ข้ามไปเนื้อหา

ภัสราวลี ธนกิจวิบูลย์ผล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภัสราวลี ธนกิจวิบูลย์ผล
ภัสราวลีใน พ.ศ. 2566
เกิดพ.ศ. 2539 (อายุ 28 ปี)
อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี ประเทศไทย
ชื่ออื่นมายด์
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร
อาชีพ
  • นักศึกษา
  • นักเคลื่อนไหว
  • สื่อมวลชน
ปีปฏิบัติงานพ.ศ. 2558–ปัจจุบัน
มีชื่อเสียงจากหนึ่งในแกนนำยื่นจดหมายต่อเอกอัครราชทูตเยอรมนีฯ ในช่วงการประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563–2564
ขบวนการคณะประชาชนปลดแอก
ถูกกล่าวหาความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทย, ปลุกปั่นให้ขัดขืนอำนาจปกครอง, ฝ่าฝืนข้อกำหนดตาม พ.ร.ก. ฉุกเฉินฯ

ภัสราวลี ธนกิจวิบูลย์ผล (เกิด พ.ศ. 2539) ชื่อเล่น มายด์ เป็นนักศึกษาและนักเคลื่อนไหวทางการเมืองชาวไทย หนึ่งในผู้นำของกลุ่มคณะประชาชนปลดแอก แล้วเริ่มต้นการเคลื่อนไหวปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ไทย ที่ทลายเพดานการเคลื่อนไหวแบบเดิมอย่างสิ้นเชิง จากการประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563–2564

ชีวิตช่วงแรก

[แก้]

ภัสราวลี ธนกิจวิบูลย์ผล เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2539 ที่อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี บิดาเป็นผู้รับเหมาก่อสร้าง ส่วนมารดาประกอบอาชีพค้าขาย เธอศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 4 คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร[1][2]

ภัสราวลีเริ่มสนใจการเมืองเมื่อ 1 ปี ให้หลังจากการรัฐประหารของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เมื่อปี พ.ศ. 2557[3][4]

ภัสราวลีเล่าว่า ตนเองเป็นหญิงสาวที่รักสวยรักงาม และใช้วิธีนอนพักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อสร้างพลังงานให้พร้อมลุยในแต่ละวัน และมีกำลังไปร่วมชุมนุมทางการเมือง[5] ร่วมเคลื่อนไหวชุมนุมทางการเมือง พร้อมคดีที่ติดตัว แต่อุดมการณ์ และแนวทางยังหนักแน่นแจ่มชัด[6]

การเคลื่อนไหวทางการเมือง

[แก้]

หลังจาก พ.ศ. 2558 เธอมีบทบามร่วมกับเครือข่ายหลายกลุ่มของนักศึกษาที่เรียกร้องประชาธิปไตย ทั้งกิจกรรมชุมนุม รวมไปถึงกิจกรรมเสวนาต่าง ๆ[7][8]

วันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2563 เธอถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจนอกเครื่องแบบจับกุมตัว ภายในร้านอาหารแห่งหนึ่ง[9] ในความผิดตามมาตรา 9 แห่ง พ.ร.ก.ฉุกเฉิน จากการชุมนุมที่ราชประสงค์เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม มีคดีแรกในชีวิต[10] เนื่องจากการเคลื่อนไหวทางการเมืองคือคดี ‘ฝ่าฝืน พ.ร.ก. ฉุกเฉิน’ และได้รับการปล่อยตัวออกมาแล้ว[11][12]

ภัสราวลีเป็นหนึ่งในแกนนำที่นำมวลชนซึ่งขณะนั้นใช้ชื่อกลุ่มว่า "คณะราษฎร 2563" เดินจากบริเวณแยกสามย่านไปที่สถานเอกอัครราชทูตสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีประจำประเทศไทย ถนนสาทร เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2563[13] 5 พฤศจิกายน เดินทางมาที่ สถานีตำรวจนครบาล (สน.) ทุ่งมหาเมฆ ตามหมายเรียกความผิดประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116[14][15] 27 พฤศจิกายน เธอได้ฟ้องคดี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ข้อหาละเลยปฏิบัติงานต่อหน้าที่นายกรัฐมนตรี[16] ต่อมา 30 พฤศจิกายน ได้รับหมายเรียกจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในฐานความผิดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ฯ โดยให้มารับทราบข้อกล่าวหาที่ สน.บางโพ[17]

วันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2564 ภัสราวลีกล่าวว่า ในฐานะเราประชาชนผู้เป็นเจ้าของประเทศ การพูดถึงสถาบันกษัตริย์นั้น เราควรจะต้องพูดถึงได้ทั้งในแง่ของการสรรเสริญและในแง่ของการวิพากษ์วิจารณ์ นี่คือสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนไทยตามระบอบประชาธิปไตยที่มีสถาบันพระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ[18][19][20] ต่อมาเดินทางมารายงานตัวตามที่อัยการนัดฟังคำสั่งคดีชุมนุมหน้าสถานทูตเยอรมนี ซึ่งถูกแจ้งข้อหาในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และยุยงปลุกปั่นฯ มาตรา 116 รวมถึงข้อหาอื่น ๆ[21][22]

วันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 นัดฟังคำสั่งในคดีที่พนักงานสอบสวน สถานีตำรวจนครบาลทุ่งมหาเมฆ นำสำนวนพร้อมความเห็นสมควรสั่งฟ้อง[23] หลังถูกดำเนินคดี พ.ร.ก.ฉุกเฉิน พ.ร.บ.โรคติดต่อ และ พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ จากกรณีปราศรัยคาร์ม็อบ1สิงหา จ.สระบุรี ก่อนที่ต่อมา ศาลจะอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว[24] ต่อมาเธอเดินทางเข้ารับทราบข้อหาฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ในคดีชุมนุม #ม็อบแฮร์รี่พอตเตอร์2 เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2564 และ ที่สถานีตำรวจนครบาลนางเลิ้ง “ฟิวส์” เยาวชนอายุ 16 ปี ก็ได้เดินทางเข้ารับทราบ 6 ข้อหา จากการร่วมชุมนุม #ม็อบ16สิงหา ทะลุฟ้าไล่ล่าทรราช[25]

วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2564 ที่ศาลอาญากรุงเทพใต้ ถนนเจริญกรุง ซอย 63 พนักงานอัยการสำนักงานคดีอาญากรุงเทพใต้ 3 ได้เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง[26]

วันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2564 ศาลแขวงดุสิตพิพากษายกฟ้องภัสราวลีตามข้อหาฝ่าฝืนข้อกำหนดตาม พ.ร.ก. การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน จากการชุมนุม #21ตุลาไปอนุสาวรีย์ชัย ที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2563 ชี้ชุมนุมโดยสงบตามรัฐธรรมนูญ[27][28] ต่อมาศาลจึงยกฟ้อง[29] ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า ข้อกำหนดตามความในมาตรา 9 ประกอบมาตรา 11 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548[30]

แนวคิดทางสังคม

[แก้]

วันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2565 ภัสราวลีเป็นบุคคลหนึ่งที่เข้ายื่นหนังสือต่ออัยการสูงสุด เพื่อขอให้ยุติไม่อุทธรณ์คดีที่ศาลยกฟ้อง พ.ร.ก. ฉุกเฉินกับประชาชน[31] ย้ำถึงการใช้สิทธิเสรีภาพในการชุมนุมของประชาชน ตามรัฐธรรมนูญที่คุ้มครองไว้และการมายื่นหนังสือต่ออัยการครั้งนี้ ก็เพื่อที่จะให้ความเป็นธรรมยังคงอยู่กับประชาชนต่อไป[32]

วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2565 ร่วมกิจกรรม “CarMob สระบุรีไล่ประยุทธ์” โดนข้อหาส่งเสียงดังด้วย[[เครื่องขยายเสียง][ แต่ศาลสั่งยกฟ้องคดีไป[33] เธอกล่าวว่า แม้ตอนนี้ไม่ได้มีบทบาทนำ แต่เราก็ไม่สามารถเมินเฉยต่อสิ่งที่น่ากระอักกระอ่วนในสังคมได้[34]

วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2565 ภัสราวลีขึ้นปราศรัยบนเวที โดยระบุว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ไม่มีความชอบธรรมในการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี[35][36]

