อุทยานธรรมชาติพืดหินปะการังตุบบาตาฮา
อุทยานธรรมชาติพืดหินปะการังตุบบาตาฮา * | |
---|---|
แหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโก | |
ปลาฉลามครีบขาวในอุทยาน | |
พิกัด | 8°52′40.2″N 119°54′05.9″E / 8.877833°N 119.901639°E |
ประเทศ | ฟิลิปปินส์ |
ภูมิภาค ** | เอเชียและแปซิฟิก |
ประเภท | มรดกทางธรรมชาติ |
เกณฑ์พิจารณา | (vii), (ix), (x) |
อ้างอิง | 653 |
ประวัติการขึ้นทะเบียน | |
ขึ้นทะเบียน | 2536 (คณะกรรมการสมัยที่ 17) |
เพิ่มเติม | 2552 |
* ชื่อตามที่ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีแหล่งมรดกโลก ** ภูมิภาคที่จัดแบ่งโดยยูเนสโก |
อุทยานธรรมชาติพืดหินปะการังตุบบาตาฮา (ฟิลิปปินส์: Bahurang Tubbataha; อังกฤษ: Tubbataha Reefs Natural Park) คือ พื้นที่คุ้มครองแห่งหนึ่งของฟิลิปปินส์ ตั้งอยู่บริเวณใจกลางทะเลซูลู เขตสงวนพันธุ์นกและสัตว์ทะเลประกอบด้วย เกาะรูปวงแหวนที่เกิดจากหินปะการังใหญ่ 2 เกาะ (ชื่อเกาะวงแหวนเหนือและใต้) และปะการังเจสซี บีซลีย์ ที่เล็กกว่าครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด 97,030 เฮกตาร์ (239,800 เอเคอร์; 371.6 ตารางไมล์) เขตเกาะปะการังตั้งอยู่ 150 กิโลเมตร ทางตะวันออกเฉียงใต้ของเมืองปูเวร์โตปรินเซซา (Puerto Princesa City) เมืองหลักของจังหวัดปาลาวัน เกาะที่ไม่มีใครอยู่อาศัยและปะการังเป็นส่วนหนึ่งของเทศบาลเกาะคากายันซิลโย (Cagayancillo) จังหวัดปาลาวัน ตั้งอยู่ราว 130 กิโลเมตร ทางตะวันออกเฉี่ยงเหนือของปะการัง[1]
ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1993 องค์การยูเนสโกประกาศให้ "อุทยานธรรมชาติพืดหินปะการังตุบบาตาฮา" เป็นมรดกโลก ในหลักเกณฑ์ตัวอย่างที่เด่นชัดของเกาะปะการังวงแหวนที่มีความหนาแน่นของสายพันธุ์สัตว์ทะเลในระดับสูงมาก เกาะวงแหวนเหนือเป็นที่ตั้งของเขตทำรังของนกและเต่าทะเล ที่ตั้งแห่งนี้เป็นตัวอย่างหนึ่งที่ยอดเยี่ยมของพืดหินปะการังดั้งเดิม ด้วยกำแพงเส้นตั้งตรง 100 เมตร ที่น่าประทับใจ ทะเลสาบที่กว้างขวางและเกาะปะการัง 2 เกาะ[2] ใน ค.ศ. 1999 แรมซาร์ ขึ้นทะเบียนตุบบาตาฮาในฐานะหนึ่งในพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญในระดับนานาชาติ[3] ใน ค.ศ. 2008 ปะการังได้รับการเสนอชื่อเป็นหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ทางธรรมชาติ[4]
อุทยานแห่งชาติและหมู่เกาะฟิลิปปินส์เป็นส่วนหนึ่งของสามเหลี่ยมปะการัง ได้รับการยอมรับว่าเป็นศูนย์กลางหนึ่งของความหลากหลายทางชีวภาพทางทะเล ประกอบด้วยสายพันธุ์ปะการังร้อยละ 75 ของสายพันธุ์ปะการัง และปลาปะการังร้อยละ 40 ของปลาปะการังของโลก[5] พื้นที่แห่งนี้อยู่ในการคุกคามที่รุนแรงเนื่องจากการประมงที่เกินขึดจำกัดและกิจวัตรการตกปลาที่เป็นการทำลาย[6] การเยี่ยมชมและวิจัยของนักวิทยาศาสตร์ตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1980 เปิดเผยว่าอุทยานธรรมชาติพืดหินปะการังตุบบาตาฮามีจำนวนสายพันธุ์ปลาน้อยกว่า 600 ชนิด สายพันธุ์ปะการัง 360 สายพันธุ์ สายพันธ์ฉลาม 11 สายพันธุ์ สายพันธุ์วาฬและโลมา 13 สายพันธุ์ และสายพันธุ์นก 100 สายพันธุ์ แนวปะการังยังทำหน้าที่เป็นพื้นที่ทำรังสำหรับเต่ากระและเต่าตนุ[7]
ปะการังตุบบาตาฮา
[แก้]นิรุกติศาสตร์
[แก้]คำว่า "ตุบบาตาฮา" คือการรวมกันของคำศัพท์ภาษาซัมบัล 2 คำ คือ ตุบบา และ ตาฮา ซึ่งรวมกันหมายถึง "ปะการังยาวโผล่ขึ้นที่กระแสน้ำต่ำ"
ภูมิศาสตร์
[แก้]ตุบบาตาฮาเกิดขึ้นจากเกาะวงแหวนปะการัง 2 เกาะ ที่เรียกว่า เกาะเหนือและใต้ โดยถูกแยกจากกันด้วยช่องแคบกว้างประมาณ 8 กิโลมตร แต่ละเกาะวงแหวนมีทะเลสาบตรงกลางและเกาะทรายขนาดเล็ก ๆ เกาะวงแหวนเหนือมีขนาดใหญ่กว่า ด้วยความยาว 16 กิโลมตร และความกว้าง 5 กิโลเมตร สถานีของนักท่องเที่ยวตั้งอยู่บนเกาะหนึ่งบริเวณขอบตะวันออกเฉียงใต้ของเกาะเหนือ แนวหินอะมอสตั้งอยู่ใกล้จุดปลายสุดทางตะวันตกเฉียงใต้ของเกาะเหนือ[8] ส่วนเกาะวงแหวนใต้มีความยาว 5 กิโลเมตร และความกว้าง 3 กิโลเมตร ประภาคารตุบบาตาฮาตั้งอยู่ใกล้กับจุดปลายสุดทางใต้ของเกาะใต้ แนวหินที่เรียกว่าหินดำทอดยาวทางตอนเหนือของเกาะใต้[9]
