ยังโอม
ยังโอม(แร็ปเปอร์) | |
---|---|
ยังโอมในงาน spotify on Stage เมื่อปี2019 | |
ข้อมูลพื้นฐาน | |
ชื่อเกิด | รัธพงศ์ ภูรีสิทธิ์ |
รู้จักในชื่อ | ยังโอม |
เกิด | 24 ตุลาคม พ.ศ. 2541 กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
แนวเพลง | |
อาชีพ |
|
เครื่องดนตรี | เสียงร้อง, ออโต้จูน |
ช่วงปี | พ.ศ. 2558–ปัจจุบัน |
ค่ายเพลง |
|
รัธพงศ์ ภูรีสิทธิ์ (เกิด 24 ตุลาคม พ.ศ. 2541) ชื่อเล่น โอม มีชื่อในวงการเพลงว่า ยังโอม (อังกฤษ: Youngohm) เป็นแร็ปเปอร์และนักร้องชาวไทย มีเพลงดังคือ "เฉยเมย" ที่ได้รางวัลเพลงฮิปฮอปแห่งปี งานจูกซ์ไทยแลนด์มิวสิกอะวอดส์ (JOOX Thailand Music Awards) และเพลง "ธารารัตน์" มียอดเข้าฟังสูงถึง 1,000,000 ครั้ง ในเวลาเพียง 15 ชั่วโมง ของแอปพลิเคชันจูกซ์
ประวัติ
ยังโอมศึกษาที่โรงเรียนมัธยมวัดธาตุทอง[1] ต่อมาเขาสอบเข้าได้เป็นนิสิตสาขาวิชาศิลปะการแสดง คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ[2] แต่เข้าเรียนได้เพียงครึ่งวันก็ตัดสินใจลาออกหลังจากนั้น[3][4] ในขณะที่เรียนอยู่ระดับมัธยมต้น เขาเริ่มฟังเพลงฮิปฮอปและแต่งเพลงแร็ปเอง จนชั้นมัธยมปลายเริ่มเข้าห้องอัดเสียง และโพสต์คลิปเพลงทางโซเชียลเน็ตเวิร์ก โดยชื่อ "ยังโอม" มาจากแร็ปเปอร์ต่างประเทศ ที่มักจะใช้คำว่า Young นำหน้าชื่อ จึงนำมาใช้นำชื่อเล่นของตน ยังโอมร่วมกับเพื่อน ๆ เข้าแข่งขันในรายการ Rap is Now ฤดูกาลที่ 2 ซึ่งเป็นรายการค้นหาแร็ปเปอร์ สามารถเข้าถึงรอบ 32 คน และในปี 2559 ในฤดูกาลที่ 3 ของ Rap is Now ยังโอมกลับมาร่วมแข่งขันอีกครั้งสามารถเข้ารอบ 8 คนสุดท้าย แม้ไม่ได้ตำแหน่งชนะเลิศแต่ทำให้เป็นที่รู้จักในวงการแร็ปเปอร์มากขึ้น[5]
ปี พ.ศ. 2560 ยังโอมเป็นที่รู้จักมากขึ้นกับเพลง "เฉยเมย" ซึ่งขึ้นอันดับ 1 บนชาร์ตจูกซ์[6] ในปีนี้เองได้ร้องเพลงร่วมกับวันเดอร์เฟรมในเพลง "อยู่ดี ๆ ก็" ต่อมาปี พ.ศ. 2561 ยังโอมได้รับรางวัลเพลงฮิปฮอปแห่งปี งานจูกซ์ไทยแลนด์มิวสิกอะวอดส์ (JOOX Thailand Music Awards) จากเพลง "เฉยเมย" [7] ยังได้ร่วมร้องเพลง "รู้ดีว่าไม่ดี" ของเก็ตสึโนวา และ "เสือสิ้นลาย" ของ ฟักกลิ้งฮีโร่, FYMME และ P –Hot
พ.ศ. 2562 ยังโอมออกเพลง "ดูไว้" เพียงแค่ครึ่งเดือนแรกมียอดวิวทะลุ 55 ล้านวิว ต่อมากับเพลง "ธารารัตน์" ซึ่งสร้างสถิติใหม่บนแอปพลิเคชันจูกซ์ โดยยอดเข้าฟังสูงถึง 1,000,000 ครั้ง ในเวลาเพียง 15 ชั่วโมง อีกทั้งยอดเข้าชมบนยูทูบ 23 ล้านวิวในสัปดาห์แรก[8]
