ข้ามไปเนื้อหา

นาโงยะ

พิกัด: 35°11′N 136°54′E / 35.183°N 136.900°E / 35.183; 136.900
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก นาโกย่า)
นาโงยะ

名古屋市
สถานที่ต่าง ๆ ในนครนาโงยะ
ธงของนาโงยะ
ธง
ตราอย่างเป็นทางการของนาโงยะ
ตรา
แผนที่
แผนที่แบบโต้ตอบแสดงขอบเขตของนครนาโงยะ
ที่ตั้งของ   นครนาโงยะในจังหวัดไอจิ
นาโงยะตั้งอยู่ในประเทศญี่ปุ่น
นาโงยะ
นาโงยะ
ที่ตั้งในประเทศญี่ปุ่น
พิกัด: 35°11′N 136°54′E / 35.183°N 136.900°E / 35.183; 136.900
ประเทศธงของประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น
ภูมิภาคชูบุ, โทไก
จังหวัด ไอจิ
บันทึกทางการครั้งแรกค.ศ. 199
จัดตั้งเทศบาลนคร1 พฤศจิกายน ค.ศ. 1889
การปกครอง
 • ประเภทเทศบาลนคร
 • นายกเทศมนตรีทากาชิ คาวามูระ (河村 たかし) (พรรคเก็นเซนิปปง)
 • สภาผู้แทนราษฎร5 เขต
พื้นที่
 • ทั้งหมด326.45 ตร.กม. (126.04 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (1 มีนาคม ค.ศ. 2023)[1]
 • ทั้งหมด2,322,598 คน
 • อันดับที่ 3
 • ความหนาแน่น7,115 คน/ตร.กม. (18,430 คน/ตร.ไมล์)
 • รวมปริมณฑล[2]10,240,000 (ที่ 3) คน
เขตเวลาUTC+09:00 (เวลามาตรฐานญี่ปุ่น)
รหัสท้องถิ่น23100-2
โทรศัพท์052-972-2017
ที่อยู่ศาลาว่าการ3-1-1 Sannomaru, Naka-ku, Nagoya-shi, Aichi-ken 460-0001
เว็บไซต์www.city.nagoya.jp
สัญลักษณ์
ดอกไม้ลิลี
ต้นไม้การบูร
(Camphora officinarum)
นาโงยะ
"นาโงยะ" เมื่อเขียนด้วยคันจิ
ชื่อภาษาญี่ปุ่น
คันจิ名古屋
ฮิรางานะなごや
คาตากานะナゴヤ
การถอดเสียง
โรมาจิNagoya

นครนาโงยะ (ญี่ปุ่น: 名古屋市โรมาจิNagoya-shiทับศัพท์: นาโงยะชิ) เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคชูบุ และมีประชากรมากเป็นอันดับ 4 ของประเทศญี่ปุ่น ตั้งอยู่บนชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกบนเกาะฮนชู เป็นเมืองเอกของจังหวัดไอจิและเป็นหนึ่งในเมืองท่าหลักของญี่ปุ่น ซึ่งประกอบด้วย โตเกียว โอซากะ โคเบะ โยโกฮามะ ชิบะ และคิตะกีวชู นอกจากนี้ยังเป็นศูนย์กลางของเขตมหานครที่ใหญ่เป็นอันดับสามของญี่ปุ่นที่เรียกว่า เขตมหานครชูเกียว ซึ่งมีประชากรกว่า 9.1 ล้านคน

ที่มาของชื่อ

[แก้]

ชื่อของเมืองนั้น เดิมถูกเขียนเป็นตัวคันจิในรูป 那古野 หรือ 名護屋 (ทั้งสองอ่านว่า นาโงยะ) ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่ามาจากคำว่า นาโงยากะ (なごやか) ที่แปลว่า "สงบสุข" ในขณะที่คำว่าชูเกียว (中京, ชู (กลาง) + เกียว (นครหลวง)) ก็มีความหมายถึงนาโงยะเช่นกัน ตัวอย่างที่ใช้ชื่อชูเกียว อาทิ เขตมหานครชูเกียว เขตอุตสาหกรรมชูเกียว บริษัทกระจายภาพชูเกียว มหาวิทยาลัยชูเกียว เป็นต้น

ประวัติศาสตร์

[แก้]