ระบบนิเวศ
[แก้]กว่า 1,000 สายพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตทางทะเลที่อาศัยอยู่ในปะการัง หลายสายพันธุ์ถูกพิจารณาว่าเสี่ยงต่ออันตราย สายพันธุ์สัตว์ที่ค้นพบรวมถึงปลากระเบนแมนตา ปลาสิงโต เต่าทะเล ปลาการ์ตูน และฉลาม ตุบบาตาฮากลายเป็นสถานที่ที่ได้รับความนิยมสำหรับนักดำน้ำสันทนาการ เพราะกำแพงปะการังที่ซึ่งมีแนวปะการังน้ำตื้นและความลึกที่พอเหมาะ กำแพงเหล่านี้ยังเป็นที่อยู่ของกลุ่มปลาที่หลากหลาย เช่น ปลากะมงพร้าว ปลาฉลามหัวค้อน ปลาสาก ปลาโนรีเทวรูป ปลานโปเลียน ปลานกแก้ว ปลาไหลมอเรย์ที่อาศัยอยู่ในที่หลบภัยของมัน และยังมีการรายงานการพบปลาฉลามวาฬ ปลาฉลามเสือ รวมถึงเต่ากระซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่อยู่ในอันตราย
มรดกโลก
[แก้]การประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ 17 ค.ศ. 1993 อุทยานธรรมชาติพืดหินปะการังตุบบาตาฮาได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางธรรมชาติ ด้วยข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ในการพิจารณา[10] ดังนี้
- (vii) - เป็นตัวอย่างที่เด่นชัดของการเป็นตัวแทนในวิวัฒนาการสำคัญต่างๆในอดีตของโลก เช่น ยุคสัตว์เลื้อยคลาน ยุคน้ำแข็ง ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการพัฒนาความหลากหลายทางธรรมชาติบนพื้นโลก
- (ix) - เป็นแหล่งที่เกิดจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่มีเอกลักษณ์หายากหรือสวยงามเป็นพิเศษ เช่น แม่น้ำ น้ำตก ภูเขา
- (x) - เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของชนิดสัตว์และพันธุ์พืชที่หายากหรือที่ตกอยู่ในสภาวะอันตราย แต่ยังคงสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ ซึ่งรวมถึงระบบนิเวศอันเป็นแหล่งรวมความอุดมสมบูรณ์ของพืชและสัตว์ที่ทั่วโลกให้ความสนใจด้วย
ใน ค.ศ. 2009 ยูเนสโกได้ประกาศขึ้นทะเบียนมรดกโลก ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ 33 ระหว่างวันที่ 22-30 มิถุนายน ค.ศ. 2009 ณ เมืองเซบิยา ประเทศสเปน ยูเนสโกได้เพิ่มรายชื่อของ "อุทยานธรรมชาติพืดหินปะการังตุบบาตาฮา" เป็นส่วนขยายจากอุทยานทางทะเลตุบบาตาฮา ซึ่งเป็นมรดกโลกไปก่อนหน้านี้ เพื่อความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น[11]
ดูเพิ่ม
[แก้]สมุดภาพ
[แก้]-
เรือยูเอสเอสการ์เดียนรอบแนวปะการังในเดือนมกราคม ค.ศ. 2013
-
เรือยูเอสเอสการ์เดียนรอบแนวปะการัง ในมุมมองด้านบน
-
เรือเมื่อ 12 มีนาคม ค.ศ. 2013 กำลังกำลังได้รับการกู้เรือ
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Tubbataha Reefs Natural Park Location เก็บถาวร 2013-01-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน tubbatahareef.org
- ↑ Tubbataha Reefs Natural Park unesco.org
- ↑ Global and Ecological Significance of Tubbataha เก็บถาวร 2016-11-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน tubbatahareef.org
- ↑ 4 RP bets in New 7 Wonders of Nature drop in rankings gmanetwork.com
- ↑ The Coral Triangle เก็บถาวร 2016-10-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน nature.org
- ↑ Saving the Coral Triangle เก็บถาวร 2011-07-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน nationalgeographic.com
- ↑ Tubbataha Reefs Natural Park Biodiversity เก็บถาวร 2014-07-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน tubbatahareef.org
- ↑ office of coast survey เก็บถาวร 2013-03-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน charts.noaa.gov
- ↑ White, Alan T. and Arquiza, Yawmin D. (1999). "Tales from Tubbataha, Second edition". Makati. ISBN 971-569-337-7
- ↑ Tubbataha Reefs Natural Park unesco.org
- ↑ มรดกโลกแห่งใหม่ทางธรรมชาติ bloggang.com