
หลักฐานเกี่ยวกับเหรียญ ประติมากรรม และโบราณคดีเป็นส่วนเสริมการวิจัยเกี่ยวกับพระเจ้าอโศก[21] พระนามของพระองค์ปรากฏในรายพระนาามจักรพรรดิเมารยะในปุราณะหลายบท อย่างไรก็ตาม ข้อความเหล่านี้ไม่ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับพระองค์มาก เนื่องจากนักเขียนพราหมณ์ไม่ได้รับการอุปถัมภ์จากราชวงศ์เมารยะ[22] ข้อมูลอื่น ๆ อย่าง Arthashastra และ Indica of Megasthenes ที่ให้ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับสมัยเมารยะ สามารถใช้อนุมานเกี่ยวกับรัชสมัยของพระเจ้าอโศกได้[23] กระนั้น Arthashastra เป็นข้อมูลเชิงบรรทัดฐานที่เน้นไปที่อุดมคติมากกว่าสถานะทางประวัติศาสตร์ และการสืบย้อนไปถึงสมัยเมารยะยังคงเป็นประเด็นถกเถียง ส่วน Indica เป็นผลงานที่สูญหาย และมีเพียงบางส่วนเท่านั้นที่รอดมาได้ในรูปแบบของการถอดความในงานเขียนสมัยหลัง[11]
Rajatarangini ข้อมูลในคริสต์ศตวรรษที่ 12 กล่าวถึงกษัตริย์กัศมีร์นาม อโศกแห่งราชวงศ์ Gonandiya ผู้สรา้งสถูปหลายแห่ง: นักวิชาการบางสว่น เช่น Aurel Stein ระบุกษัตริย์องค์นี้เป็นจักรพรรดิอโศกแห่งเมารยะ ในขณะที่นักวิชาการอีกกลุ่ม อย่าง Ananda W. P. Guruge ปัดการระบุตัวตนนี้ว่าไม่ถูกต้อง[24]
พระนามและตำแหน่ง
[แก้]พระนาม "อโศก" หมายถึง "ไร้ซึ่งความเศร้า" ตำนาน อโศกาวทาน ระบุไว้ว่า พระราชมารดาให้พระนามนี้เนื่องจากการที่พระองค์กำเนิดขจัดความเศร้าของพระนาง[25]
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
สวรรคต
[แก้]ธรรมเนียมศรีลังการะบุว่า พระเจ้าอโศกสวรรคตในปีรัชสมัยที่ 37[26] ซึ่งเสนอแนะว่าพระองค์สวรรคตประมาณ 232 ปีก่อน ค.ศ.[27]
ตำนานระบุว่าในช่วงพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระวรกายของพระองค์ถูกเผาไหม้เป็นเวลา 7 วัน 7 คืน[28]
สิ่งสืบทอด
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
หมายเหตุ
[แก้]- ↑ ข้อมูลอินเดียเหนือระบุว่าพระราชมารดาของพระองค์มีพระนามว่า สุภัทรางคี ส่วนข้อมูลศรีลังการะบุพระนางมีพระนามว่า ธรรมะ
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Lahiri 2015, pp. 295–296.
- ↑ 2.0 2.1 Singh 2017, p. 162.
- ↑ 3.0 3.1 Singh 2008, p. 331.
- ↑ 4.0 4.1 Strong, John S. (2002–2003). Faure, Bernard (บ.ก.). "Aśoka's Wives and the Ambiguities of Buddhist Kingship". Cahiers d'Extrême-Asie. Paris: École française d'Extrême-Orient. 13 (1): 35–54. doi:10.3406/asie.2002.1176. eISSN 2117-6272. ISSN 0766-1177. JSTOR 44167352. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 August 2021. สืบค้นเมื่อ 8 August 2021.
- ↑ Lahiri 2015, p. 219.
- ↑ Bentley 1993, p. 44.
- ↑ Bentley 1993, p. 45.
- ↑ Bisschop, Peter C.; Cecil, Elizabeth A. (May 2019). Copp, Paul; Wedemeyer, Christian K. (บ.ก.). "Columns in Context: Venerable Monuments and Landscapes of Memory in Early India". History of Religions. University of Chicago Press for the University of Chicago Divinity School. 58 (4): 355–403. doi:10.1086/702256. ISSN 0018-2710. JSTOR 00182710. LCCN 64001081. OCLC 299661763.
