สมบูรณ์ วันไชยธนวงศ์
สมบูรณ์ วันไชยธนวงศ์ | |
---|---|
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 15 มกราคม พ.ศ. 2482 จังหวัดเพชรบุรี ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | รวมไทย (2530–2531) เอกภาพ (2531–2534) สามัคคีธรรม (2534–2535) ชาติพัฒนา (2535–2538) ชาติไทย (2538–2539) ความหวังใหม่ (2539–2545) ไทยรักไทย (2545–2550) พลังประชาชน (2550–2551) เพื่อไทย (2551–2554, 2561–2565) ภูมิใจไทย (2554–2561, 2565—ปัจจุบัน) |
คู่สมรส | อำพล วันไชยธนวงศ์ |
บุตร |
|
สมบูรณ์ วันไชยธนวงศ์ (เกิด 15 มกราคม พ.ศ. 2482) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงราย
ประวัติ
[แก้]สมบูรณ์ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจากสาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เขามีบุตร-ธิดา 7 คน ประกอบไปด้วย
- นิมิต วันไชยธนวงศ์ อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี
- ปิยะพร วันไชยธนวงศ์ (เสียชีวิตแล้ว)
- อทิตาธร วันไชยธนวงศ์ อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย[1]
- อัครเดช วันไชยธนวงศ์ อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดแม่ฮ่องสอน
- ธิติยา บล็องการ์
- สุธีระพันธ์ วันไชยธนวงศ์
- สุธีระพงศ์ วันไชยธนวงศ์ อดีตประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย[2]
นอกจากนี้ นายสมบูรณ์ มีศักดิ์เป็นอาของ อดุลย์ วันไชยธนวงศ์ อดีต สส.แม่ฮ่องสอน และ รังสรรค์ วันไชยธนวงศ์ สส.เชียงราย[3]
การเมือง
[แก้]สมบูรณ์ ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงรายครั้งแรก ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2531 สังกัดพรรครวมไทย (ต่อมายุบรวมเป็นพรรคเอกภาพ และได้รับเลือกตั้งเป็นสมัยที่ 2 ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กันยายน พ.ศ. 2535 สังกัดพรรคชาติพัฒนา
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538 ได้รับเลือกตั้งในนามพรรคชาติไทย และการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 สังกัดพรรคความหวังใหม่ หลังจากนั้นได้มีการยุบพรรคคความหวังใหม่เข้ารวมกับพรรคไทยรักไทย ของ ทักษิณ ชินวัตร ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 และการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 นายสมบูรณ์จึงได้ลงสมัครและได้รับเลือกตั้งในนามพรรคไทยรักไทย
ต่อมาเมื่อมีการยุบพรรคไทยรักไทย เขาและสมาชิกส่วนใหญ่จึงย้ายไปร่วมงานกับพรรคพลังประชาชน และในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 ได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.แบบสัดส่วน แทนสมาชิกที่ลาออกไปเป็นรัฐมนตรี[4] เมื่อปี พ.ศ. 2551
ในปี พ.ศ. 2554 นายสมบูรณ์ได้เข้าร่วมงานกับพรรคภูมิใจไทย และลงสมัคร ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ[5] ลำดับที่ 17 แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง
สมบูรณ์ เคยได้รับแต่งตั้งให้เป็นข้าราชการการเมืองในหลายตำแหน่ง อาทิ ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในปี พ.ศ. 2538[6] ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (อนุสรณ์ วงศ์วรรณ) ในปี พ.ศ. 2539
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2544 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[7]
- พ.ศ. 2541 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[8]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ นางอทิตาธร วันไชยธนวงศ์ นายก อบจ.เชียงราย คนใหม่ ที่ทาง กกต.ได้รับรองผลการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 3
- ↑ กล้าท้าชน “ทักษิณ” บ้านใหญ่ “วันไชยธนวงศ์” ป่วน พท.เชียงราย
- ↑ เชียงรายเละ 'สะใภ้สมพงษ์' ปะทะ 'วันไชยธนวงศ์'
- ↑ ประกาศสภาผู้แทนราษฎร เรื่อง ให้ผู้มีชื่ออยู่ในลำดับถัดไปในบัญชีรายชื่อของพรรคการเมือง เลื่อนขึ้นมาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแทนตำแหน่งที่ว่าง
- ↑ 2 พี่น้องตระกูล “วันไชยธนวงศ์” เปิดใจศึกสายเลือดเขต 4 เชียงราย
- ↑ คำสั่งกระทรวงอุตสาหกรรม ที่ ๒๙๖/๒๕๓๘ เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (นายกันตธีร์ ศุภมงคล, นายเรวัต สิรินุกูล, นายสมบูรณ์ วันไชยธนวงศ์)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-10-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๘ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๑, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-11-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๕ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๖, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๑
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2482
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากจังหวัดเชียงราย
- นักการเมืองไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงราย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยแบบสัดส่วน
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยแบบบัญชีรายชื่อ
- พรรคสังคมชาตินิยม
- นักการเมืองพรรคเอกภาพ
- นักการเมืองพรรคสามัคคีธรรม
- นักการเมืองพรรคชาติพัฒนา (พ.ศ. 2535)
- นักการเมืองพรรคชาติไทย
- นักการเมืองพรรคความหวังใหม่
- นักการเมืองพรรคไทยรักไทย
- นักการเมืองพรรคภูมิใจไทย
- บุคคลจากสาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.