จุดกำเนิด

[แก้]
ปราสาทนาโงยะถูกสร้างขึ้นให้ตระกูลโอวาริ วงศ์สาขาของตระกูลโทกูงาวะ ใช้เป็นศูนย์กลางปกครองพื้นที่แถบนี้

โอดะ โนบูนางะ และบรรดาผู้ใต้การปกครองคือ โทโยโตมิ ฮิเดโยชิ กับ โทกูงาวะ อิเอยาซุ นั้นต่างเป็นขุนพลที่มีอำนาจบารมีจากการรวบรวมแผ่นดินญี่ปุ่นเป็นปึกแผ่นและพวกเขามีฐานที่มั่นอยู่ในพื้นที่นาโงยะ ต่อมา ภายหลังจากที่อิเอยาซุได้ปราบดาตนเองขึ้นเป็นโชกุนและสถาปนารัฐบาลเอโดะ ใน ค.ศ. 1610 อิเอยาซุได้ย้ายฐานที่มั่นไปที่บริเวณแคว้นโอวาริ (จังหวัดไอจิในปัจจุบัน) ซึ่งห่างจากเมืองคิโยซุราวเจ็ดกิโลเมตร เพื่อเหตุผลทางยุทธศาสตร์ ซึ่งปัจจุบันคือเมืองนาโงยะ

ยุคเอโดะ

[แก้]

ในยุคนี้ ได้มีการก่อสร้างปราสาทนาโงยะขึ้น ซึ่งวัสดุต่าง ๆ นำมาจากปราสาทคิโยซุ ซึ่งในระหว่างการก่อสร้างนี้ พื้นที่บริเวณรอบเมืองคิโยซุเป็นที่อยู่อาศัยของประชากรกว่า 60,000 คน ซึ่งภายหลังพวกเขาเหล่านี้ก็ได้ย้ายมาอยู่บริเวณรอบปราสาทนาโงยะที่สร้างขึ้นใหม่[3] ในช่วงเวลาเดียวกัน บริเวณใกล้กับศาลเจ้าอัตสึตะก็ถูกกำหนดให้เป็นจุดแวะพักที่เรียกว่า มิยะ (ศาล) บนถนนสายโทไกโดซึ่งเชื่อมระหว่างนครหลวงเกียวโตกับนครเอโดะ (โตเกียวในปัจจุบัน) เส้นทางสัญจรนี้ทำให้เกิดชุมชนขึ้นรอบศาลเจ้า

เข้าสู่อุตสาหกรรม

[แก้]

นาโงยะกลายเป็นศูนย์กลางทางอุตสาหกรรมของภูมิภาค มีชุมชนเศรษฐกิจใหม่เกิดขึ้นมากมาย อาทิ แหล่งเครื่องปั้นดินเผาโทโกนาเมะ ทาจิมิ และเซโตะ ตลอดจนโอกาซากิที่เป็นแหล่งผลิตดินปืนภายใต้การกำกับของรัฐบาลเอโดะ อุตสาหกรรมประเภทอื่น ๆ ก็อาทิ การทอฝ้าย และตุ๊กตายนต์ที่เรียกว่า คามากูรินิงเงียว

สงครามโลกครั้งที่สอง

[แก้]

ในสงครามแปซิฟิก นาโงยะเป็นหนึ่งในจุดยุทธศาสตร์ที่กองทัพอากาศสหรัฐอเมริกาทิ้งระเบิด เนื่องจากนาโงยะเป็นหนึ่งในสามศูนย์กลางผลิตอากาศยานที่ใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่นในเวลานั้น ประชากรของนาโงยะในช่วงนี้ประมาณการอยู่ที่ราว 1.5 ล้านคน และ 25% ของประชากรเป็นคนงานสายอาชีพผลิตอากาศยาน ราว 40-50% ของเครื่องยนต์และเครื่องบินรบของญี่ปุ่นถูกผลิตขึ้นที่นี่ นอกจากนี้ นาโงยะยังเป็นแหล่งผลิตเครื่องมือและอุปกรณ์ที่สำคัญ อาทิ อุปกรณ์รองลื่น อุปกรณ์ทางรางรถไฟ โลหะอัลลอย รถถัง รถยนต์ และอาหารแปรรูป ตลอดช่วงเวลาของสงครามโลก

