ฮิปฮอปไทย
ฮิปฮอปในประเทศไทย เป็นเพลงฮิปฮอปที่ผลิตในประเทศไทย ฮิปฮอปของไทยแตกต่างจากอเมริกันฮิปฮอป ไม่เพียงแต่เสียงและภาษาเท่านั้น แต่ยังรวมถึงวัฒนธรรมที่ใช้ทำดนตรีด้วย
ประวัติศาสตร์
[แก้]ต้นกำเนิดของเพลงฮิปฮอปของไทยสามารถสืบย้อนกลับไปได้ถึงช่วงกลางทศวรรษ 1980 "หมูแข้งทอง" ของมิสเตอร์แตงโม (ปรัชญา ศรีธัญญรัตน์) เมื่อปี 2528 ซึ่งกล่าวถึงอดีตยอดนักมวยไทยชื่อดังในอดีตอย่าง หมู ผุดผาดน้อย วรวุฒิ เจ้าของฉายา หมูแข้งทอง ได้รับการยกย่องว่าเป็นเพลงฮิปฮอปไทยเพลงแรก อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านั้นก็มีเพลงป็อปของไทยที่มีท่อนแร็ปอยู่ในเนื้อเพลง เช่น "เบื่อคนบ่น" ของ เอก ธเนศ วรากุลนุเคราะห์ และ "มันแปลกดีนะ" ของ เต๋อ เรวัต พุทธินันทน์[1]
วงการฮิปฮอปในประเทศไทยเริ่มต้นขึ้นเมื่อช่วงต้นทศวรรษ 1990 โดยมีนักร้องที่มีชื่อเสียงเช่นเจตริน วรรธนะสิน และทัช ณ ตะกั่วทุ่ง วงดนตรีฮิปฮอปไทยวงแรกอย่าง TKO (Technical Knock Out) ได้เซ็นสัญญากับค่ายคีตา เรคคอร์ดส และออกอัลบั้มแรกของพวกเขาในปี 2536 คือ Original Thai Rap ซึ่งโปรดิวซ์โดยกมล สุโกศล แคลปป์ (ต่อมาคือหนึ่งในผู้ก่อตั้งค่ายเบเกอรี่มิวสิคและวงพรู) แต่ไม่ประสบความสำเร็จในด้านรายได้ โดยได้รับอิทธิพลจากแนวเพลงฮิปฮอปของสหรัฐอเมริกา[2]
อัลบั้มแรกของโจอี้ บอยกับเบเกอรี่มิวสิคที่มีชื่อเดียวกัน เป็นเพลงฮิปฮอปที่ได้รับอิทธิพลจากเพลงแนว R&B และเร็กเก กลายเป็นเพลงฮิตในสถานีวิทยุของไทยในช่วงกลางทศวรรษ 1990 ด้วยเหตุนี้ โจอี้ บอยจึงได้รับการขนานนามว่าเป็น เจ้าพ่อแห่งวงการฮิปฮอปไทย[3]
หนึ่งในศิลปินเพลงฮิปฮอปใต้ดินอย่างดาจิมโด่งดังมากในหมู่ผู้ฟังเพลงใต้ดินในช่วงต้นทศวรรษ 2000 เขาได้เซ็นสัญญากับจีนี่ เรคคอร์ดในเครือจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ และได้ออกอัลบั้มบนดินชุดแรกของเขาอย่าง แร็พไทย ที่ประสบความสำเร็จทั้งด้านกระแสและรายได้
ในช่วงทศวรรษ 2000 วงดนตรีแร็ปอย่างเซาท์ไซด์ , สิงห์เหนือเสือใต้, บุดด้า เบลส และไทยเทเนี่ยม ได้รับความนิยมในหมู่แฟนเพลงฮิปฮอปเป็นหลัก
นับตั้งแต่ที่กลายมาเป็นแนวเพลงกระแสหลักในช่วงทศวรรษ 2010 ฮิปฮอปของไทยก็กลายเป็นหนึ่งในแนวเพลงที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในยุคอินเทอร์เน็ตและการสตรีม โดยมีศิลปินอย่าง Illslick, D GERRARD, ยังโอม, Younggu, PMC และ RachYO[4][5]
