ข้ามไปเนื้อหา

อิวาเนะ มัตสึอิ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อิวาเนะ มัตสึอิ
22 พฤษภาคม 1885 – 23 ธันวาคม พ.ศ. 1948 (70 ปี)

อิวาเนะ มัตสึอิ
เกิดที่ นาโงยะ ประเทศญี่ปุ่น
อนิจกรรมที่ เรือนจำซูกะโมะ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่นภายใต้การยึดครองของสัมพันธมิตร
เหล่าทัพ กองทัพบกจักรวรรดิญี่ปุ่น
ยศสูงสุด พลเอก
รับใช้  ญี่ปุ่น
บัญชาการ IJA Brigade 35 IJA กองทัพ 11 IJA กองทัพบกที่ 10,กองพลยานเกราะเร็วเซี่ยงไฮ้
การยุทธ สงครามโลกครั้งที่สอง
สงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สอง
การสังหารหมู่นานกิง
บำเหน็จ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ว่าวทองคำ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อาทิตย์อุทัย

อิวาเนะ มัตสึอิ (ญี่ปุ่น: 松井 石根โรมาจิMatsui Iwaneทับศัพท์: extra 27 July 1878 – 23 December 1948) ; 22 พฤษภาคม ค.ศ. 1885 — 22 กันยายน ค.ศ. 1957) เป็นนายพลในกองทัพบกจักรวรรดิญี่ปุ่นและผู้บัญชาการกองกำลังญี่ปุ่นในประเทศจีนในปี ค.ศ. 1937 ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง

อิวาเนะ มัตสึอิถูกตัดสินลงโทษประหารชีวิตในข้อหาก่ออาชญากรรมสงครามและดำเนินการโดยฝ่ายสัมพันธมิตร เนื่องจากเขาได้มีส่วนร่วมกับการสังหารหมู่นานกิง

อิวาเนะ มัตสึอิเกิดที่เมืองนาโกย่า เขาเข้าเป็นทหารแห่งกองทัพจักรวรรดิญี่ปุนและเข้าร่วมสู้รบในสงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น (ค.ศ. 1904–05) เขาอาสาไปทำงานต่างประเทศที่นั่นหลังจากเรียนจบจากวิทยาลัยการทัพบกในปี ค.ศ. 1906 เมื่อมัตสึอิได้เติบโตในตำแหน่งหน้าที่ทางทหารเขาได้รับชื่อเสียงในฐานะผู้เชี่ยวชาญชั้นแนวหน้าของกองทัพญี่ปุ่นในประเทศจีนและเขาเป็นผู้สนับสนุนอย่างกระตือรือร้นในการแผ่ขยายอิทธิพลของจักรวรรดิญี่ปุ่นในเอเชีย เขายังเห็นด้วยกับลัทธิจักรวรรดิอาณานิคมญี่ปุ่นและมีบทบาทสำคัญในการก่อตั้งวงไพบูลย์ร่วมแห่งมหาเอเชียบูรพา

มัตสึอิเกษียณราชการจากการปฏิบัติหน้าที่ในกองทัพเมื่อปี ค.ศ. 1935 แต่ถูกเรียกตัวกลับเข้าประจำการในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1937 เมื่อญี่ปุ่นเริ่มต้นรุกรานประเทศจีนทำให้เกิดสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สอง เขาได้บัญชาการกองทัพญี่ปุ่นเข้ารุกรานเมืองเซี่ยงไฮ้ในยุทธการเซี่ยงไฮ้ หลังจากชนะการสู้รบ มัตสึอิก็ประสบความสำเร็จในการโน้มน้าวให้ผู้บังคับบัญชาระดับสูงของญี่ปุ่นตัดสินใจเข้าโจมตีสู่เมืองหลวงหนานจิงของจีน กองทหารภายใต้คำสั่งของเขาที่เข้ายึดครองหนานจิงเมื่อวันที่ 13 ธันวาคมมีความรับผิดชอบต่อการสังหารหมู่นานกิงซึ่งเป็นอาชญากรรมสงครามที่มีชื่อเสียงไปทั่วโลก

เหล่าผู้บัญชาการกองทัพญี่ปุ่นหลังเข้ายึดเมืองหนานจิงได้ มัตสึอิ อิวาเนะ (ยืนทางขวาสุด)

ในท้ายที่สุดมัตสึอิได้เกษียรอายุจากกองทัพอีกครั้งใน ปี ค.ศ. 1938 ซึ่งขณะนั้นตามมาด้วยเหตุการณ์ที่ญี่ปุ่นได้พ่ายแพ้สงครามโลกครั้งที่สองเขาถูกตัดสินลงโทษในข้อหาก่ออาชญากรรมสงครามโดยศาลทหารระหว่างประเทศสำหรับตะวันออกไกล (International Military Tribunal for the Far East) และถูกประหารชีวิตโดยการแขวนคอ

ถึงอย่างไรก็ตามในปัจจุบันทางรัฐบาลญี่ปุ่นได้มีการนำเอาเถ้ากระดูกอัฐิของมัตสึอิ อิวาเนะและอาชญากรสงครามชาวญี่ปุ่นคนอื่นๆ ไปประดิษฐานสักการะบูชาที่ศาลเจ้ายาซูกูนิในปี ค.ศ. 1978 ได้สร้างความไม่พอใจแก่ประเทศจีน ที่ถือว่าญี่ปุ่นไม่มีความรับผิดชอบและสำนึกผิดต่อการก่ออาชญากรสงครามทำให้เกิดปัญหาความขัดแย้งกับประเทศจีนถึงปัจจุบัน

ชีวิตช่วงต้นและอาชีพทหาร, 1878–1906

[แก้]

