ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล
ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล | |
---|---|
ปนัสยา ขณะกำลังอ่านแถลงการที่แยกราชประสงค์เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 | |
เกิด | 15 กันยายน พ.ศ. 2541 อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี ประเทศไทย |
ชื่ออื่น | รุ้ง |
ศิษย์เก่า | มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ |
อาชีพ |
|
ปีปฏิบัติงาน | พ.ศ. 2563–ปัจจุบัน |
มีชื่อเสียงจาก | แกนนำการประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563–2564 |
ขบวนการ | แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม |
รางวัล | 100 ผู้หญิงผู้สร้างแรงบันดาลใจและทรงอิทธิพลของโลก ประจำปี 2020 |
ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล (เกิด 15 กันยายน พ.ศ. 2541) ชื่อเล่น รุ้ง เป็นผู้ต้องหาตามหมายจับนักเคลื่อนไหวทางการเมืองและนักสิทธิมนุษยชนชาวไทย โฆษกของสหภาพนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนท.) หนึ่งในแกนนำแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม เธอเป็นที่รู้จักจากการเป็นผู้อ่านข้อเรียกร้องข้อเสนอปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ 10 ข้อ ในระหว่างการประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563–2564 และสื่อถือว่าเธอเป็นแกนนำคนสำคัญในการประท้วง[1]
ประวัติ
[แก้]ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล เกิดเมื่อวันที่15 กันยายน พ.ศ. 2541 ที่อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี เป็นบุตรคนสุดท้องของครอบครัวชนชั้นกลางที่ประกอบอาชีพค้าขาย[2] มีพี่น้องร่วมบิดามารดา 2 คน ตอนเด็กเธอเป็นคนขี้อายและเก็บตัวเงียบ จนกระทั่งเธอได้เป็นนักเรียนแลกเปลี่ยนที่สหรัฐ ทำให้เธอกล้าแสดงออกมากขึ้นและปรับตัวเข้ากับสังคมได้มากขึ้น[3]
ปนัสยาสนใจการเมืองมาตั้งแต่ยังเยาว์วัยโดยได้รับการสนับสนุนจากพ่อของเธอ เธอเริ่มค้นคว้าและศึกษาเกี่ยวกับการรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 และเธอเริ่มสนใจการเมืองมากกว่าเดิมเมื่อตอนติวสอบเข้ามหาวิทยาลัย[4] เธอมักจะสนทนากับเพื่อนเกี่ยวกับเรื่องการเมืองสมัยที่เธอกำลังศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จบการศึกษาจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นนทบุรี ปัจจุบันเธอกำลังศึกษาอยู่ที่คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
การเคลื่อนไหวทางการเมือง
[แก้]ปนัสยาเริ่มสนใจทางการเมืองแบบเต็ม ขณะที่กำลังศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ชั้นปีที่ 3[5]
ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2563 เธอถูกเจ้าหน้าที่รัฐจับกุมเนื่องจากฝ่าฝืนพระราชกำหนดในมาตรการสถานการณ์ฉุกเฉิน ในการระบาดทั่วของไวรัสโคโรนาในประเทศไทย พ.ศ. 2563 จากการที่เธอเข้าร่วมกิจกรรมการชุมนุมของสหภาพนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย จากกรณีการบังคับให้สูญหายซึ่งวันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์[4]
ในวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2563 ปนัสยาได้ขึ้นปราศรัยจากการชุมนุม "ธรรมศาสตร์จะไม่ทน" และได้ปราศรัยเกี่ยวกับ 10 ข้อเรียกร้องการปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์[6][7] เป็นสาเหตุที่ทำให้เธอถูกทางการจับกุมในภายหลัง[8] ด้วยการปราศรัยที่กล้าหาญและตรงไปตรงมาของเธอทำให้เธอถูกนำไปเปรียบว่าเหมือนอักเนส โจว นักเคลื่อนไหวชาวฮ่องกง[9] ทั้งนี้เธอได้รับการระบุว่าเป็นหนึ่งในแกนนำของการประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563[10][11]
ในวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2563 ปนัสยาได้รับหมายเรียกจากตำรวจ เนื่องจาก นิติพงษ์ ห่อนาค นักดนตรี แจ้งความฟ้องร้องไว้ก่อนหน้านี้ใน ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทย
ในวันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2564 ปนัสยาถูกจับกุมตามหมายจับของกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ในข้อหาตามมาตรา 116 ของประมวลกฎหมายอาญา และ พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์[12]
ในวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2564 รุ้ง ปนัสยา ได้ทำการกรีดข้อมมือตนเองเป็นเลข 112 เพื่อเป็นการประท้วงเชิงสัญลักษณ์เกี่ยวกับข้อเรียกร้อง "ยกเลิก ม.112" บริเวณหน้าศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์[13]
ในวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 ปนัสยาได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว หลังศาลอาญาอนุญาตให้ประกันตัว โดยมีค่าประกันตัว 2 แสนบาท ในคดีชุมนุมการเมืองที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และปักหมุดคณะราษฎร ที่ท้องสนามหลวง เมื่อวันที่ 19–20 กันยายน พ.ศ. 2563 โดยมีเงื่อนไขห้ามทำกิจกรรมอันเป็นที่เสื่อมเสียแก่สถาบันพระมหากษัตริย์ ห้ามเดินทางออกนอกประเทศ และมาตามนัดศาลอย่างเคร่งครัด[14]
ในวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2564 ศาลอาญากรุงเทพใต้และศาลจังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว จนถึง 12 มกราคม พ.ศ. 2565 มีเงื่อนไขให้กำไลอีเอ็มตลอด 24 ชั่วโมง ห้ามออกจากบ้าน สามารถเดินทางไปมหาวิทยาลัย โรงพยาบาล และศาลเท่านั้น [15]
ในวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2565 ศาลอาญาอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว จนถึงวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2565 โดยมีประกันในวงเงิน 600,000 บาท เนื่องจากเธอได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขตามที่ศาลกำหนดทุกประการ อย่างไรก็ตาม ศาลให้เธอต้องมารายงานตัวทุก 30 วัน ในระหว่างการปล่อยชั่วคราว[16]
รางวัลและเกียรติยศ
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Mit Harry Potter gegen Militär und König". jungle.world (ภาษาเยอรมัน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-07. สืบค้นเมื่อ 17 September 2020.
- ↑ AFP (29 August 2020). "Student leader defies Thailand's royal taboo | New Straits Times". NST Online (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 17 September 2020.
- ↑ "The student daring to challenge Thailand's monarchy". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 17 September 2020. สืบค้นเมื่อ 17 September 2020.
- ↑ 4.0 4.1 "Three activists who break Thailand's deepest taboo". The Jakarta Post (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 17 September 2020.
- ↑ "Thai protest icon is 'prepared' to cross kingdom's forbidden line". Nikkei Asian Review (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 17 September 2020.
- ↑ ศาล รธน. รับวินิจฉัย ชุมนุมปราศรัย 10 ส.ค. ล้มล้างการปกครองหรือไม่ เก็บถาวร 2020-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ "In Thailand, A 21-Year-Old Student Dares To Tackle A Taboo Subject". NPR.org (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-26. สืบค้นเมื่อ 17 September 2020.
- ↑ “รุ้ง ปนัสยา” แกนนำม็อบ มธ.โพสต์แล้ว “ปลอดภัยดี” บอกมาเรียนตามปกติ แต่เขาคงไม่ปล่อยเราไว้นานแน่ เก็บถาวร 2020-10-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ "The students risking it all to challenge the monarchy". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 14 August 2020. สืบค้นเมื่อ 17 September 2020.
- ↑ "รุ้ง" ไม่ขึ้นเวทีปลดแอก แกนนำย้ำ 3 ข้อเสนอเดิม เก็บถาวร 2020-10-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ ชุมนุม 19 กันยา : “รุ้ง” ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล แกนนำนักศึกษาผู้ยืนกรานปฏิรูปสถาบันฯ เก็บถาวร 2020-09-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ ตำรวจ ปอท. แสดงหมายจับเข้าจับกุม "รุ้ง ปนัสยา". (2564). BBC. สืบค้นเมื่อ 9 มีนาคม 2565
- ↑ "รุ้ง" กรีดแขนสลักเลข 112 ราชประสงค์-ม็อบคึก นัดวันนี้ยื่นชื่อแก้กฎหมาย สืบค้นเมื่อ 29-11-2021
- ↑ ราษฎร: ปล่อยตัวชั่วคราว รุ้ง-ปนัสยา ราชทัณฑ์ย้ายเพนกวินเข้า รพ.เรือนจำ ยืนยันอานนท์ติดโควิด. (2564). BBC. สืบค้นเมื่อ 9 มีนาคม 2565
- ↑ ปล่อยรุ้ง ปนัสยา แล้ว ครอบครัวพานั่งเบนซ์กลับบ้าน ยิ้มแย้ม ทักทายนักข่าว. (2564). ไทยรัฐ. สืบค้นเมื่อ 9 มีนาคม 2565
- ↑ ศาลให้ปล่อยตัวชั่วคราว "รุ้ง ปนัสยา" ชี้ ประกันล่าสุด ปฏิบัติตัวตามเงื่อนไข. (2565). คนชัดลึก. สืบค้นเมื่อ 9 มีนาคม 256
- ↑ "BBC 100 Women 2020: Who is on the list this year?". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2020-11-23. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 November 2020. สืบค้นเมื่อ 2020-11-23.