กลางปี 2564 "ทน" ซิงเกิลจากดูโอ สไปร์ท x GUYGEEGEE เปิดตัวในอันดับที่ 89 บน Billboard Global[6]
ในเดือนตุลาคม 2564 กอล์ฟ ฟักกลิ้งฮีโร่ และมิลลิ ได้ปล่อยซิงเกิล "Mirror Mirror" โดยมีชางบินจากวงสเตรย์คิดส์ วงบอยแบนด์จากประเทศเกาหลีใต้มาร่วมฟีทเจอริงด้วย[7] ด้วยแอพติ๊กต็อกที่มีส่วนทำให้เพลงนี้ได้รับความนิยมไปทั่วโลก มิวสิควิดีโอเพลง "Mirror Mirror" จึงมียอดวิวถึง 53 ล้านวิวในเดือนกุมภาพันธ์ 2565
แร็ป-ฮิปฮอปต่อสังคมไทย
[แก้]สิ่งที่ทำให้ดนตรีแร็ปในประเทศไทยเป็นเริ่มที่นิยมนั้น ส่วนหนึ่งเป็นเรื่องของกระแสหรือค่านิยมจากการรับวัฒนธรรมดนตรีแร็ป-ฮิปฮอป จากสหรัฐอเมริกามาในยุค 90s แต่ถ้ามองอีกมุมหนึ่งจะเห็นได้ว่า ความเป็นดนตรีแร็ปและเอกลักษณ์ในตัวดนตรีมีเสน่ห์ดึงดูดใจผู้คนเป็นอย่างมาก ด้วยรูปแบบเพลง จังหวะสไตล์ต่าง ๆ เนื้อหาและภาษาที่ให้อิสระศิลปินในการจินตนาการ และใช้ความคิดสร้างสรรค์สร้างกลอนด้นเป็นบทกวีและบทเพลง ปัจจัยเหล่านี้มีส่วนอย่างมากที่ทำให้คนไทยให้ความสนใจแนวดนตรีชนิดนี้มากขึ้น
เสน่ห์ของดนตรีแร็ปที่สำคัญคือการมีรากฐานมาจากการเล่าเรื่องชีวิต ปัญหาของสังคม ความรุนแรง ยาเสพติด และความไม่ยุติธรรม การเสพดนตรีแร็ปจึงเปรียบเสมือนการที่ได้พูดได้ฟังสิ่งที่เป็นจริง โดยใช้เสียงเพลงปลดปล่อยตัวเองออกจากสังคมที่เราถูกปิดกั้น และนี่จึงเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เพลงแร็ปได้รับความนิยมมากขึ้นในประเทศไทย ทั้งนี้ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะคนไทยส่วนมากถูกกดดันด้วยกรอบทางวัฒนธรรมและประเพณีดั้งเดิม ที่ถูกสอนให้เชื่อฟังคำสั่งของผู้ใหญ่ ผู้มีอำนาจ การที่ประชาชนและสื่อถูกควบคุมการแสดงความเห็น ความเชื่อ ด้วยตัวบทกฎหมายที่ห้ามการวิพากษ์วิจารณ์รัฐและบุคคลบางกลุ่มเพื่อความสงบเรียบร้อย ประชาชนจึงไม่มีอิสระในการแสดงความคิดเห็นต่อสังคม หรือแม้แต่แลกเปลี่ยนความเห็นในที่สาธารณะได้อย่างอิสระ ดนตรีแร็ปจึงเข้ามาทำหน้าที่เป็นช่องทางให้ผู้คนได้ปลดปล่อยสะท้อนปัญหาในใจของคนด้วยกลอนเพลง เสียงเพลง และจังหวะดนตรี