การทิ้งระเบิดทางอากาศของสหรัฐอเมริกาเริ่มขึ้นในวันที่ 18 เมษายน 1942 โดยมีเป้าหมายที่โรงงานผลิตอากาศยานมิตซูบิชิ คลังน้ำมันมัตสึฮิเงโจ ค่ายทหารปราสาทนาโงยะ และ โรงงานยุทธภัณฑ์[4] บางครั้งก็ใช้ระเบิดเพลิงในการโจมตี การทิ้งระเบิดดำเนินไปอย่างต่อเนื่องจนถึงฤดูใบไม้ผลิใน ค.ศ. 1945 ในปฏิบัติการทิ้งระเบิดทางอากาศนี้ คำสั่งทิ้งระเบิดที่ 21ได้ใช้ระเบิดเพลิงไปกว่า 3,162 ตันซึ่งทำลายสถิติของกองทัพอากาศสหรัฐ คำสั่งนี้ได้ทำลายเป้าหมายไปได้กว่า 23 แห่งและทำให้พื้นที่ 1 ใน 4 ของเมืองเกิดเพลิงไหม้เสียหาย ปราสาทนาโงยะก็ถูกทำลายลงไปด้วยในวันที่ 14 พฤษภาคม 1945[5] ซึ่งได้มีการสร้างขึ้นใหม่จนแล้วเสร็จใน ค.ศ. 1959

เขตการปกครอง

[แก้]
เขตของนครนาโงยะ

นครนาโงยะแบ่งการปกครองออกเป็น 15 เขต ประกอบด้วย

ภูมิอากาศ

[แก้]
ข้อมูลภูมิอากาศของนครนาโงยะ (ค.ศ. 1981–2010 และบันทึกรายงาน ค.ศ. 1891–2012)
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) 21.0
(69.8)
22.6
(72.7)
25.8
(78.4)
30.5
(86.9)
34.8
(94.6)
35.8
(96.4)
38.9
(102)
39.9
(103.8)
38.0
(100.4)
32.7
(90.9)
27.2
(81)
21.3
(70.3)
39.9
(103.8)
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 9.0
(48.2)
10.1
(50.2)
13.9
(57)
19.9
(67.8)
24.1
(75.4)
27.2
(81)
30.8
(87.4)
32.8
(91)
28.6
(83.5)
22.8
(73)
17.0
(62.6)
11.6
(52.9)
20.7
(69.3)
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) 4.5
(40.1)
5.2
(41.4)
8.7
(47.7)
14.4
(57.9)
18.9
(66)
22.7
(72.9)
26.4
(79.5)
27.8
(82)
24.1
(75.4)
18.1
(64.6)
12.2
(54)
7.0
(44.6)
15.8
(60.4)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) 0.8
(33.4)
1.1
(34)
4.2
(39.6)
9.6
(49.3)
14.5
(58.1)
19.0
(66.2)
23.0
(73.4)
24.3
(75.7)
20.7
(69.3)
14.1
(57.4)
8.1
(46.6)
3.1
(37.6)
11.9
(53.4)
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) −10.3
(13.5)
−9.5
(14.9)
−6.8
(19.8)
−2.1
(28.2)
2.8
(37)
8.2
(46.8)
14.0
(57.2)
14.4
(57.9)
9.5
(49.1)
1.5
(34.7)
−2.7
(27.1)
−7.2
(19)
−10.4
(13.3)
ปริมาณฝน มม (นิ้ว) 48.4
(1.906)
65.6
(2.583)
121.8
(4.795)
124.8
(4.913)
156.5
(6.161)
201.0
(7.913)
203.6
(8.016)
126.3
(4.972)
234.4
(9.228)
128.3
(5.051)
79.7
(3.138)
45.0
(1.772)
1,535.4
(60.449)
ปริมาณหิมะ ซม (นิ้ว) 5
(2)
8
(3.1)
0
(0)
0
(0)
0
(0)
0
(0)
0
(0)
0
(0)
0
(0)
0
(0)
0
(0)
1
(0.4)
14
(5.5)
ความชื้นร้อยละ 64 61 59 60 65 71 74 70 71 68 66 65 66.2
วันที่มีฝนตกโดยเฉลี่ย (≥ 0.5 mm) 6.8 7.5 10.2 10.4 11.4 12.8 13.0 8.7 11.9 9.5 7.2 6.9 116.3
วันที่มีหิมะตกโดยเฉลี่ย 6.4 5.4 2.0 0.0 0.0 0.0 0.0 0.0 0.0 0.0 0.0 2.6 16.4
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด 170.1 170.0 189.1 196.6 197.5 149.9 164.3 200.4 151.0 169.0 162.7 172.2 2,092.8
แหล่งที่มา 1: [6]
แหล่งที่มา 2: สำนักอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น[7] (บันทึกรายงาน)

