ข้ามไปเนื้อหา

เคทีเอ็ม อีทีเอส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รถไฟฟ้าเคทีเอ็ม อีทีเอส
KTM Electric Train Service
KTM คลาส 93 ที่สถานี Pulau Sebang/Tampin
ข้อมูลทั่วไป
เจ้าของการรถไฟมาลายา
จำนวนสถานี37 สถานี (ข้อมูลเมื่อปี 2562)
เว็บไซต์www.ktmb.com.my/ETS.html
การดำเนินงาน
รูปแบบรถไฟฟ้าระหว่างเมือง
ขบวนรถ5 ขบวน KTM คลาส 91
10 ขบวน KTM คลาส 93
ผู้โดยสารต่อวัน10,489 (สถิติเมื่อปี 2561)[1]
ผู้โดยสาร4.148 ล้านคน (2560) [1]
ประวัติ
เปิดเมื่อ12 สิงหาคม 2010; 14 ปีก่อน (2010-08-12)
ข้อมูลทางเทคนิค
ระยะทางให้บริการ:
755 km (469 mi) (ปาดังเบซาร์–เกอมัส)
ระหว่างก่อสร้าง:
197 km (122 mi) (เกอมัส–โจโฮร์บะฮ์รูเซ็นตรัล)
รางกว้าง1,000 mm (3 ft 3 38 in) มีเตอร์เกจ
ความเร็ว140 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (87 ไมล์ต่อชั่วโมง)

เคทีเอ็ม อีทีเอส (อังกฤษ: KTM Electric Train Service; ETS) เป็นเส้นทางรถไฟฟ้าระหว่างเมือง สถานีรถไฟปาดังเบซาร์ รัฐปะลิสสถานีรถไฟเกอมัส รัฐเนอเกอรีเซิมบีลัน และ สถานีรถไฟบัตเตอร์เวิร์ท รัฐปีนัง- สถานีรถไฟเกอมัส รัฐเนอเกอรีเซิมบีลัน ประเทศมาเลเซีย[2] เดิมรถไฟฟ้าสายนี้เคยวิ่งจากกัวลาลัมเปอร์ไปเซอเริมบัน แต่หยุดให้บริการในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2012[3] รถไฟฟ้ามีความเร็ว 140 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ดำเนินการโดยอีทีเอส ภายใต้การควบคุมของการรถไฟมาลายา (KTMB)

ประวัติ

[แก้]

การรถไฟมาลายา เปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายนี้ในวันที่ 12 สิงหาคม ค.ศ. 2010 โดยเป็นเส้นหนึ่งของทางรถไฟสายชายฝั่งทะเลตะวันตก[4]

รุ่นรถไฟที่ให้บริการ

[แก้]
Class ภาพ จำนวนชุด ยังให้บริการอยู่ สั่งซื้อ ผู้ผลิต
KTM Class 91 6 4 N/A Hyundai Rotem
KTM Class 93 6 12 7 CSR Zhuzhou

การให้บริการ

[แก้]
ประเภทขบวนรถ ชนิดรถ เส้นทาง
ETS Platinum Class 93 Butterworth - KL Sentral
Padang Besar - KL Sentral
ETS Gold Class 93 Butterworth - Gemas
Butterworth - KL Sentral
Padang Besar - Gemas
Padang Besar - KL Sentral
ETS Silver Class 91 Ipoh - KL Sentral

ชั้นโดยสาร

[แก้]

ชั้นโดยสารมีด้วยกัน2แบบ

ที่นั่งชั้น Standard Class คลาส 93

1.Standard Class ที่นั่งถูกจัดเรียงในแบบ 2-2 ในแต่ละที่นั่งมีโต๊ะหน้าที่นั่งและมีปลั๊กไฟใต้ที่นั่ง ที่นั่งไม่สามารถหมุนได้ มีให้บริการทุกขบวน

ที่นั่งชั้น Business Class คลาส 93/3

2.Business Class จัดว่างที่นั่งแบบ 2-1 มีปลั๊กไฟ ช่องเสียบUSB หน้าจอทีวีส่วนตัว อินเทอร์เน็ต มีการเสริฟอาหารและของว่าง มีให้บริการในรถแพลตินัม คลาส93/2

รุ่นที่สอง

[แก้]

ขบวนรถไฟฟ้ารุ่น 93 ผลิตโดยบริษัท CRRC มีความเร็วสูงสุดในการให้บริการคือ 140 กม./ชม. ขบวนรถไฟฟ้ารุ่น 93/2 ขบวนรถไฟฟ้ารุ่น 93/3

ในอนาคต

[แก้]

โครงการรถไฟฟ้าจะมีการขยายเส้นทางเพิ่มไปยังเมืองโจโฮร์บะฮ์รู รัฐยะโฮร์

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 "Statistic for Rail Transport" (ภาษามาเลย์ และ อังกฤษ). Ministry of Transport, Malaysia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-07-07. สืบค้นเมื่อ 13 December 2018.
  2. "KL-Ipoh electric train to run soon". The Star. 17 December 2010.
  3. "Recent scheduling ETS Services". KTM Intercity. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-26. สืบค้นเมื่อ 18 November 2012.
  4. "Malaysia plans five years of rail growth". Railway Gazette International. London. 1 October 2006.[ลิงก์เสีย]