การจัดการประชันแร็ป หรือ Rap Battle ในประเทศไทย เช่น รายการ SEA Hiphop Audio Battle, Rap Is Now, Rythm Fight, The Rapper ฯลฯ แสดงให้เห็นชัดถึงการเปิดกว้างของสังคมต่อแนวเพลงแร็ป ในปัจจุบัน ส่วนหนึ่งอาจเป็นเหตุผลทางธุรกิจที่ตอบรับต่อกระแสดนตรีแร็ปที่มาแรง แต่อีกส่วนหนึ่งเป็นเรื่องของแนวดนตรีแร็ปที่สำคัญ ที่ให้เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นโดยไม่ต้องกลัวเรื่องกรอบของสังคม แต่เป็นการโชว์ความดิบและความฉลาดของผู้สร้างกลอนแร็ป ทำให้คนรุ่นใหม่ได้กล้าคิด กล้าแสดงออก ในการเรียบเรียงคำพูดสดเพื่อโต้ตอบกันให้ตรงกับจังหวะดนตรี การจัดการแข่งขันดนตรีแร็ปรายการต่าง ๆ ดังที่เห็นในปัจจุบัน คือ การให้คนรุ่นใหม่ได้มีเวทีแสดงออก มีความคิดสร้างสรรค์พัฒนากลอนและภาษาแร็ป ที่ต้องเรียบเรียงคำพูดสดในขณะนั้นเพื่อโต้ตอบกัน การประชันแร็ปนั้นยาก เพราะเป็นการปะทะคารมที่ต้องใช้สมาธิอย่างมากในการคิดกลอนเพลงและภาษาออกมาเป็นท่อนแร็ป และต้องคิดเนื้อร้องให้ตรงกับจังหวะดนตรี
เพลงแร็ปที่น่าจะเป็นที่รู้จักและสร้างข้อถกเถียงในสังคมไทยยุคปัจจุบันที่เด่นชัดที่สุด คงไม่พ้นปรากฏการณ์เพลงแร็ป ประเทศกูมี ที่มียอดวิวในยูทูบถึงเกือบ 80 ล้านวิว (มิถุนายน 2563) ซึ่งน่าจะมียอดวิวสูงที่สุดของเพลงแร๊ปไทย โดยมีจุดเด่น คือ เนื้อหา ภาษา และมิวสิควีดีโอที่เป็นการจำลองเหตุการณ์ 6 ต.ค. 2519 จากภาพที่ได้รางวัลพูลิตเซอร์ปี 2520 ซึ่งสะท้อนความคิดเห็นที่มีต่อสังคมไทยจากศิลปินแร็ปที่มีจุดร่วมคือต่อต้านเผด็จการ เนื้อหาของเพลง ประเทศกูมี สะท้อนปัญหาที่เป็นจริงทั้งจากในอดีตและดำเนินมาถึงปัจจุบัน ทั้งปัญหาเรื่องโครงสร้างทางการเมือง การคอรัปชั่น ความไม่ยุติธรรมของกระบวนการยุติธรรม โดยมีการใช้คำหยาบคาย แต่กลุ่มศิลปินเชื่อมั่นในแนวคิดเรื่องคนเท่ากันและระบอบประชาธิปไตย จึงกล้าต่อสู้และยืนยันในการแสดงออกโดยเปิดเผยชื่อและหน้าตาของศิลปินกลุ่มนี้ ซึ่งได้แก่ Liberate p, Jacoboi, Dif kid, Nil lhohitz, Hockhacker, ET, K.aglet และ G-bear
วิวัฒนาการของฮิปฮอปไทย
[แก้]การแบทเทิล และการแข่งขัน ในปี พ.ศ. 2543 เริ่มมีการแบทเทิล แต่ยังไม่กว้างเหมือนในปัจจุบัน และได้ก่อศิลปินฮิปฮอปมากมายอย่าง[8] เช่น Twopee Southside เคยเป็นแชมป์ Singha Battle of The Year 2007 และ ILLSLICK ก็เคยได้แชมป์ SEA Audio Battle Vol.1 2008 ; เห็นได้ว่าศิลปินก่อน ๆ ส่วนใหญ่โตมาและดังมากับแรปแบทเทิลจริง ๆ ก็ว่าได้
ในปี พ.ศ. 2555 Rap Is Now ก็เป็นเวทีที่แข่งขันแรปแบทเทิลที่มีชื่อเสียงที่สุดและใหญ่ที่เมืองไทย
