อดุลย์ วันไชยธนวงศ์
อดุลย์ วันไชยธนวงศ์ | |
---|---|
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดแม่ฮ่องสอน เขต 1 | |
ดำรงตำแหน่ง 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 – 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 (3 ปี 138 วัน) ดำรงตำแหน่งร่วมกับ สมบัติ ยะสินธุ์ | |
คะแนนเสียง | 30,697 (29.75%) |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 7 กันยายน พ.ศ. 2498 จังหวัดเพชรบุรี ประเทศไทย |
อดุลย์ วันไชยธนวงศ์ (เกิด 7 กันยายน พ.ศ. 2498) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดแม่ฮ่องสอน และอดีตสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดแม่ฮ่องสอน
ประวัติ
[แก้]อดุลย์ เกิดเมื่อวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2498 เป็นบุตรของจิโรจน์ วันไชยธนวงศ์ และเป็นพี่ชายอนันต์ วันไชยธนวงศ์ อดีต สว.เชียงราย สำเร็จการศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น
นอกจากนั้น อดุลย์ ยังเป็นลูกพี่ลูกน้องกับ รังสรรค์ วันไชยธนวงศ์ สส.เชียงราย และเป็นหลานอาของสมบูรณ์ วันไชยธนวงศ์ อดีต สส.
การทำงาน
[แก้]นายอดุลย์ ประกอบอาชีพรับราชการ ในตำแหน่งวิศวกร
นายอดุลย์ ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดแม่ฮ่องสอน ในการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2543 ซึ่งเป็นการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาครั้งแรกในประเทศไทย ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 และได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา[1][2]
ในการทำหน้าที่สมาชิกวุฒิสภา นายอดุลย์เกิดกรณีขัดแย้งกันระหว่างสมาชิก เนื่องจากกรณีการชกหน้าสมาชิกรัฐสภา ในที่ประชุมวุฒิสภา เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547 ระหว่างประชุมวุฒิสภา พล.ต.อ.ประทิน สันติประภพ ได้ชกต่อยเข้าที่ใบหน้าของนายอดุลย์ เนื่องจากนายอดุลย์ลุกจากที่นั่งเดินเข้ามาในระยะประชิด เพราะมีความเห็นขัดแย้งกัน กรณีการเผยแพร่เอกสารสมุดปกเหลือง เรื่อง "ความจริงที่ตากใบ" อันเป็นรายงานเกี่ยวกับความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ ของทีมงานที่นำวุฒิสภากลุ่มหนึ่ง นำโดย เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง การชกหน้าทำร้ายร่างกาย ของสมาชิกวุฒิสภาด้วยกัน ในระหว่างที่มีการประชุมกัน ซึ่งได้รับการวิจารณ์อย่างกว้างขวางว่าเป็นเรื่องเสื่อมเสียอย่างยิ่งของวงการการเมืองไทย[3]
ต่อมานายอดุลย์ ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดแม่ฮ่องสอน ครั้งแรก ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 สังกัดพรรคพลังประชาชน คู่กับปัญญา จีนาคำ แต่นายอดุลย์ได้รับเลือกตั้งเพียงคนเดียว
ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 นายอดุลย์ ลงสมัครรับเลือกตั้งอีกครั้งในนามพรรคชาติไทยพัฒนา[4][5] แข่งขันกับอดีต ส.ส. รวมกันถึง 4 คน คือ สมบัติ ยะสินธุ์ (ประชาธิปัตย์) ปัญญา จีนาคำ (เพื่อไทย) สมบูรณ์ ไพรวัลย์ (ภูมิใจไทย) และนายอดุลย์ แต่ผลการเลือกตั้งปรากฎว่านายสมบัติ ได้รับเลือกตั้งเป็นส.ส.แม่ฮ่องสอน
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2554 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[6]
- พ.ศ. 2551 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[7]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา เขตเลือกตั้งจังหวัดแม่ฮ่องสอน (นายอดุลย์ วันไชยธนวงศ์)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-07-24. สืบค้นเมื่อ 2020-07-23.
- ↑ "วุฒิสภาไทย ชุดที่ 8" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-07-22. สืบค้นเมื่อ 2020-07-22.
- ↑ สภาเถื่อน!“ประทิน”ต่อย“อดุลย์”กลางที่ประชุม
- ↑ ชทพ. เปิดตัวมนสิทธิ์ คำสร้อย-อดุลย์
- ↑ 2 อดีต ส.ส.แม่ฮ่องสอน สวมเสื้อคนละพรรคลงสนามเลือกตั้ง 54 แล้ว
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๔, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๑๑, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2498
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- วิศวกรชาวไทย
- นักการเมืองจากจังหวัดเพชรบุรี
- สมาชิกวุฒิสภาจังหวัดแม่ฮ่องสอน
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดแม่ฮ่องสอน
- นักการเมืองพรรคพลังประชาชน (พ.ศ. 2541)
- พรรคชาติไทยพัฒนา
- บุคคลจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ช.