ข้ามไปเนื้อหา

เครื่องบินดำดิ่งทิ้งระเบิด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ดักลาส เอสบีดี ดอนท์เลสส์ กำลังทำการดำดิ่งทิ้งระเบิด

เครื่องบินดำดิ่งทิ้งระเบิด คืออากาศยานที่พุ่งตรงไปที่เป้าหมายเพื่อให้การทิ้งระเบิดแม่นยำยิ่งขึ้น การดำดิ่งไปยังเป้าหมายทำให้วิถีของระเบิดง่ายขึ้น และช่วยให้นักบินมองเห็นได้ตลอดการทิ้งระเบิด วิธีนี้ทำให้สามารถโจมตีเป้าหมายและเรือรบได้ ซึ่งยากต่อการโจมตีด้วยเครื่องบินทิ้งระเบิดทั่วไปที่รักษาระดับเพดานบิน[ต้องการอ้างอิง]

หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 การเพิ่มขึ้นของอาวุธนำวิถีที่แม่นยำและการป้องกันอากาศยานที่ปรับปรุงให้ดีขึ้น—ทั้งตำแหน่งปืนคงที่และการสกัดกั้นเครื่องบินขับไล่—นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐานในการทิ้งระเบิดดำดิ่ง โดยอาวุธชนิดใหม่ เช่น จรวดมีความแม่นยำมากขึ้นจากมุมกดที่เล็กกว่าและจากระยะไกลกว่า สามารถติดตั้งได้กับเครื่องบินเกือบทุกชนิดรวมทั้งเครื่องบินขับไล่ ทำให้ปฏิบัติการมีประสิทธิภาพมากขึ้นโดยไม่มีช่องโหว่เช่นการใช้เครื่องบินทิ้งระเบิดดำดิ่ง ซึ่งต้องการการครองอากาศที่เหนือกว่าเพื่อปฏิบัติการอย่างมีประสิทธิภาพ

วิธีการ

[แก้]

เครื่องบินทิ้งระเบิดชนิดนี้ดำดิ่งในมุมสูงชัน โดยปกติระหว่าง 45 ถึง 60 องศา หรือแม้กระทั่งถึง 80 องศาเกือบเป็นแนวดิ่งด้วยเครื่องบิน ยุงเคิร์ส ยู 87 ดังนั้นจึงจำเป็นต้องดึงเครื่องขึ้นอย่างกะทันหันหลังจากทิ้งระเบิด สิ่งนี้สร้างความเครียดให้กับทั้งนักบินและเครื่องบิน ดังนั้นจึงต้องการเครื่องบินที่มีโครงสร้างแข็งแรงที่มีการชะลอการดำดิ่งให้ช้าลง สิ่งนี้จำกัดรุ่นการออกแบบเหลือเพียงเครื่องบินทิ้งระเบิดเบาที่สามารถบรรทุกอาวุธในพิกัดประมาณ 1,000 ปอนด์ (450 กก.) แม้ว่าจะมีเครื่องบางรุ่นที่ใหญ่กว่า ตัวอย่างที่มีชื่อเสียงที่สุดคือ ยุงเคิร์ส ยู 87 "ชตูคา" ซึ่งใช้กันอย่างแพร่หลายในช่วงเริ่มต้นของสงครามโลกครั้งที่สอง เครื่องบินทิ้งระเบิดไอจิ ดี3เอ "วาล" ซึ่งจมเรือรบของฝ่ายสัมพันธมิตรในช่วงสงครามมากกว่าเครื่องบินของฝ่ายอักษะอื่น ๆ[1][2][3] และดักลาส เอสบีดี ดอนท์เลสส์ ซึ่งจมเรือของญี่ปุ่นมากกว่าเครื่องบินพันธมิตรประเภทอื่น ๆ[4] เอสบีดี ดอนท์เลสส์ ช่วยให้ชนะในยุทธนาวีที่มิดเวย์ เป็นส่วนสำคัญในชัยชนะที่ยุทธนาวีที่ทะเลคอรัล และต่อสู้ในการรบของสหรัฐทุกครั้งที่เกี่ยวข้องกับเรือบรรทุกเครื่องบิน[5][6]

รายชื่อเครื่องบินดำดิ่งทิ้งระเบิด

[แก้]
ยุงเคิร์ส ยู 87

นักบินเครื่องบินดำดิ่งทิ้งระเบิดที่มีชื่อเสียง

[แก้]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Angelucci and Matricasrdi p. 142
  2. Casey p. 87
  3. Worth p. 170
  4. "Douglas SBD Dauntless – The National WWII Museum – New Orleans". The National WWII Museum – New Orleans.
  5. Parker, Dana T. Building Victory: Aircraft Manufacturing in the Los Angeles Area in World War II, pp. 25–28, Cypress, California, 2013. ISBN 978-0-9897906-0-4.
  6. Klein, Maury. A Call to Arms: Mobilizing America for World War II, p. 460, Bloomsbury Press, New York, New York, 2013. ISBN 978-1-59691-607-4.

บรรณานุกรม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]