- ↑ Bentley 1993, p. 46.
- ↑ Thapar 1961, pp. 5–8.
- ↑ 11.0 11.1 11.2 Singh 2012, p. 132.
- ↑ Kenneth Zysk. Asceticism And Healing in Ancient India Medicine in the Buddhist Monastery. Oxford University Press, 1991, 44. Link to book.
- ↑ Singh 2012, p. 131.
- ↑ Strong 1995, p. 141.
- ↑ Singh 2008, pp. 331–332.
- ↑ Thapar 1961, pp. 8–9.
- ↑ Strong 1989, p. 12.
- ↑ 18.0 18.1 18.2 18.3 Strong 1995, p. 143.
- ↑ Thapar 1961, p. 8.
- ↑ Strong 1995, p. 144.
- ↑ Thapar 1961, p. 11.
- ↑ Thapar 1995, p. 15.
- ↑ Thapar 1961, p. 9.
- ↑ Guruge, Review 1995, pp. 185–188.
- ↑ Strong 1989, p. 205.
- ↑ Guruge, Unresolved 1995, p. 51.
- ↑ Kosmin 2014, p. 36.
- ↑ Strong, John (2007). Relics of the Buddha. Motilal Banarsidass Publishers. p. 149. ISBN 978-81-208-3139-1. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 May 2016. สืบค้นเมื่อ 15 November 2015.
บรรณานุกรม
[แก้]- Allen, Charles (2012). Ashoka: The Search for India's Lost Emperor. Hachette. ISBN 978-1-408-70388-5. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 May 2021. สืบค้นเมื่อ 13 July 2018.
- Bentley, Jerry (1993). Old World Encounters: Cross-Cultural Contacts and Exchanges in Pre-Modern Times. New York: Oxford University Press. ISBN 978-0195076400.
- Fitzgerald, James L., บ.ก. (2004). The Mahabharata. Vol. 7. The University of Chicago Press. ISBN 0-226-25250-7. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 May 2021. สืบค้นเมื่อ 16 August 2019.
- Gombrich, Richard (1995). "Aśoka – The Great Upāsaka". ใน Anuradha Seneviratna (บ.ก.). King Aśoka and Buddhism: Historical and Literary Studies. Buddhist Publication Society. ISBN 978-955-24-0065-0. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 May 2021. สืบค้นเมื่อ 26 November 2019.
- Guruge, Ananda W. P. (1993). Aśoka, the Righteous: A Definitive Biography. Central Cultural Fund. ISBN 978-955-9226-00-0. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 May 2021. สืบค้นเมื่อ 10 October 2019.
- Guruge, Ananda W. P. (1995). "Emperor Aśoka and Buddhism: Unresolved Discrepancies between Buddhist Tradition & Aśokan Inscriptions". ใน Anuradha Seneviratna (บ.ก.). King Aśoka and Buddhism: Historical and Literary Studies. Buddhist Publication Society. ISBN 978-955-24-0065-0. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 May 2021. สืบค้นเมื่อ 26 November 2019.
- Guruge, Ananda W. P. (1995). "Emperor Aśoka's Place in History: A Review of Prevalent Opinions". ใน Anuradha Seneviratna (บ.ก.). King Aśoka and Buddhism: Historical and Literary Studies. Buddhist Publication Society. ISBN 978-955-24-0065-0. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 May 2021. สืบค้นเมื่อ 26 November 2019.
- Kosmin, Paul J. (2014), The Land of the Elephant Kings: Space, Territory, and Ideology in Seleucid Empire, Harvard University Press, ISBN 978-0-674-72882-0, เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 May 2021, สืบค้นเมื่อ 24 September 2018
- Lahiri, Nayanjot (2015). Ashoka in Ancient India. Harvard University Press. ISBN 978-0674057777. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 May 2021. สืบค้นเมื่อ 16 August 2019.
- Mookerji, Radhakumud (1962). Aśoka (3rd revised ed.). Delhi: Motilal Banarsidass. ISBN 978-81-208-0582-8. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 May 2021. สืบค้นเมื่อ 16 August 2019.
- Singh, Upinder (2017). Political Violence in Ancient India. Harvard University Press. ISBN 978-0-674-97527-9. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 May 2021. สืบค้นเมื่อ 15 July 2018.