ในปี พ.ศ. 2561 กระแสเพลงฮิปฮอป เริ่มนิยมในวงกว้างขึ้น จึงการประกวดบนดินขึ้นมา คือ รายการ เดอะแร็ปเปอร์ และ รายการ Show Me The Money Thailand ซึ่งทั้งสองรายการเริ่มมีเสียงทั้งด้านบวกและด้านลบ ทั้งเรื่องการตัดสินของโปรดิวเซอร์ และผู้เข้าแข่งขัน ที่เน้นการร้องมากกว่า
ในปี พ.ศ. 2560 กระแสเพลงฮิปฮอป กลับมาโด่งดังอีกครั้ง หลังจากสมาชิกวง ไทยเทเนี่ยม แต่ละคนอยู่ในช่วงกำลังสร้างครอบครัว ในยุคที่อินเตอร์เน็ท โดยเฉพาะยูทูบ ที่กำลังแข่งขันสูง กลับกลายเป็น PMC (ปู่จ๋านลองไมค์) ในซิงเกิล "แลรักนิรันดร์กาล" มียอดวิวเกิน 204 ล้านวิว (ณ ปี พ.ศ. 2561) ต่อมา ILLSLICK เจ้าพ่อเพลงรัก ดังไม่มีตกจริง ๆ ได้ปล่อยซิงเกิล "ถ้าเธอต้องเลือก" ในช่วงที่ฮิปฮอปมีระบบสตีมมิงมีบทบาทในไทย มียอดวิวเกิน 300 ล้านวิว
YOUNGOHM ศิลปินไฟแรงจากกลุ่ม Rap Is Now ปล่อยซิงเกิ้ล "เฉยเมย" มียอดวิวเกิน 110 ล้านวิว (ณ ปี พ.ศ. 2561) กลับกลายเป็นศิลปินหน้าใหม่อย่างเป็นทางการหลังจากปล่อยเพลงฟรีสไตร์ในเพลง "ไม่ต้องมารักกู" ในปี พ.ศ. 2558 (ใช้แซมเปิ้ลเพลง oui ของ Jeremih) มียอดวิวเกิน 20 ล้านวิว และได้ผลักดันศิลปิน อย่าง Fiixd, Doper Doper, NICECNX, P-Hot, Wonderframe รวมถึงวงร็อกอย่าง เก็ตสึโนวา รวมถึงยอดร้อยล้านวิวเร็วที่สุด ในซิงเกิล "ดูไว้" และ "ธารารัตน์", D Gerrard ในซิงเกิล "GALAXY" มียอดวิวเกิน 106 ล้านวิว และซิงเกิล "เกาะสวาทหาดสวรรค์" ร่วมกับ Gavin D และได้ร่วมงานกับศิลปินฮิปฮอประดับตำนานอย่าง P9d ในเพลง "มายา", UrboyTJ ในซิงเกิล "วายร้าย" มียอดวิวเกิน 100 ล้านวิว (ณ ปี พ.ศ. 2561), เก่ง ธชย ร่วมกับ Tossakan ในซิงเกิล "หัวใจทศกัณฐ์" มียอดวิวเกิน 133 ล้านวิว (รวม 2 เวอร์ชัน เนื้อร้อง และ มิวสิควีดีโอ) , Og-Anic ซิงเกิล "รู้ทั้งรู้" (ในเวอร์ชันแรกใช้แซมเปิลเพลง Honey ของ Nu J) และได้ทำปล่อยเวอร์ชันเป็นทางการ โดย NINO ได้โปรดิวเซอร์ ใหม่ทั้งหมด ซิงเกิล "อยากนอนกับเธอ" ของ เด็กเลี้ยงควาย และ "เป็นไรไหม" ร่วมกับ Lazyloxy มียอดวิวเกิน 200 ล้านวิว และ ได้ร่วมงานกับ F. Hero โปรดิวเซอร์รายการเดอะแร็ปเปอร์ ซิงเกิล "มีแค่เรา"
รวมถึงโปรดิวเซอร์ NINO เป็นโปรดิวเซอร์กระแสหลัก เริ่มทำงานให้ F. Hero, J$R, TM303, Fiixd ฯลฯ[9] และเป็นผู้บริหารค่าย Yupp ร่วมกับ Rap Is Now และ Freshment[10]