การขนส่ง

[แก้]

นาโงยะมีท่าอากาศยานอยู่สองแห่ง ท่าอากาศยานหลักคือ ท่าอากาศยานนานาชาติชูบุเซ็นแทรร์ (NGO) ที่ก่อสร้างโดยการถมทะเลบริเวณเมืองโทโกมาเนะ ซึ่งท่าอากาศยานแห่งนี้มีเที่ยวบินระหว่างและเทศและเที่ยวบินในประเทศจำนวนมาก และท่าอากาศยานรองคือท่าอากาศยานนาโงยะ (ท่าอากาศยานโคมากิ) ซึ่งตั้งอยู่ในชานเมืองนาโงยะบริเวณเมืองโคมากิและคาซูงาอิ ซึ่งตั้งแต่วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2005 เที่ยวบินทั้งหมดได้ย้ายไปให้บริการที่ท่าอากาศยานนานาชาติชูบุเซ็นแทรร์ และสนามบินนาโงยะแห่งเก่านี้ถูกใช้เป็นฐานทัพอากาศสหรัฐอเมริกาและการบินทั่วไปและเป็นศูนย์บำรุงของฟูจิดรีมแอร์ไลน์

สถานีรถไฟนาโงยะนั้น ถือเป็นสถานีรถไฟที่มีพื้นที่ใหญ่ที่สุดในโลก ให้บริการในเส้นทางหลักคือ โทไกโด ชิงกันเซ็ง สายหลักโทไกโด และสายหลักชูโอ นอกจากนี้มีรถไฟสายอื่น ๆ อาทิ เมเต็ตสึและคินเต็ตสึที่เชื่อมต่อไปยังภาคโทไกและภาคคันไซ รถไฟใต้ดินเทศบาลนาโงยะคอยให้บริการเส้นทางภายในตัวเมือง

ท่าเรือนาโงยะนั้น ถือเป็นท่าเรือที่มีมูลค่าการขนส่งสินค้ามากที่สุดของญี่ปุ่น โตโยต้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชัน ก็ใช้ท่าเรือแห่งนี้ในการส่งออกรถยนต์และผลิตภัณฑ์ยานยนต์

สถานที่ท่องเที่ยว

[แก้]
ปราสาทนาโงยะ
ศาลเจ้าอัตสึตะ
สวนโทกูงาวะ
ดินแดนผลไม้ โทโงกูซัง

สถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมที่สุดสองแห่งของนาโงยะคือ ศาลเจ้าอัตสึตะ และ ปราสาทนาโงยะ[8]

  • ศาลเจ้าอัตสึตะเป็นศาลเจ้าที่เก่าแก่ที่สุดเป็นอันดับสองของญี่ปุ่น (รองจากศาลเจ้าใหญ่อิเซะ) มีประวัติกว่าสองพันปี เป็นที่เก็บดาบซึ่งเชื่อกันว่าคือดาบคูซานางิ ดาบเทพเจ้าที่ปรากฏในตำนานโคจิกิ และเป็นหนึ่งในไตรราชกกุธภัณฑ์แห่งญี่ปุ่น อย่างไรก็ตามไม่มีการจัดแสดงสมบัติที่สำคัญที่สุดของชาติชิ้นนี้แก่สาธารณชน
  • ปราสาทนาโงยะสร้างขึ้นใน ค.ศ. 1612 แต่ก็ถูกเพลิงไหม้เสียหายไปในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ปราสาทในปัจจุบันเป็นอาคารที่สร้างขึ้นใหม่แล้วเสร็จใน ค.ศ. 1959 และมีการเพิ่มสิ่งอำนวยความสะดวกหลาย ๆ อย่างอาทิ ลิฟท์ นอกจากนี้ พยัคฆ์มัสยาทองสองตัวบนหลังคาปราสาทแห่งนี้ ยังถือเป็นสัญลักษณ์ของนครนาโงยะอีกด้วย