ในปี พ.ศ. 2565 ยังโอมเปิดเผยว่าตัวเองป่วยเป็นโรคอารมณ์สองขั้ว[2] และปีต่อมาเขาได้ออกอัลบั้มที่สอง ธาตุทองซาวด์ โดยจัดงานเปิดอัลบั้มเมื่อวันที่ 25 มกราคม ณ เกษร เออร์บัน รีสอร์ท แอท เกษรวิลเลจ[9] เขาจัดคอนเสิร์ตใหญ่ครั้งแรกในเดือนกุมภาพันธ์ปีเดียวกัน[10]
ความเป็นศิลปิน
เพลงของยังโอม เป็นเรื่องราวของเขาเองราวร้อยละ 95[11] ทางด้านการแต่งเพลง เดอะสแตนดาร์ด วิเคราะห์เพลงของยังโอม ว่า มีเนื้อเพลงที่คมคาย เกรี้ยวกราด หยาบคาย ไม่ได้ใช้คำฟุ่มเฟือย บางครั้งก็มีข้อสรุป บางครั้งก็ไม่มี ซึ่งในหลาย ๆ ที ต้องฟังซ้ำถึงจะเข้าใจ อย่างเพลง "ธารารัตน์" และเพลง "เฉยเมย" มีวิธีการเอื้อนร้องที่แปลก กับประโยคเปิดหัว “ยังไม่ได้นอนเลยจะสิบโมงเช้า” ซึ่งวิธีการร้องนี้เขาได้รับอิทธิพลจาก อิลสลิก ในระยะแรกยังโอมยังใช้อุปกรณ์ออโตจูน ปรับเสียงร้องอีกด้วย[12] แต่ได้เลิกใช้ในอัลบั้มถัดมา[13]
เนื้อหาเพลงของยังโอมยังแสดงถึงเสรีภาพในการพูด เขามักวิพากษ์วิจารณ์เรื่องการเมืองอย่างตรงไปตรงมาแทรกเอาไว้ในทุกเพลง[14]
ผลงาน
ซิงเกิ้ล
- เฉยเมย (พ.ศ. 2560)
- ดูผิด (พ.ศ. 2561)
- ดูไว้ (พ.ศ. 2561)
- ธารารัตน์ (พ.ศ. 2562)
- รถด่วนขบวนสุดท้าย (พ.ศ. 2562)
- คนเดียวบางที (พ.ศ. 2562)
- คนที่เธอไม่เคยมอง (พ.ศ. 2562)
- ไม่เฟี้ยว (พ.ศ. 2562)
- Very Very Small (พ.ศ. 2565)
- I JUST WANNA BE FREE (พ.ศ. 2565)
อัลบั้ม
- BANGKOK LEGACY (พ.ศ. 2563)
- ธาตุทองซาวด์ (พ.ศ. 2566)[10]
ภาพยนตร์
- ห้าวเป้งจ๋า อย่าแกงน้อง (พ.ศ. 2564)
คอนเสิร์ต
- The Concert Application Presents YOUNGOHM Concert “Sound from Dekwat (เสียงจาก เด็กวัด)” – 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 เจเจมอลล์[10]
รางวัล
- รางวัลเพลงฮิปฮอปแห่งปี งานจูกซ์ไทยแลนด์มิวสิกอะวอดส์ (JOOX Thailand Music Awards)
อ้างอิง
- ↑ "'กล้า บ้า ศรัทธา' Gena Desouza x YOUNGOHM". แรบบิตทูเดย์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-07-24. สืบค้นเมื่อ 24 กรกฎาคม 2562.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
(help) - ↑ 2.0 2.1 "ยังโอม แรปเปอร์xยาเสพติด ยอมรับ "ผมเป็นไบโพลาร์" ความรักทำให้ชีวิตแย่ลง". www.thairath.co.th. 2022-03-02.