มัตสึอิ อิวาเนะเกิดที่นาโกย่า[1] ในวันที่ 27 กรกฎาคม ค.ศ. 1878[2] เขาเป็นลูกชายคนที่หกของ ทะเคะคุนิ มัตสึอิ ผู้เป็นซามูไรยากจนและอดีตผู้ยึดมั่นต่อไดเมียว แห่งแคว้นโอวาริ ในช่วงยุครัฐบาลโชกุนโทกูงาวะแห่งเอะโดะ

หลังจากจบชั้นประถมศึกษาพ่อแม่ของเขายืนยันว่าเขาต้องศึกษาต่อ แต่มัตสึอิกังวลเรื่องหนี้สินของพ่อและไม่ต้องการเป็นภาระทางการเงิน แม้ว่าเขาจะเป็นชายร่างเตี้ยผอมบางและอ่อนแอ แต่มัตสึอิก็เลือกอาชีพในกองทัพเพราะในญี่ปุ่นในเวลานั้นโรงเรียนทหารเรียกเก็บค่าเล่าเรียนอย่างถูกที่สุด[3]

มัตสึอิเข้าเรียนที่โรงเรียนเตรียมทหารกลางในปี ค.ศ. 1893 และในปี ค.ศ. 1896 เขาสามารถสอบเข้าเรียนในโรงเรียนการทหารกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่น[2] มัตสึอิเป็นนักเรียนที่ยอดเยี่ยมและสำเร็จการศึกษาสอบได้ในระดับที่สองของชั้นเรียน ในเดือนพฤศจิกายนปี ค.ศ. 1897 เขามีเพื่อนร่วมชั้นที่โดดเด่นเคียงคู่ของเขา ได้แก่ จินซาบูโระ มาซากิ, โนะบุยุกิ อะเบะ, ชิเงรุ ฮอนโจ และซะดะโอะ อะระกิ ซึ่งต่อมาจะกลายเป็นนายพลในกองทัพจักรวรรดิในอนาคตต่อมา[3]

มัตสึอิยังคงเรียนอยู่ที่โรงเรียนการทหารจนถึงในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1904 เมื่อทางโรงเรียนได้ปิดการเรียนการสอนเนื่องจากการเกิดสงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่นได้ปะทุขึ้น เขาถูกส่งไปต่างประเทศทันทีซึ่งเขารับราชการทหารในแมนจูเรียในประเทศจีน ในฐานะผู้บัญชาการกองร้อยในหน่วยรบของกรมทหารราบที่ 6 แห่งกองทัพบกจักรวรรดิญี่ปุ่น[4]

ในระหว่างยุทธการลั่วหยางหรือที่ญี่ปุ่นเรียกว่า "ยุทธการโชวชันปุ" เขาได้รับบาดเจ็บในขณะปฏิบัติภารกิจและเพื่อนทหารในหน่วยรบของเขาส่วนใหญ่ถูกฆ่าตาย เมื่อญี่ปุ่นชนะสงครามกับรัสเซีย มัตสึอิได้กลับไปรักษาตัวที่ญี่ปุ่นและกลับไปเรียนที่โรงเรียนการทหารและจบการศึกษาระดับสูงสุดของชั้นเรียนในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1906[3]

การเข้าไปแทรกแซงในจีน

[แก้]

มัตสึอิมีความสนใจในประเทศจีนเป็นอย่างยิ่ง[3] ถึงกับเสนอและสนับสนุนให้กองทัพญี่ปุ่นเข้าไปตั้งฐานทัพในจีน ในปี ค.ศ. 1924 เขาเสนอตัวเป็นที่ปรึกษาทางการทหารให้ขุนศึกจีน จาง จั้วหลินในดินแดนแมนจูเรียเมืองฮาร์บิน ในช่วงสมัยขุนศึก มัติสึอิ อิวาเนะได้พยายามยุยงให้ชาวจีนอ่อนแอแตกความสามัคคีและขัดขวางไม่ให้จีนรวมประเทศได้สำเร็จโดยหนุนแมนจูเรียเป็นอิสระ อีกทั้งเขายังแอบส่งข่าวจากการสอดแนมในจีนให้กองทัพคันโตของญี่ปุ่นในแมนจูเรีย[5]

การประชุมผสมญี่ปุ่น-แมนจูกัว ที่นั่งจากซ้ายไปขวาคือ ติง ชือหยวน ผู้แทนจากแมนจูกัว (คนแรก), มัตสึอิ อิวาเนะ (คนที่ 2) และ ชินโกะ อิชิกะวา เจ้าหน้าที่กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น (คนที่ 3)


อ้างอิง

[แก้]
  1. Torsten Weber, "The Greater Asia Association and Matsui Iwane," in Pan-Asianism: A Documentary History, Volume 2, eds. Sven Saaler and Christopher Szpilman (Lanham: Rowman & Littlefield, 2011), 140
  2. 2.0 2.1 Kazutoshi Hando et al., 歴代陸軍大将全覧: 昭和篇(1) (Tokyo: Chūō Kōron Shinsha, 2010), 21. ISBN 9784121503374
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 Masataka Matsuura, 「大東亜戦争」はなぜ起きたのか (Nagoya: Nagoya Daigaku Shuppankai, 2010), 504–505. ISBN 9784815806293
  4. Kazutoshi Hando et al., 歴代陸軍大将全覧: 昭和篇(1) (Tokyo: Chūō Kōron Shinsha, 2010), 133. ISBN 9784121503374
  5. Takashi Hayasaka, 松井石根と南京事件の真実 (Tokyo: Bungei Shunjū, 2011), 32–33, 36–37, 40–41. ISBN 9784166608171