อำเภอบางกล่ำ
อำเภอบางกล่ำ | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Bang Klam |
คำขวัญ: หลวงปู่เฟื่องเลื่องลือ ระบือเรือแข่ง แหล่งส้มโอหวาน ย่านสำเภานาวา สวาลือนาม เหนียวหลามรสดี | |
แผนที่จังหวัดสงขลา เน้นอำเภอบางกล่ำ | |
พิกัด: 7°5′18″N 100°24′42″E / 7.08833°N 100.41167°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | สงขลา |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 147.8 ตร.กม. (57.1 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2564) | |
• ทั้งหมด | 32,646 คน |
• ความหนาแน่น | 220.88 คน/ตร.กม. (572.1 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 90110 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 9014 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอบางกล่ำ เลขที่ 116 หมู่ที่ 1 ตำบลบางกล่ำ อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา 90110 |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
บางกล่ำ เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดสงขลา
ประวัติ
[แก้]พื้นที่ของอำเภอบางกล่ำเดิมเป็นที่รู้จักในชื่อ บ้านบางกล่ำ อยู่ในเขตการปกครองของอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ช่วงสมัยรัชกาลที่ 2 จนถึงรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้มีกลุ่มชาวจีนอพยพมาจาก อำเภอไห่เติง/ไห่เฉิง 海登縣 / 海澄縣 (ไฮเท่ง) ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นอำเภอหลงไห่ 龍海縣 (เหล่งไฮ) จังหวัดจังโจว (เจียงจิว 漳州府) มณฑลฝูเจี้ยน (ฮกเกี้ยน 福建省) ประเทศจีน ได้อาศัยเดินเรือมาทางอ่าวไทยเข้าสู่ทะเลสาบสงขลา และเข้ามาตั้งบ้านเรือนอาศัยอยู่ริมคลองปะปนกับคนไทยมาเป็นเวลาหลายสิบปี เริ่มแรกได้ประกอบอาชีพทางการเกษตร ปลูกผัก ผลไม้ ประมง และค้าขายทางเรือ ได้ถ่ายทอดวัฒนธรรมต่อๆกันมาหลายอย่าง เช่น ภาษาพูด เป็นต้น จนกระทั่งคนจีนสามารถพูดภาษาท้องถิ่นได้ เป็นเหตุให้เรียกชื่อคลองและบ้านเคลื่อนไปจากบางกลม หรือบางเกาะกลม เป็น บางกล่ำ เดิมทีประกอบอาชีพเกษตรกรรม ประมง และค้าขายทางเรือ
ตำบลบางกล่ำ ตำบลแม่ทอม ตำบลบ้านหาร ตำบลท่าช้าง เป็นตำบลเก่าแก่ในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา และปรากฏหลักฐานเกี่ยวกับการให้ใช้ชื่อทั้งสี่ตำบล ในหนังสือราชกิจจานุเบกษา พ.ศ. 2464[1] เป็นรายชื่อตำบลหนึ่งในอำเภอหาดใหญ่ ในปี พ.ศ. 2483 ได้มีการปรับเปลี่ยนการปกครองตำบลให้เหมาะสม ได้ยุบตำบลแม่ทอมและตำบลบ้านหารลง และในวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2490 มีประกาศกระทรวงมหาดไทยให้แยกบางหมู่บ้านออกมาจากการปกครองของตำบลคลองอู่ตะเภา รวมตั้งเป็นตำบลแม่ทอม และตำบลบ้านหาร[2] ดังเดิม
กระทั่งเมื่อวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2529 ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทยให้แยกตำบลบางกล่ำ ตำบลท่าช้าง ตำบลแม่ทอม และตำบลบ้านหาร ออกจากการปกครองของอำเภอหาดใหญ่ รวมตั้งเป็น กิ่งอำเภอบางกล่ำ[3] จนกระทั่งเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2538 จึงมีพระราชกฤษฎีกาฯ ยกฐานะขึ้นเป็น อำเภอบางกล่ำ[4] จนถึงปัจจุบัน
ที่ตั้งและอาณาเขต
[แก้]อำเภอบางกล่ำมีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอควนเนียง อำเภอสิงหนคร และอำเภอเมืองสงขลา
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอหาดใหญ่
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอหาดใหญ่
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอรัตภูมิและอำเภอควนเนียง
การแบ่งเขตการปกครอง
[แก้]การปกครองส่วนภูมิภาค
[แก้]อำเภอบางกล่ำแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 4 ตำบล 36 หมู่บ้าน
1. | บางกล่ำ | (Bang Klam) | 7 หมู่บ้าน | ||||||
2. | ท่าช้าง | (Tha Chang) | 18 หมู่บ้าน | ||||||
3. | แม่ทอม | (Mae Thom) | 6 หมู่บ้าน | ||||||
4. | บ้านหาร | (Ban Han) | 5 หมู่บ้าน |
การปกครองส่วนท้องถิ่น
[แก้]ท้องที่อำเภอบางกล่ำประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 4 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลท่าช้าง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าช้างทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลบ้านหาร ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านหารทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบางกล่ำ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางกล่ำทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลแม่ทอม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแม่ทอมทั้งตำบล
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง ใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ. ๒๔๖๔ [ในท้องที่มณฑลนครศรีธรรมราช]" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 38 (0 ก): 464–480. November 27, 1921.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลในจังหวัดต่าง ๆ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (26 ง): 1114–1433. June 10, 1947. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-09. สืบค้นเมื่อ 2021-01-26.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งเขตท้องที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ตั้งเป็นกิ่งอำเภอบางกล่ำ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 103 (9 ง): 161. January 21, 1986. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-02-14. สืบค้นเมื่อ 2021-01-26.
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอด่านมะขามเตี้ย อำเภอแก่งหางแมว อำเภอภักดีชุมพล อำเภอเวียงแก่น อำเภอแม่วาง อำเภอถ้ำพรรณรา อำเภอบ่อเกลือ อำเภอโนนสุวรรณ อำเภอห้วยราช อำเภอแม่ลาน อำเภอบางแก้ว อำเภอป่าพะยอม อำเภอหนองม่วงไข่ อำเภอยางสีสุราช อำเภอจังหาร อำเภอบ้านธิ อำเภอภูสิงห์ อำเภอบางกล่ำ อำเภอวังม่วง และอำเภอนายูง พ.ศ. ๒๕๓๘" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 112 (32 ก): 1–3. August 8, 1995. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-01-26. สืบค้นเมื่อ 2021-01-26.