องค์กรเก็บขยะแผ่นดิน
![]() ตราสัญลักษณ์ | |
คําขวัญ | จงรักภักดี |
---|---|
ก่อตั้ง | พ.ศ. 2556 (อายุ 12 ปี) |
ผู้ก่อตั้ง | พลตรี เหรียญทอง แน่นหนา |
ประเภท | ขบวนการทางการเมือง |
สถานะตามกฎหมาย | ไม่มีสถานะทางกฎหมาย |
วัตถุประสงค์ | เร่งรัดคดีความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทย และเป็นศาลเตี้ย |
สมาชิก | 200,000 คน[1]: 226 |
เว็บไซต์ | องค์กรเก็บขยะแผ่นดิน ที่เฟซบุ๊ก |
องค์กรเก็บขยะแผ่นดิน เป็นกลุ่มศาลเตี้ยออนไลน์กษัตริย์นิยมสุดโต่งที่ได้การสนับสนุนจากรัฐไทย[2][3][4] ซึ่งมีลักษณะเป็นลัทธิฟาสซิสต์[4] ก่อตั้งขึ้นในช่วงปลายปี 2556 ระหว่างวิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557 โดยมีนายทหารเกษียณอายุราชการและนายแพทย์ พลตรี เหรียญทอง แน่นหนา เป็นหัวหน้า เป็นองค์การที่มีรูปแบบจัดกิจกรรมแบบฝูงชนและแบบกองทัพอาชีพ และเป็นกลุ่มศาลเตี้ย[1]: 225 มุ่งกำจัด "ขยะสังคม" และผู้กระทำผิดข้อหาความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทย คอยรายงานตำรวจ และมีการ "ล่าแม่มด" คือเปิดเผยที่อยู่และตามก่อกวน ณ ที่พักของผู้นั้น[5] นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเวียนนาจัดว่าองค์กรเก็บขยะแผ่นดินเป็นกลุ่มฟาสซิสต์[4]
ในการประชุมครั้งแรกมีอดีตนายทหารยศสูง 30 นายเข้าร่วมประชุมด้วย[1]: 226 เขาอ้างว่าตั้งกองทัพประชาชนเพื่อพิทักษ์สถาบันพระมหากษัตริย์ และอ้างว่าได้รับความคุ้มครองเป็นพิเศษจากกองทัพ แต่ผู้นำกองทัพรีบปฏิเสธ[1]: 226
สำหรับการเคลื่อนไหวออฟไลน์ มีฝูงชนกดดันให้ผู้ถูกกล่าวหาคนหนึ่งออกจากงาน มีการเปิดเผยที่อยู่ของฉัตรวดี อมรภัตรในกรุงลอนดอน และพบว่ามีคนไปพ่นสเปรย์ใส่ประตูบ้านและกล่องจดหมาย[1]: 227–8 บิดามารดาของเธอยังถูกบีบให้ฟ้องคดีความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ต่อฉัตรวดีด้วย[1]: 228
กิจกรรมออนไลน์มีการแสดงออกซึ่งความโกรธ ตามด้วยการใช้คำพูดที่สร้างความเกลียดชัง (hate speech) และจดบันทึกการกระทำของตน มีการเรียกร้องและจดการเรียกระดมสมาชิกให้แสดงออกซึ่งความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ มีการโฆษณากิจกรรมมวลชนที่รัฐเป็นผู้จัด ตัวอย่างเช่น "ไบก์ฟอร์มัม" และ "ไบก์ฟอร์แด็ด"[1]: 229 อีกกรณีหนึ่งกลุ่มได้กดดันสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ สาขาประเทศไทย จากการช่วยให้ตั้ง อาชีวะลี้ภัยในประเทศนิวซีแลนด์ มีการคุกคามว่าจะไปทำลายบูธรับบริจาคและตบหน้าเจ้าหน้าที่ สุดท้ายเพจของสำนักงานฯ ต้องปิดไปชั่วคราว[1]: 228 นอกจากนี้มีการโพสต์ภาพเปลือยหรือภาพที่คุกคามต่อผู้เสียหาย ยุทธวิธีการคุกคามอย่างอื่น เช่น โพสต์ภาพในเหตุการณ์ 6 ตุลา[3]
ในการประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563 กลุ่มได้รณรงค์ต่อต้านผู้ประท้วงหลังข้อเรียกร้องปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์[6][7]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 1.7 Schaffar, W. (2016). New social media and politics in Thailand: The emergence of fascist vigilante groups on Facebook. ASEAS – Austrian Journal of South-East Asian Studies, 9(2).
- ↑ Sombatpoonsiri, Janjira; Carnegie Endowment for International Peace (2018). "Conservative Civil Society in Thailand". ใน Youngs, Richard (บ.ก.). The mobilization of conservative civil society (PDF) (ภาษาอังกฤษ). Washington, D.C.: Carnegie Endowment for International Peace. pp. 27–32. OCLC 1059452133.
- ↑ 3.0 3.1 Our Correspondent (2014-12-25). "Thailand Blocks Overseas Opposition Voice". Asia Sentinel. สืบค้นเมื่อ 2020-08-29. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ ":1" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน - ↑ 4.0 4.1 4.2 Schaffar, Wolfram (2016). "New Social Media and Politics in Thailand: The Emergence of Fascist Vigilante Groups on Facebook". Austrian Journal of South-East Asian Studies (ภาษาอังกฤษ). 9 (2): 215–234. doi:10.14764/10.ASEAS-2016.2-3. ISSN 1999-2521. OCLC 7179244833. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ ":2" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน - ↑ Janjira Sombatpoonsiri. Conservative Civil Society in Thailand
- ↑ English, Khaosod (28 July 2020). "Royalist Campaign Tells Companies Not to Hire Protesters". Khaosod English (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 28 August 2020.
- ↑ "Thai royalist seeks to shame, sack young protesters - UCA News". ucanews.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 28 August 2020.