- ↑ ณัฐนันท์ เฉลิมพนัส (18 พฤษภาคม 2562). "YOUNGOHM บทเรียนของเด็กถือป้ายคอนโด ที่ทำให้รู้ว่าชีวิตนี้ต้องกำหนดด้วยตัวเอง". เดอะสแตนดาร์ด. สืบค้นเมื่อ 24 กรกฎาคม 2562.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
(help) - ↑ "#SneakOut : การเดินทางของ YOUNGOHM จาก "เฉยเมย" สู่ "วายโอทัวร์ไลฟ์" และอัลบั้มเดี่ยวครั้งแรกในชีวิต". สนีกเดอะสตรีต. 16 ตุลาคม 2561. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-02. สืบค้นเมื่อ 5 สิงหาคม 2562.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
(help) - ↑ "เส้นทางชีวิต "ยังโอม" แร็ปเปอร์หนุ่มในวัย 20 ปี". แมงโกซีโร. สืบค้นเมื่อ 24 กรกฎาคม 2562.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
(help) - ↑ ""YOUNGOHM" แร็พเปอร์ไทยวัย 19 สร้างรายได้เดือนละ 7 หมื่น จากการปล่อยเพลงบนยูทูป". สนุก.คอม. 17 พฤศจิกายน 2560. สืบค้นเมื่อ 24 กรกฎาคม 2562.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
(help) - ↑ "ผลรางวัล "JOOX Thailand Music Awards 2019"". พีพีทีวี. 19 มีนาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 24 กรกฎาคม 2562.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
(help) - ↑ "ทำความรู้จัก "ยังโอม" แร็ปเปอร์เจ้าของวลีฮิต 'ยังไม่ได้นอน'". พีพีทีวี. 1 เมษายน 2562. สืบค้นเมื่อ 24 กรกฎาคม 2562.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
(help) - ↑ ""หนุ่มโอห์ม" (YOUNGOHM) กลั่นชีวิตมัธยมสู่อัลบั้มสุดเท่ "ธาตุทองซาวด์"".
- ↑ 10.0 10.1 10.2 ""ยังโอม" (YOUNGOHM) กลั่นชีวิตวัยมัธยมเป็นอัลบั้มสุดคูล "ธาตุทองซาวด์"". bangkokbiznews. 2023-01-28.
- ↑ ""YOUNGOHM" จากชีวิตที่โดนดูถูก สู่เจ้าของเพลงฮิต 50 ล้านวิว "เฉยเมย"". สนุก.คอม. 6 พฤศจิกายน 2560. สืบค้นเมื่อ 24 กรกฎาคม 2562.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
(help) - ↑ เลเล่เล้ (29 มีนาคม 2562). "YOUNGOHM กร่างได้ถ้าเก่งกล้า". เดอะสแตนดาร์ด. สืบค้นเมื่อ 24 กรกฎาคม 2562.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
(help) - ↑ "[Space Review] THATTHONG SOUND อัลบั้มใหม่จาก YOUNGOHM ที่อยากให้คุณได้ลองฟัง". Spacebar. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-04-08. สืบค้นเมื่อ 2023-04-08.
- ↑ "ฟังเสียงเด็กวัดจากอัลบั้ม 'ธาตุทองซาวด์' บันทึกช่วงเวลาที่ผ่านไปแล้วของ 'YOUNGOHM'". urbancreature.co.
แหล่งข้อมูลอื่น
- ยังโอม ที่อินสตาแกรม