ข้ามไปเนื้อหา

โบสถ์บาโรกแห่งฟิลิปปินส์

พิกัด: 14°35′20.7″N 120°58′29.8″E / 14.589083°N 120.974944°E / 14.589083; 120.974944
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โบสถ์บาโรกแห่งฟิลิปปินส์ *
  แหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโก
The interior of San Agustín Church in Manila.

The interior of San Agustín Church in Manila.
โบสถ์ซันอากุสติน กรุงมะนิลา
พิกัด14°35′20.7″N 120°58′29.8″E / 14.589083°N 120.974944°E / 14.589083; 120.974944
ประเทศ ฟิลิปปินส์
ภูมิภาค **เอเชียและแปซิฟิก
ประเภทมรดกทางวัฒนธรรม
เกณฑ์พิจารณา(ii), (iv)
อ้างอิง677
ประวัติการขึ้นทะเบียน
ขึ้นทะเบียน2536 (คณะกรรมการสมัยที่ 17)
* ชื่อตามที่ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีแหล่งมรดกโลก
** ภูมิภาคที่จัดแบ่งโดยยูเนสโก

โบสถ์บาโรกแห่งฟิลิปปินส์ (อังกฤษ: Baroque Churches of the Philippines) คือชื่อเรียกอย่างเป็นทางการของโบสถ์ยุคสเปน 4 แห่งในฟิลิปปินส์ ซึ่งได้รับการจดทะเบียนเป็นมรดกโลกของยูเนสโก ใน พ.ศ. 2536 โบสถ์เหล่านี้ยังเป็นหนึ่งในสมบัติที่มีค่ามากที่สุดของประเทศฟิลิปปินส์[1]

รายชื่อโบสถ์ทั้ง 4 แห่ง มีดังต่อไปนี้

โบสถ์เหล่านี้อยู่ในแถวหน้าของประวัติศาสตร์ฟิลิปปินส์ ไม่เพียงแต่ศาสนาคริสต์บนหมู่เกาะแต่เป็นกระดูกสันหลังทางการเมืองในยุคที่ปกครองโดยอาณานิคมสเปน เมื่อศาสนาและการเมืองถูกนับว่าเป็นหนึ่งเดียว สถาปัตยกรรมที่พิเศษของโบสถ์ไม่เพียงสะท้อนการปรับตัวของสถาปัตยกรรมลาตินอเมริกาหรือสเปนให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมท้องถิ่น (รวมถึงการหลอมรวมกับลักษณะเด่นของจีน)

โบสถ์เหล่านี้เป็นหัวข้อในการโจมตีโดยกลุ่มกบฏและหัวปฏิวัติท้องถิ่น ดังนั้นโบสถ์หลายแห่งมีการปรากฏป้อมปราการแทนที่การใช้งานทางศาสนาเพียงอย่างเดียว เป็นที่น่าสังเกตในกรณีของโบสถ์ซานตามาริอาซึ่งตั้งอยู่บนยอดของหุบเขา ถูกใช้งานในฐานะป้อมปราการในช่วงเวลาวิกฤต ส่วนโบสถ์มียาเกายังทนต่อการโจมตีบางครั้งบางคราวจากกลุ่มมุสลิมทางภาคใต้ นอกจากนี้ที่ตั้งของประเทศฟิลิปปินส์ตลอดจนวงแหวนแห่งไฟแปซิฟิก ทำให้มีการตระหนักถึงโครงสร้างที่ค้ำจุนและฐานรากของโบสถ์เหล่านั้น เนื่องจากมีความเสียหายที่รุนแรงในบางครั้ง แต่ในที่สุดก็มีการสร้างใหม่หลังจากเกิดแผ่นดินไหว

มรดกโลก

[แก้]

การประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ 17 ค.ศ. 1993 โบสถ์บาโรกแห่งฟิลิปปินส์ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม ด้วยข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ในการพิจารณา ดังนี้

  • (ii) - เป็นสิ่งที่มีอิทธิพลยิ่ง ผลักดันให้เกิดการพัฒนาสืบต่อมาในด้านการออกแบบทางสถาปัตยกรรม อนุสรณ์สถาน ประติมากรรม สวน และภูมิทัศน์ ตลอดจนการพัฒนาศิลปกรรมที่เกี่ยวข้อง หรือการพัฒนาการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ซึ่งได้เกิดขึ้นในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง หรือบนพื้นที่ใด ๆ ของโลกซึ่งทรงไว้ซึ่งวัฒนธรรม
  • (iv) - เป็นตัวอย่างอันโดดเด่นของประเภทของสิ่งก่อสร้างอันเป็นตัวแทนของการพัฒนาทางด้านวัฒนธรรม สังคม ศิลปกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี อุตสาหกรรม ในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ

อ้างอิง

[แก้]

สมุดภาพ

[แก้]