ที่มียอดรวมวิวเกิน 30 ล้านวิว อย่าง Bossa On the Beat (ผลงานสร้างชื่อ "พอจะรู้" ของ Meyou.) และได้มีโอกาสแสดงฝืมือในซิงเกิล "แอบบอกรัก" ของ เจ้านาย ลูกชายของ เจตริน วรรธนะสิน ร่วมโปรดิวซ์กับ Stickyrice Killah, T-BIGGEST โปรดิวเซอร์จากทีม 8garad ได้โปรดิวเซอร์ซิงเกิล "ยอม...ปล่อย" (Let you go) ที่ออกในทางป๊อปแร๊ปของ Cyanide ร่วมกับ Lazyloxy ยอดรวมวิวเกิน 150 ล้านวิว
การใช้ออโต้จูนในเพลงฮิปฮอป เริ่มนำมาใช้มาขึ้นโดนศิลปินคนแรกคือ Thaiboy Digital แล้วส่งต่อให้กับศิลปินอย่าง Younggu, YOUNGOHM, Fiixd และหลาย ๆ คน เริ่มใช้เทคโนโลยีนี้มากขึ้น เริ่มมีเสียงวิจารณ์ทั้งทางบวกและทางลบ เนื่องจากคำที่ร้องไปบางทีไม่ชัด บางเพลงก็สูญเสียความเป็นตัวเอง
ปี 2562 แกรมมี่ และ Rap Is Now ร่วมกันเปิดโปรเจคพิเศษเพื่อความหลายแก่คนฟัง Rapisode (เป็นการ Cover ในสไตร์ Hip-Hop) และ FUSE เป็นการผสมผสานความหลากหลายของทุกแนวเพลง
ดนตรีแทร๊ป ในประเทศไทย
[แก้]ในปี พ.ศ. 2561 กระแสเพลงแทร๊ปจากอเมริกาเริ่มเข้ามาในประเทศไทย ศิลปินรุ่นแรกที่ทำเพลงแนวแทร๊ป ได้แก่ Ben Bizzy, TM303 รวมถึง Younggu ณ เวลานั้น, VKL รวมถึง Khun OC, TARVETHZ และ 2GBOY ซึ่งเวลานั้นฮิปฮอปในไทยกลับสู่กระแสหลักอีกครั้ง แทร๊ป ณ เวลานั้นยังไม่เปิดเผยมากนัก จนกระทั่ง Young Bong & Bongton ได้ทำเพลงแทร๊ปอย่างจริงจัง หลายเพลงอย่าง "อีกา", "ควัน" ร่วมกับ Daboyway, "เยติแก๊ง" จนมีโชว์หลาย ๆ ที่ จนเป็นที่รู้จัก
ปี พ.ศ. 2562 1Mill ได้เปิดช่องยูทิวปี พ.ศ. 2559 หลายเพลงและเริ่มพัฒนาตัวเอง จนเข้าตา Fiixd จนมีเพลง "NRN" อยู่ในอัลบั้ม "More Nights In Thonglor" และได้เปิดตัวต่อสาธารณะชน หลังจากเริ่มเรียนมัธยมปลาย (ม.4) กลับค้นพบตัวเองว่าการทำเพลง น่าจะประสบความสำเร็จกว่า จึงตัดสินใจลาออกจากโรงเรียน มาอยู่กรุงเทพอย่างจริงจัง, ซิงเกิล "เงินหมื่น" เป็นซิงเกิ้ลอย่างทางการ จนได้รับความนิยมในสตีมมิ่ง itunes รวมถึงการร่วมงานกับ MAYA (Warpgvng) ยูทิปเปอร์ข่าวฮิปฮอปต่างประเทศ, Bongpton, PeterSmoke จาก MQT, 18 Crowns และ YungTwekie และได้เปิดตัว EP "งู" ในวันที่ 25 พฤษภาคม กลายเป็นแร๊ฟเปอร์ที่น่าจับจากมองอีกคน[11] และทำให้วงการแทร๊ปในไทยเป็นที่เปิดเผย และได้เปิดตัวโปรดิวเซอร์แทร๊ปอย่าง BIGYA$EN, SixkyoungO, MAYA (Warpgvng), Spatchies และ NINO กลับโปรดิวในเพลงแนวแทร๊ปอีกครั้งอย่าง "มนต์รักนักแร๊ฟ" และ "ไม่เอา" รวมถึง Diamond Rap Battle ชื่อดังที่อายุน้อยที่สุด และอีกหลาย ๆ คนได้เริ่มทำเพลงแนวนี้ตาม ๆ มา
