รังสรรค์ วันไชยธนวงศ์
รังสรรค์ วันไชยธนวงศ์ | |
---|---|
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงราย | |
ดำรงตำแหน่ง 24 มีนาคม พ.ศ. 2562 – 1 ธันวาคม พ.ศ. 2565 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2509 |
พรรคการเมือง | พลังประชาชน (2550–2551) เพื่อไทย (2551–2565) ภูมิใจไทย (2566–ปัจจุบัน) |
คู่สมรส | ดวงแข วันไชยธนวงศ์ |
รังสรรค์ วันไชยธนวงศ์ (เกิด 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2509) รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ฝ่ายการเมือง (ประจำนายอนุทิน ชาญวีรกูล) และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงราย
ประวัติ
[แก้]รังสรรค์ สำเร็จการศึกษาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สำนักวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
รังสรรค์ เป็นลูกพี่ลูกน้องกับ อดุลย์ วันไชยธนวงศ์
งานการเมือง
[แก้]อดีตเป็น ส.อบจ. เชียงราย (พ.ศ. 2540 - 2548) ลงรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกในปี พ.ศ. 2550 สังกัดพรรคพลังประชาชน และได้รับการเลือกตั้ง ต่อมา พ.ศ. 2554 ลงสมัครในนามพรรคเพื่อไทย[1][2] เอาชนะนายสุธีระพงษ์ วันไชยธนวงศ์ หลานชายของตนเอง[3]
ในปี พ.ศ. 2562 เขาได้รับเลือกตั้งอีกสมัยในสังกัดพรรคเพื่อไทย ต่อมาได้มีการย้ายมาที่พรรคภูมิใจไทย และได้ลงสมัครรับเรื่องตั้ง ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย เขตเลือกตั้งที่ 5 ในนามพรรคภูมิใจไทย แต่พ่ายแพ้ให้กับผู้สมัครหน้าใหม่ของพรรคเพื่อไทย
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
[แก้]รังสรรค์ วันไชยธนวงศ์ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 3 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 จังหวัดเชียงราย สังกัดพรรคพลังประชาชน
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 จังหวัดเชียงราย สังกัดพรรคเพื่อไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 จังหวัดเชียงราย สังกัดพรรคเพื่อไทย
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2566 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[4]
- พ.ศ. 2563 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[5]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ เพื่อไทยรั่วโดนเจาะไข่แดงเชียงใหม่
- ↑ ระบบงานเลือกตั้ง[ลิงก์เสีย]
- ↑ 2 พี่น้องตระกูล “วันไชยธนวงศ์” เปิดใจศึกสายเลือดเขต 4 เชียงราย<
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๖, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๔ ข หน้า ๓, ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๗, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