- Singh, Upinder (2008). A history of ancient and early medieval India : from the Stone Age to the 12th century. New Delhi: Pearson Education. ISBN 978-81-317-1120-0. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 May 2021. สืบค้นเมื่อ 16 August 2019.
- Singh, Upinder (2012). "Governing the State and the Self: Political Philosophy and Practice in the Edicts of Aśoka". South Asian Studies. University of Delhi. 28 (2): 131–145. doi:10.1080/02666030.2012.725581. ISSN 0266-6030. S2CID 143362618.
- Strong, John S. (1995). "Images of Aśoka: Some Indian and Sri Lankan Legends and their Development". ใน Anuradha Seneviratna (บ.ก.). King Aśoka and Buddhism: Historical and Literary Studies. Buddhist Publication Society. ISBN 978-955-24-0065-0. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 May 2021. สืบค้นเมื่อ 26 November 2019.
- Strong, John S. (1989). The Legend of King Aśoka: A Study and Translation of the Aśokāvadāna. Motilal Banarsidass. ISBN 978-81-208-0616-0. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 May 2021. สืบค้นเมื่อ 15 November 2015.
- Thapar, Romila (1995). "Aśoka and Buddhism as Reflected in the Aśokan Edicts". ใน Anuradha Seneviratna (บ.ก.). King Aśoka and Buddhism: Historical and Literary Studies. Buddhist Publication Society. ISBN 978-955-24-0065-0. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 May 2021. สืบค้นเมื่อ 26 November 2019.
- Thapar, Romila (1961). Aśoka and the Decline of the Mauryas. Oxford University Press. OCLC 736554. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 May 2021. สืบค้นเมื่อ 29 October 2019.
- Thapar, Romila (2015) [1961]. Aśoka and the Decline of the Mauryas (3rd ed.). Oxford University Press. ISBN 978-0198077244. OCLC 964509329.
อ่านเพิ่ม
[แก้]- Harry Falk (2006). Aśokan Sites and Artefacts: A Source-book with Bibliography. Von Zabern. ISBN 978-3-8053-3712-0.
- E. Hultzsch (1925). Inscriptions of Asoka: New Edition. Government of India.
- James Merry MacPhail (1918). Asoka. London: Oxford University Press.
- Nikam, N. A.; McKeon, Richard (1959). The Edicts of Aśoka. Chicago: University of Chicago Press.
- Olivelle, Patrick (2024). Ashoka: Portrait of a Philosopher King. New Haven: Yale University Press. ISBN 978-0-300-27490-5.
- Patrick Olivelle; Janice Leoshko; Himanshu Prabha Ray (2012). Reimagining Asoka: Memory and History. Oxford University Press India. ISBN 978-0-19-807800-5.
- Sen, Colleen Taylor (2022). Ashoka and the Mauraya Dynasty: the history and legacy of ancient India's greatest empire. Dynasties. London: Reaktion Books. ISBN 978-1-78914-596-0.
- Rongxi, Li (1993). The Biographical Scripture of King Aśoka: Translated from the Chinese of Saṃghapāla (PDF). Numata Center for Buddhist Translation and Research. ISBN 978-0-9625618-4-9. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-10-09.
- สุรพศ ทวีศักดิ์. (2560). ความคิดทางการเมืองของพุทธศาสนายุคต้น: กำเนิดและพัฒนาการรัฐพุทธศาสนายุคอโศกและยุคกลาง. ใน ความ (ไม่) เป็นสมัยใหม่: ความเปลี่ยนแปลงและย้อนแย้งของไทย. บรรณาธิการโดย ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ. น. 115-39. กรุงเทพฯ: สยามปริทัศน์, 2560.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ พระเจ้าอโศกมหาราช
- วิกิคำคม มีคำคมที่กล่าวโดย หรือเกี่ยวกับ พระเจ้าอโศกมหาราช
- Chisholm, Hugh, บ.ก. (1911). . สารานุกรมบริตานิกา ค.ศ. 1911 (11 ed.). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์.
- Ashoka ที่เว็บไซต์ Curlie
ก่อนหน้า | พระเจ้าอโศกมหาราช | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
พระเจ้าพินทุสาร | กษัตริย์แห่งราชวงศ์โมริยะ (ประมาณ 268–232 ปีก่อนคริสตกาล) |
พระเจ้าทศรถ เมารยะ |