ข้ามไปเนื้อหา

เจนนเกศวเทวาลัย (เพลูรุ)

พิกัด: 13°09′47″N 75°51′38″E / 13.162930°N 75.860593°E / 13.162930; 75.860593
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เจนนเกศวเทวาลัย (เพลูรุ)
เจนนเกศวเทวาลัย
ศาสนา
ศาสนาศาสนาฮินดู
เขตหัสสาน
เทพพระเจนนเกศวะ (พระวิษณุ)
ที่ตั้ง
ที่ตั้งเพลูรุ
รัฐรัฐกรณาฏกะ
ประเทศประเทศอินเดีย
เจนนเกศวเทวาลัย (เพลูรุ)ตั้งอยู่ในประเทศอินเดีย
เจนนเกศวเทวาลัย (เพลูรุ)
ที่ตั้งในประเทศอินเดีย
เจนนเกศวเทวาลัย (เพลูรุ)ตั้งอยู่ในรัฐกรณาฏกะ
เจนนเกศวเทวาลัย (เพลูรุ)
เจนนเกศวเทวาลัย (เพลูรุ) (รัฐกรณาฏกะ)
พิกัดภูมิศาสตร์13°09′47″N 75°51′38″E / 13.162930°N 75.860593°E / 13.162930; 75.860593
สถาปัตยกรรม
ประเภทโหยสฬะ
ผู้สร้างโหยสฬะ วิษณุวรรธนะ
เสร็จสมบูรณ์ศตวรรษที่ 12
เว็บไซต์
Sri Chennakeshava Temple

เจนนเกศวเทวาลัย (กันนาดา: ಚೆನ್ನಕೇಶವ ದೇವಾಲಯ; Chennakeshava Temple) หรือ วิชัยนารายณเทวาลัย (อังกฤษ: Vijayanarayana Temple) เป็นโบสถ์พราหมณ์ที่สร้างขึ้นในศตวรรษที่ 12 ตั้งอยู่ในเพลูรุ รัฐกรณาฏกะ ประเทศอินเดีย สร้างขึ้นโดยดำริของกษัตริย์วิษณุวรรธนะในปี ค.ศ. 1117 บนฝั่งแม่น้ำยคจี ในเพลูรุซึ่งในเวลานั้นเป็นราชธานีแห่งโหยสฬะ การก่อสร้างเทวาลัยใช้เวลา 103 ปีจนแล้วเสร็จ[1] และถูกบุกเข้าโจมตีและทำลายหลายครั้งจากสงครามตลอดประวัติศาสตร์ และมีการสร้างขึ้นใหม่อยู่เรื่อยมา เทวาลัยตั้งอยู่ห่างไป 35  กิโลเมตรจากนครหัสสาน และ ราว 220 กิโลเมตรจากเบงกาลูรุ[2]

เทวาลัยนี้สร้างขึ้นบูชาพระเจนนเกศวะ (แปลว่า "เกศวะรูปหล่อ") เป็นปางหนึ่งของพระวิษณุ เทพเจ้าในศาสนาฮินดู มาตั้งแต่แรกเริ่ม ปรากฏการกล่าวถึงในฐานะปูชนียสถานในเอกสารฮินดูยุคกลาง และยังคงสถานะเป็นปูชนียสถานสำคัญหนึ่งของลัทธิไวษณวะจนถึงปัจจุบัน[1][3] เทวาลัยนี้โดดเด่นเป็นพิเศษจากสถาปัตยกรรม, ประติมากรรม, งานสลักนูนต่ำ, หน้าบันต่าง ๆ ไปจนถึงประติมานวิทยา จารึก และประวัติศาสตร์ งานศิลปะที่ปรากฏในเทวาลัยยังแสดงวิถีชีวิตฆราวาสในสมัยศตวรรษที่ 12, ภาพของนักดนตรีและนางระบำ ไปจนถึงภาพที่เล่าประกอบเรื่องราวในคัมภีร์ฮินดู เช่น รามายณะ มหาภารตะ และปุราณะ[1][4][5] เทวาลัยลัทธิไวษณวะแห่งนี้ยังแสดงลักษณะประติมานวิทยาของลัทธิไศวะ และ ลัทธิศักติ ไปจนถึงภาพของชินะในศาสนาไชนะ และพระพุทธเจ้าในศาสนาพุทธ เทวาลัยแห่งนี้จึงถือได้ว่าเป็นหลักฐานชิ้นเอกของแง่มุมทางศิลปะ วัฒนธรรม และเทววิทยาของอินเดียใต้ในศตวรรษที่ 12 และการปกครองของจักรวรรดิโหยสฬะ[5][6]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 Permanent Delegation of India to UNESCO (2014), Sacred Ensembles of the Hoysala, UNESCO
  2. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Subramanian
  3. Gerard Foekema 1996, pp. 47–49.
  4. Kirsti Evans 1997, pp. 9–10.
  5. 5.0 5.1 Narasimhacharya 1987, pp. 2–9.
  6. Winifred Holmes (1938). C.P. Snow (บ.ก.). Discovery: Mysore's Medieval Sculpture. Cambridge University Press. p. 85.

บรรณานุกรม

[แก้]