สถานที่น่าสนใจอื่น ๆ ประกอบด้วย

  • วัดนิตไต หรือวัดญี่ปุ่น-ไทย วัดที่สร้างขึ้นเพื่อแสดงถึงความสัมพันธ์อันดีระหว่างสองประเทศ อายุกว่าร้อยปี
  • นาโงยะทีวีทาวเวอร์และสวนสาธารณะฮิซายะโอโดริ ตั้งอยู่บริเวณใจกลางของเขตซากาเอะ
  • อาคารเจอาร์เซ็นทรัลบริเวณสถานีรถไฟนาโงยะ
  • พิพิธภัณฑ์โตโยต้า จัดแสดงเทคโนโลยีและประวัติอุตสาหกรรมของโตโยต้า ตั้งอยู่ใกล้สถานีรถไฟนาโงยะ
  • มิดแลนด์สแควร์ สำนักงานการค้านานาชาติแห่งใหม่ของโตโยต้า และยังมีชั้นชมวิวเปิดโล่งที่สูงที่สุดในญี่ปุ่น[9]
  • บริเวณท่าเรือนาโงยะ: เป็นที่ตั้งของศูนย์การค้า Italia Mura และพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำท่าเรือนาโงยะ (Port of Nagoya Public Aquarium)
  • สวนสัตว์และสวนพฤกษศาสตร์ฮิงาชิยามะ กับ ฮิงาชิยามะสกายทาวเวอร์
  • โรงงานโนริตาเกะ: โรงงานเครื่องกระเบื้อง มีการจัดแสดงประวัติความเป็นมา มีคาเฟ่ และร้านขายของที่ระลึก
  • ย่านช็อปปิงโอซุ ตั้งอยู่ใกล้กับวัดโอซุคันนงและวัดบันโจ
  • พิพิธภัณฑ์ศิลปะโทกูงาวะและสวนโทกูงาวะ สวนแบบญี่ปุ่นของโชกุนในยุคเอโดะ
  • พิพิธภัณฑ์ศิลปะและวิทยาศาสตร์นครนาโงยะ ตั้งอยู่บริเวณสวนสาธารณะชิระกะวะ ไม่ไกลจากสถานีรถไฟใต้ดินฟุชิมิ
  • พิพิธภัณฑ์การเงินธนาคารโตเกียว-มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ[10]

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

[แก้]

นครนาโงยะทำข้อตกลงเป็นเมืองแฝดกับห้าเมืองดังต่อไปนี้

นาโงยะยังเป็นที่ตั้งของสถานทูตและสถานกงสุลของหลาย ๆ ประเทศ เป็นที่ตั้งของสถานกงสุลใหญ่จีน สถานกงสุลใหญ่เกาหลีใต้ สถานกงสุลใหญ่บราซิล สถานกงสุลใหญ่เปรู และยังมีสถานกงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ราชอาณาจักรไทยรวมอีกด้วย

อ้างอิง

[แก้]
  1. "県民文化局県民生活部 統計課" [กองสถิติ ฝ่ายชีวิตพลเมือง สำนักวัฒนธรรมพลเมืองจังหวัด]. จังหวัดไอจิ (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2023-04-04.
  2. Demographia
  3. "Kiyosu Castle". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-02-09. สืบค้นเมื่อ 2007-05-01.
  4. The First Heroes by Craig Nelson
  5. Preston John Hubbard (1990). Apocalypse Undone. Vanderbilt University Press. p. 199.
  6. "気象庁 / 平年値(年・月ごとの値)". สำนักอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น.
  7. "観測史上1~10位の値( 年間を通じての値)". สำนักอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น.
  8. "Nagoya Sightseeing". JapanVisitor. สืบค้นเมื่อ 2013-03-26.
  9. "Midland Square". December 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-27. สืบค้นเมื่อ 2007-04-20.
  10. "The Bank of Tokyo-Mitsubishi UFJ Money Museum". Nagoya International Center. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-08-14. สืบค้นเมื่อ 2018-04-17.
  11. Pessotto, Lorenzo. "International Affairs - Twinnings and Agreements". International Affairs Service in cooperation with Servizio Telematico Pubblico. City of Torino. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-06-18. สืบค้นเมื่อ 2013-08-06.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]