ข้ามไปเนื้อหา

พระอินทราณี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระอินทราณี
ราชินีแห่งเทวดา
เทพีแห่งการสมรสและความงดงาม
c. 1500–1600 พระอินทราณีจากเนปาล, ในฐานะชายาของพระอินทร์ ณ พิพิธภัณฑ์แห่งชาติแห่งอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์
ชื่ออื่นศจี
เปาโลมี
เอนทรี
ส่วนเกี่ยวข้องเทวี, มาตฤกา, ศักติ, อาทิปราศักติ, ทุรคา, โยคินี
ที่ประทับอมราวดีโลก, อินทรโลก, สวรรค์
มนตร์ॐ ऐन्द्री नम:
อาวุธวัชระ, อัสตะ ,ตรีศูล
วันวันอาทิตย์
พาหนะช้างเอราวัณ
เพศสตรี
เทศกาลนวราตรี
ข้อมูลส่วนบุคคล
คู่ครองพระอินทร์
บุตร - ธิดาพระชยันตะ, Rishabha, Midhusha, พระชยันตี, พระแม่เทวเสนา (พระแม่ษัษฏี)
บิดา-มารดาอสูรปุโลมา (บิดา)

พระอินทราณี (Sanskrit: इन्द्राणी, IAST: Indrāṇī, lit. ราชินีแห่งพระอินทร์)[1] หรือเป็นที่รู้จักในอีกนาม คือ ศจี[2] (Sanskrit: शची, IAST: Śacī) เป็นเทวีในศาสนาฮินดู ชายาของพระอินทร์ และเป็นหนึ่งในคณะเทวีมาตฤกา[3]

นิรุกติศาสตร์และฉายา

[แก้]

ในสมัยพระเวท นามของนางนั้นมาจากสามีของนางนามว่า อินทราณี (Indrāṇī) นั้น มาจาก พระอินทร์ และหมายถึง 'ราชินีแห่งพระอินทร์'[4][5] เช่นเดียวกัน คำไวพจน์นามของพระอินทร์นั้นมาจากความเกี่ยวข้องในฐานะสามีของนางเช่นกัน เช่น ศจีปติ (สามีของนางศจี), ศจีทระ (นางศจีของพระอินทร์) หรือ ศจีวระ (ผู้ดูแลนางศจี)[6][7]

ศจี (Śacī) เป็นอีกนามไวพจน์ยอดนิยมของพระอินทราณี นักวิชาการชาวอังกฤษ นามว่า เซอร์ โมเนียร์ โมเนียร์‑วิลเลียมส์ ได้ศึกษาและอธิบายความหมายอันแปลว่า 'วจี', 'พลังแห่งวจี' หรือ 'วจีอันคารมคมคาย' ซึ่งมาจากคำสันสกฤต ศจะ ซึ่งหมายถึง 'คำพูด', 'กล่าว' หรือ 'บอก' ศจี ยังเกี่ยวข้องกับคำว่า ศักดิ์ อันหมายถึง 'พละกำลัง', 'ความแข็งแกร่ง', 'การสำแดง' หรือ 'ความสำเร็จ'[6]

เดวิด คินสลีย์ ศาสตราจารย์ผู้เชี่ยวชาญในด้านเทพีในศาสนาฮินดูเชื่อว่า คำว่า ศจี เป็นการตีความอธิบายจากศักติ อันหมายถึง พละกำลังอำนาจ[4] และนักวิชาการท่านอื่น ๆ แปลความหมายของคำนี้ว่า 'ผู้มีความงาม' อันหมายถึงคำว่า ศจี[8] สำหรับนามอื่นรวมถึง:

  • เอนทรี (Aindrī) – 'ชายาของพระอินทร์'[9]
  • เปาโลมี (Poulomī) – 'ธิดาของอสูรปุโลมา'[10]
  • ปุโลมาจา (Poulomujā) – 'บุตรีแห่งอสูรปุโลมา'[10]
  • เทวราณี (Devarāṇī) – 'ราชินีแห่งเทวดา'
  • จารุธรา (Cārudhārā) – 'ผู้ทรงความงาม'[11]
  • ศักราณี (Śakrāṇī) – 'ชายาของท้าวศักระ (คือ พระอินทร์)'[12]
  • มเหทราณี (Mahendrāṇī) – 'ชายาของท้าวมเหทร (พระอินทร์)'[12]

ในศาสนาอื่น ๆ

[แก้]
จิตรกรรมพระอินทร์และพระอินทราณีทรงช้างเอราวัณ, ป. 1670 –  1680, จาก อาเมร์ รัฐราชสถาน จัดแสดง ณ พิพิธภัณฑ์ศิลปะลอสแองเจลีสเคาน์ตี้ สหรัฐ

พระอินทราณียังปรากฏในคติศาสนาอื่น ๆ ถึงแม้จะมิได้มีบทบาทมากนัก ในประเพณีศาสนาเชน นางนั้นเป็นดังภาพสะท้อนของพระอินทร์ และเป็นตัวแทนของคู่รักในอุดมคติ[13] ตามตำนานเมื่อครั้งประสูติ ตีรถังกร นางพร้อมด้วยสามีทรงช้างเอราวัณมาถวายพระพรและนบนมัสการพระองค์เพื่อศิริสวัสดิ์พิพัฒน์มงคล[14]

ในพระพุทธศาสนา พระไตรปิฎกภาษาบาลี พระอินทราณีได้รับการขนานนาม คือ สุชาดา (Sujā) ชายาของท้าวสักกะ[15][13] เป็นบุตรีของท้าวเวปจิตติ โดยก่อนหน้านี้นางได้เวียนว่ายตามวัฏสงสารด้วยกุศลของนางมาหลายภพชาติก่อนเป็นชายาของท้าวสักกะ อันนางได้มาบุตรีของราชาอสูรศัตรูของสามีของและคณะ ด้วยอุบายของท้าวสักกะได้นิรมิตตนเองอสูรชราเข้านางและได้เกี้ยวพาราสีนางจนเกิดจิตปฏิพัทธ์ หลังจากชนะการประลองยุทธ์กับบิดรของนางสำเร็จ จึงได้รับกายกย่องเป็นเอกชายาของพระองค์[16]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
เชิงอรรถ
  1. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554, หน้า 1415
  2. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554, หน้า 1136
  3. Chandra 1998.
  4. 4.0 4.1 Kinsley 1988, p. 17.
  5. Monier-Williams 1872, p. 141.
  6. 6.0 6.1 Monier-Williams 1872, p. 989.
  7. Dalal 2014, p. 164.
  8. Daniélou 1991, p. 109.
  9. Gandhi 1993, p. 158.
  10. 10.0 10.1 Dalal 2014, p. 165–166.
  11. Gandhi 1993, p. 89.
  12. 12.0 12.1 Dalal 2014.
  13. 13.0 13.1 Appleton 2016.
  14. Goswamy 2014, p. 245.
  15. Daniélou 1991, p. 487.
  16. "Suja, Sujā: 6 definitions". www.wisdomlib.org. 12 April 2009. สืบค้นเมื่อ 29 April 2021.
บรรณานุกรม

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]