ปี พ.ศ. 2563 หลังจาก Pop Smoke เสียชีวิต เพลงแนว Drill เริ่มเปิดเผยอีกครั้ง 1Mill ได้ปล่อยซิงเกิ้ล Yehe ในอัลบั้ม PAIN KILLER แต่กลับเสียวิจารณ์ในทางลบทั้งในและต่างประเทศ จน Fivio Foreign เพื่อนสนิท Pop Smoke เจ้าของเพลง Big Drip เปิดใจความสามารถของ 1Mill จน Yoz Beat โปรดิวเซอร์ผู้เปิดทางแนว Drill เข้าสู่กระแสหลัก ร่วมกับ AXL, 808 Melo ได้ร่วมกันโปรดิวในโอกาสอันใกล้
ประมาณกลางปี พ.ศ. 2563 ที่ผ่านมา มีค่ายเพลงน้องใหม่เกิดขึ้นมากมายและแนวเพลงที่มาแรงผสมดนตรีไทยตอนนี้ ค่ายเพลงน้องใหม่ #Studio ที่ทำแนวเพลงฮิปฮอป Melodic trap | RAP Drill | RAP LATIN | RAP JERSEY มาแปลกแบบไม่เกรงใจวงการกับแนวคิดเอาคนอายุ 60 มาร้องเพลงดิว ศิลปินยุค 90 เลิศ คันไถ ยายแล่ม เลิศ คันไถ [OFFICIAL. MV] “น้าเลิศ-จิรายุ ทองนุ่ม หรือ KANTAIBOY ศิลปินที่ผมเพิ่งทำเพลงให้ โดยมีโปรดิวเซอร์ทำบีทดนตรี esanambian มีดนตรีไทย ป้าย-ชัยเขตต์ อมรสิน หรือ Esan Ambian โปรดิวเซอร์เพลงชาวอุบลราชธานี วัย 26 ปี ฝึกทำเพลงมานานกว่า 8 ปี จนกระทั่งในวันนี้เขาสามารถทำเพลงได้ภายในเวลาเพียง 1 ชั่วโมง ป้าย-ชัยเขตต์ อมรสิน หรือ Esan Ambian เขาใช้เวลา 1 ชั่วโมงในการทำเพลง 1 เพลง อ่านไม่ผิด เพราะป้ายใช้เวลาตั้งแต่เริ่มทำบีทและมิกซ์มาสเตอร์ รวมทั้งหมดเสร็จสรรพภายในเวลา ‘1 ชั่วโมง’ และเขาก็ส่งงานถึงมือลูกค้าได้ทันที
“การทำเพลงก็เหมือนกับการฝึกทาสีบ้านครับ ผมพยายามฝึกทาทุกวัน ยิ่งทาบ่อย ๆ เราก็จะยิ่งใช้เวลาน้อยลง แต่ทาได้สวยมากขึ้น” ป้ายเล่าถึงวิธีที่ใช้ฝึกฝนฝีมือ
ALL-IN-ONE ป้ายแนะนำตัวกับเราว่าเขาคือ โปรดิวเซอร์ ผู้ทำโปรดักชันในทุกขั้นตอนเริ่มตั้งแต่คัดเลือกศิลปินที่อยากร่วมงาน แต่งเพลง ทำบีท อัดเสียง ถ่าย MV จนกระทั่งตัดวิดีโอ ป้ายสามารถทำทุกขั้นตอนได้ด้วยตัวเองเพียงคนเดียว และผลงานทุกชิ้นในช่อง YouTube: MBB GANG และ #Studio[12] ก็เป็นผลงานที่เขาลงทุนลงแรงทำเองทั้งหมด[13]
ป้ายได้ร่วมงานกับศิลปินที่มีชื่อเสียงมากมาย ไม่ว่าจะเป็น NINO, 1ST, VKL, RIFLE, TURBO และศิลปินอีกหลาย ๆ คนในวงการเพลงก็ยังคงไว้วางใจให้เขาทำเพลงให้ เพราะสนใจในความสามารถที่มี ทุกสิ่งทุกอย่างที่เขาทำในวันนี้ เริ่มต้นจากความชอบในเสียงดนตรีที่มีมาตั้งแต่ 4 ขวบ
รายชื่อศิลปินในค่าย #Studio
[แก้]- KANTAIIBOI
- MANDARIN
- ITANz
- พระใหม่ใจสะอาด
