ข้ามไปเนื้อหา

เต่ากระ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เต่ากระ
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Reptilia
อันดับ: Testudines
วงศ์ใหญ่: Chelonioidea
วงศ์: Cheloniidae
สกุล: Eretmochelys
Fitzinger, 1843
สปีชีส์: E.  imbricata
ชื่อทวินาม
Eretmochelys imbricata
Linnaeus, 1766
ชนิดย่อย
แผนที่การแสดงการกระจายพันธุ์ของเต่ากระ (สีแดง)
ชื่อพ้อง
  • E. imbricata squamata (Agassiz, 1857)

เต่ากระ หรือ เต่าปากเหยี่ยว (อังกฤษ: Hawksbill sea turtle; ชื่อวิทยาศาสตร์: Eretmochelys imbricata) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลังชั้นสัตว์เลื้อยคลาน และเป็นสิ่งมีชีวิตเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Eretmochelys[1]

มีลักษณะคล้ายเต่าตนุ (Chelonia mydas) โดยที่เป็นเต่าทะเลขนาดกลาง มีลำตัวไม่ใหญ่มากนัก จะงอยปากแหลมงองุ้มคล้ายกับจะงอยปากของนกเหยี่ยว มีเกล็ดบริเวณหัวด้านหน้า 2 คู่ และเกล็ดบริเวณด้านข้างข้างละ 4 เกล็ด ลักษณะของกระดองมีลวดลายและสีสันสวยงาม ขอบกระดองเป็นหยักโดยรอบ ซึ่งในอดีตมักจะถูกนำไปทำเป็นเครื่องประดับและข้าวของต่าง ๆ เช่น หวี เมื่อโตเต็มที่ จะมีขนาดความยาวประมาณ 100 เซนติเมตร และมีน้ำหนักประมาณ 120 กิโลกรัม[2]

เต่ากระพบกระจายพันธุ์ในเขตอบอุ่นในมหาสมุทรทั่วทั้งโลก โดยมักอาศัยอยู่ใกล้ชายฝั่งที่สงบเงียบไม่มีการรบกวน จากการศึกษาพบว่า เต่ากระกินทั้งได้พืชและสัตว์ โดยใช้ปากที่งองุ้มนี้กินทั้งสาหร่ายทะเล, หญ้าทะเล รวมทั้งสัตว์น้ำประเภทต่าง ๆ รวมถึงปะการังด้วย[3] วางไข่บนชายหาดครั้งละ 150-250 ฟอง

จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองประเภทที่ 1 ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 และจัดเป็น 1 ใน 4 ชนิดของเต่าทะเลที่พบได้ในน่านน้ำไทย

อ้างอิง

[แก้]
  1. ITIS
  2. เต่ากระในประเทศไทย
  3. "เต่ากระ". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-02. สืบค้นเมื่อ 2009-02-02.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Eretmochelys imbricata ที่วิกิสปีชีส์