ออปเพอร์จูนิที
ออปเพอร์จูนิที | |
---|---|
ภาพของ ออปเพอร์จูนิที บนพื้นผิวดาวอังคาร | |
ประเภทภารกิจ | ยานสำรวจดาวอังคาร |
ผู้ดำเนินการ | NASA |
COSPAR ID | 2003-032A |
SATCAT no. | 27849 |
เว็บไซต์ | JPL's Mars Exploration Rover |
ระยะภารกิจ | แผน: 90 วันบนดาวอังคาร (92.5 วันบนโลก) สุดท้าย: 5,352 โซลส์ (5498 วันบนโลก; รวมทั้งหมด 15 ปีบนโลก หรือ 8 ปีดาวอังคาร) |
ข้อมูลยานอวกาศ | |
ชนิดยานอวกาศ | โรเวอร์ |
มวลขณะส่งยาน | รวม: 1,063 กก. โรเวอร์: 185 กก. ที่เกาะ: 348 กก. เปลือกหลัง/ร่มชูชีพ: 209 กก. เกราะนำความร้อน: 78 กก. ที่นำยาน: 193 กก. เชื้อเพลิงยาน: 50 กก.[1] |
เริ่มต้นภารกิจ | |
วันที่ส่งขึ้น | July 7, 2003, 03:18 UTC[2][1] |
จรวดนำส่ง | Delta II 7925H-9.5[1][3][4] |
ฐานส่ง | Cape Canaveral SLC-17B |
ผู้ดำเนินงาน | โบอิง |
สิ้นสุดภารกิจ | |
ประกาศเมื่อ | 13 กุมภาพันธ์ ค.ศ.2019[5] |
ติดต่อครั้งสุดท้าย | 10 มิถุนายน ค.ศ.2018[5] |
ยานสำรวจ Mars | |
วันที่ลงจอด | January 25, 2004,[2] 05:05 UTC SCET MSD 46236 14:35 AMT |
ตำแหน่งลงจอด | 1°56′46″S 354°28′24″E / 1.9462°S 354.4734°E[6] |
ระยะทางที่ขับ | 45.16 km (28.06 mi)[7] |
ออปเพอร์จูนิที (Opportunity) หรือรู้จักกันในชื่อว่า MER-B (ยานสำรวจดาวอังคาร–บี) หรือ MER-1 เป็นโรเวอร์หุ่นยนต์ (rover - ยานลงจอดเคลื่อนที่ได้) สำรวจดาวอังคารที่ปฏิบัติหน้าที่ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 ถึง พ.ศ. 2561[2] ปล่อยตัวในวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2546 เป็นส่วนหนึ่งของภารกิจยานสำรวจดาวอังคารของนาซา ยานออปเพอร์จูนิทีลงจอดที่เมริเดียนีเพลนัมเมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2547 สามสัปดาห์หลังจากที่ยานคู่แฝดสปิริตแตะผิวอีกฟากของดาวเคราะห์[8] ยานสปิริตซึ่งวางแผนให้ทำงานได้ 90 วันดาวอังคาร (มากกว่า 90 วันโลกเล็กน้อย) ทำงานอยู่จนกระทั่งมันติดบนพื้นทรายในปี พ.ศ. 2552 และขาดการติดต่อไปในปีต่อมา ขณะที่ยานออปเพอร์จูนิทียังสามารถทำงานได้เป็นระยะเวลา 5352 วันดาวอังคารหลังจากลงจอด เกินระยะเวลาตามแผนไปถึง 14 ปี 294 วัน (ในเวลาโลก) คิดเป็น 55 เท่าของอายุขัยที่ออกแบบมา จนถึงวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2561 การติดต่อกับยานขาดหายไปอย่างถาวรระหว่างการเกิดพายุฝุ่น[9][10] ยานได้เคลื่อนที่มาแล้วเป็นระยะทาง 45.16 กิโลเมตร[7]
ส่วนสำคัญของภารกิจประกอบด้วยภารกิจ 90 วันแรก ตามหาอุกกาบาตต่างดาว เช่น ฮีตชีลด์ร็อก ศึกษาและสำรวจหลุมอุกกาบาตวิกทอเรีย ยานรอดจากพายุฝุ่นรุนแรงต่ำ และในปี พ.ศ. 2554 ยานเคลื่อนที่ถึงหลุมอุกกาบาตเอนเดเวอร์ ซึ่งถือเป็นจุดลงจอดที่สอง[11]
ระหว่างที่เกิดพายุฝุ่นบนดาวอังคารใน พ.ศ. 2561 ยานออปเพอร์จูนิทีขาดการติดต่อในวันที่ 10 มิถุนายน และเข้าสู่สถานะหลับลึกในวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2561 มีการคาดหวังว่า ยานจะตื่นกลับมาเมื่อบรรยากาศสดใสขึ้น[12] แต่ก็ไม่เกิดขึ้น คาดว่าอุปกรณ์ยานจะเสียหายอย่างหนักหรือมีฝุ่นไปปกคลุมแผงเซลล์แสงอาทิตย์ นาซาหวังที่จะติดต่อกับยานได้อีกครั้ง เมื่อมีลมพัดพาฝุ่นออกจากแผงแล้ว[13] ในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 นาซาประกาศอย่างเป็นทางการว่าภารกิจยานออปเพอร์จูนิทีนั้นเสร็จสมบูรณ์แล้ว หลังจากที่ยานไม่ตอบรับสัญญาณที่ส่งไปเรื่อย ๆ ตั้งแต่เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2561[14]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อLaunchDetails
- ↑ 2.0 2.1 2.2 Nelson, Jon. "Mars Exploration Rover – Opportunity". NASA. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 24, 2014. สืบค้นเมื่อ February 2, 2014. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ "NASA-Opportunity" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน - ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อnasa
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อJonathan's Space Report No. 504
- ↑ 5.0 5.1 Agle, D.C.; Brown, Dwayne; Wendel, JoAnna (February 13, 2019). "NASA's Opportunity Rover Mission on Mars Comes to End". NASA. สืบค้นเมื่อ February 14, 2019.
- ↑ Staff. "Mapping the Mars Rovers' Landing Sites". Esri. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 4, 2014. สืบค้นเมื่อ May 4, 2014.
- ↑ 7.0 7.1 "Mars Exploration Rover Mission: All Opportunity Updates". nasa.gov. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 30, 2015. สืบค้นเมื่อ September 18, 2018.
- ↑ ยานสปิริตลงจอดในวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2547
- ↑ Malik, T. (21 June 2018). "Mars Dust Storm 2018: How It Grew & What It Means for the Opportunity Rover". space.com. Future.plc. สืบค้นเมื่อ 2019-02-14.
- ↑ Rayl, A.J.S. (1 August 2018). "The Mars Exploration Rovers Update: Dust Storm Wanes, Opportunity Sleeps, Team Prepares Recovery Strategy". planetary.org. Planetary Society. สืบค้นเมื่อ 2019-02-14.
- ↑ "Opportunity on verge of new discovery". wustl.edu. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 24, 2011. สืบค้นเมื่อ September 17, 2011.
- ↑ Greicius, Tony (September 24, 2018). "Opportunity Emerges in a Dusty Picture". NASA (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 15, 2018. สืบค้นเมื่อ November 30, 2018.
- ↑ Greicius, Tony (August 30, 2018). "Update on Opportunity Rover Recovery Efforts". NASA (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 3, 2018. สืบค้นเมื่อ November 30, 2018.
- ↑ "NASA's Opportunity Rover Mission on Mars Comes to End". NASA. 13 February 2019. สืบค้นเมื่อ 13 February 2019.