- หมูสะเต๊ะบอย
- jt
- พนักงานดูดเป็ด เป็นต้น
“ผมอยากทำโปรดักชันดี ๆ โปรดักชันที่ยิ่งใหญ่ แต่คิดราคาบ้านเรา”
“ผมภูมิใจในความเป็นอีสาน ความเป็นอีสานและดนตรีอีสานคือส่วนหนึ่งที่ทำให้ตัวผมได้มีวันนี้ ที่ทุกคนรู้จักผมก็เพราะดนตรีอีสานที่นำมาผสมกับศาสตร์ของเมืองนอก ผมใช้ชีวิตอยู่กับวิถีอีสานมาแบบล้านเปอร์เซ็นต์ กล้าพูดได้เลยว่าถ้าเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับความเป็นอีสาน ไม่มีอะไรที่ผมยังไม่เคยทำ มันคือบรรยากาศอีสาน สิ่งนี้แหละครับที่หล่อหลอมให้ผมกลายเป็น Esan Ambian”
เชิงอรรถและอ้างอิง
[แก้]- ↑ "เพลงแร็พไทยในยุคแรกๆ - Hip-Hop". sites.google.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-29. สืบค้นเมื่อ 2021-06-07.
- ↑ kyobo (2015-03-16). "ย้อนวันวาน TKO ต้นฉบับวงแรป วงแรกของไทย". Mthai.com. สืบค้นเมื่อ 2018-12-18.
- ↑ "JOEY BOY - thai hiphop superstar - Luxury Sunglasses, Designer Sunglasses | Finest Seven". Luxury Sunglasses, Designer Sunglasses | Finest Seven (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2015-11-24. สืบค้นเมื่อ 2018-04-28.
- ↑ "Thaitanium releases sixth album: "Still Resisting" | CNN Travel". Travel.cnn.com. 2010-06-11. สืบค้นเมื่อ 2014-02-25.[ลิงก์เสีย]
- ↑ Pradh (2017-12-01). "ทำความรู้จัก "ปู่จ๋าน ลองไมค์" แร็ปเปอร์ร้อยล้านวิว กับผลงานที่มัดใจผู้ฟัง". sanook.com. สืบค้นเมื่อ 2018-12-18.
- ↑ "เปิดใจ "สไปรท์ - กาย" ไม่คาดคิด เพลง "ทน" ทะยานติดชาร์ตโลก เผยชีวิตเส้นทางแร็ปเปอร์". PPTV HD. 2021-05-27. สืบค้นเมื่อ 2021-08-11.
- ↑ Carmen Chin (2021-10-29). "Stray Kids' Changbin teams up with Thai rappers F.HERO and MILLI on 'Mirror Mirror'". nme.com/en_asia/. สืบค้นเมื่อ 2022-02-16.
- ↑ ประวัติสไปรท์แร็พไทยเกม หอย ทาก วิ่ง แข่ง V1.9.1
- ↑ NINO interview at Cutzradio
- ↑ 2018 แร็ปเปอร์ครองเมือง! เปิดตัว "YUPP!" ค่ายฮิปฮอปสายเลือดใหม่เตรียมสั่นสะเทือนวงการ
- ↑ 1MILL interview at Cutzradio
- ↑ #Studio
- ↑ BEHIND CYPHER : ESAN AMBIAN บีทเมกเกอร์ส่งตรงบรรยากาศจากอีสาน | RAP IS NOW
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- “Hip Hop” ในไทยเริ่มจากไหน ทำไมถึงดังมาจนทุกวันนี้! ข้อมูลจาก TheHippoThai.com LINE TODAY.