ข้ามไปเนื้อหา

อัญชนา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นางอัญชนา
เทวรูปแบบประเพณีอินเดียปัจจุบัน ของนางอัญชนา (นางสวาหะ) อุ้มบุตรหนุมาน ณ อัญชนีหนุมานมณเฑียร (Anjani Hanuman Dham Temple) แขวงโชมู (Chomu) รัฐราชสถาน ประเทศอินเดีย
ชื่ออื่นนางสวาหะ
ส่วนเกี่ยวข้องนางอัปสร
สตรีในรามายณะ
ดาบสินี (ดาบส)
คู่ครองเกสริน (ในรามายณะ)
พระพาย (ในรามเกียรติ์และเรียมเกร์)
บุตร - ธิดาหนุมาน
เทวรูปของนางอัญชนา (นางสวาหะ) อุ้มบุตรหนุมาน ศิลปะราชวงศ์ปัลลวะ จัดแสดง ณ พิพิธภัณฑสถานนครมถุรา (Government Museum, Mathura ) รัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย

นางอัญชนา (สันสกฤต: अञ्जना) ในรามายณะ หรือ นางสวาหะ ในรามเกียรติ์คือภรรยาของพญาวานรเกสรินในรามายณะและเป็นแม่ของหนุมาน

ในรามายณะ

[แก้]

ในรามายณะตามตำนานเล่าว่า นางอัญชนาเป็นอัปสรมีนามว่า ปัญจิกัสตละ (Punjikastala) ซึ่งถือกำเนิดบนชมพูทวีปในฐานะเจ้าหญิงแห่งวานรอันเนื่องมาจากด้วยเหตุที่ต้องคำสาป[1] และนางได้แต่งงานกับพญาวานรเกสริน ซึ่งเป็นบุตรของพระพฤหัสบดี[2]

ในรามเกียรติ์และเรียมเกร์

[แก้]

นางเป็นธิดาของฤๅษีโคดมและนางกาลอัจนา ต่อมาได้มีเหตุให้มารดาของนางต้องมีการลักลอบมีสัมพันธ์กับพระอินทร์และพระอาทิตย์และมีบุตรคือ พาลีและสุครีพ โดยที่นางสวาหะก็รู้เห็นเรื่องนี้ด้วย และต่อมาฤๅษีโคดมดูแลเอ็นดูโอรสทั้งสองมาก ทำให้นางสวาหะ ธิดาคนโตไม่พอใจ จึงเปิดโปงเรื่องราวความจริง ทำให้ฤๅษีโคดมไม่พอใจในการประพฤติตนของนางกาลอัจนา โดยสาปให้นางนั้นเป็นหินให้พระรามในอนาคตใช้ถมเป็นถนนต่อไป และนางสวาหะก็โดนคำสาปจากมารดาเช่นกันไปยืนตีนเดียวเหนี่ยวกินลมอยู่ในป่าเชิงขอบเขาจักรวาลก่อนที่นางให้กำเนิดหนุมานในเวลาต่อมา[3][4][5]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Saran, Renu (2014-10-29). Veer Hanuman: Gods & Goddesses in India (ภาษาอังกฤษ). Diamond Pocket Books Pvt Ltd. ISBN 9798128819628.
  2. M, Jose A. Guevara (2011). The Identity Zero (ภาษาอังกฤษ). Lulu.com. ISBN 978-0-557-05396-4.
  3. viewlongc.php
  4. ramakien.wordpress.com
  5. rhttps://www.matichon.co.th/prachachuen/news_151746