ปัจจุบันภัสราวลีได้เข้าทำงานเป็นสื่อมวลชน และมีรายการเป็นของตนเอง

ผลงานสื่อมวลชน

[แก้]
  • มองมุมมายด์ ช่อง Friend Talk (ช่องข่าวออนไลน์)
  • ถึกกับมายด์ ช่อง Friend Talk (จัดร่วมกับ"ใบตองแห้ง"หรือ อธึกกิต แสวงสุข)

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ประวัติ "มายด์ ภัสราวลี" คนรุ่นใหม่ที่กล้าลุกขึ้นยืนเพื่อประชาธิปไตย sanook สืบค้นเมื่อ 29 ตุลาคม 2563
  2. มายด์ ภัสราวลี: ทางเลือก ความฝัน ความกังวลเมื่ออิสรภาพกำลังนับถอยหลัง ประชาไท สืบค้นเมื่อ 26-03-2021
  3. เปิดประวัติ 'มายด์ ภัสราวลี' จากเด็กวิศวะสู่แกนนำม็อบ กรุงเทพธุรกิจ สืบค้นเมื่อ 22 ตุลาคม 2563
  4. มายด์ ภัสราวลี : ถ้ารัฐบาลถามว่าเมื่อไหร่จะหยุด ประยุทธ์ลาออกสิ แล้วมาคุยกัน ประชาชาติธุรกิจ สืบค้นเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2563
  5. ชีวิต “ส่วนตัว” ชีวิต “การเมือง” ของสาววิศวะชื่อ มายด์ ภัสราวลี มติชนสุดสัปดาห์ สืบค้นเมื่อ 25 มีนาคม 2564
  6. เอกซ์-อ๊อกtalk : “มายด์ ภัสราวลี”การต่อสู้เป็นส่วนหนึ่งของชีวิต ส่องความคิด2ปีหลังชุมนุม มติชนออนไลน์ สืบค้นเมื่อ 16 พฤษภาคม 2565
  7. เปิดประวัติ "มายด์ ภัสราวลี" จากเด็กวิศวะสู่แกนนำม็อบ Nationtv สืบค้นเมื่อ 12 ธันวาคม 2564
  8. มายด์ ภัสราวลี กับเส้นทางสู่แกนนำม็อบ และการถูกจับครั้งแรก! Thebangkokinsight สืบค้นเมื่อ 27 ตุลาคม 2563
  9. “มายด์ ภัสราวลี” แกนนำม็อบ โดนรวบกลางดึกส่ง ตชด.ภ.1 ผู้จัดการออนไลน์ สืบค้นเมื่อ 22 ตุลาคม 2563
  10. บุกรวบ "มายด์-ภัสราวลี ธนกิจวิบูลย์ผล" แกนนำคนสำคัญกลางดึก AmarinTV สืบค้นเมื่อ 22 ตุลาคม 2563
  11. "มายด์ ภัสราวลี" ได้รับการประกันตัว หลังถูกจับข้อหาฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน BBC Thai สืบค้นเมื่อ 22 ตุลาคม 2563
  12. ปฏิรูปไม่ใช่การล้มล้าง: โปรดฟังอีกครั้งกับ มายด์ ภัสราวลี หนึ่งในคณะราษฎร THE STANDARD TEAM สืบค้นเมื่อ 03.11.2020
  13. มายด์ ภัสราวลี: เปิดบทสนทนากับครอบครัวของแกนนำ "ราษฎร" ก่อนอัยการนัดส่งฟ้องข้อหา ม.112 บีบีซีไทย สืบค้นเมื่อ 24 มีนาคม 2563
  14. มายด์ ภัสราวลี รายงานตัวคดี ม.116 ชุมนุมหน้าสถานทูตเยอรมนี ยันไม่ร่วมกรรมการสมานฉันท์ของรัฐบาล Thestandard สืบค้นเมื่อ 05.11.2020
  15. 'มายด์ ภัสราวลี' รายงานตัวคดียุยงปลุกปั่นหน้าสถานทูตเยอรมนี อ้างใช้เสรีภาพตาม รธน. ไทยโพสต์ สืบค้นเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2563
  16. เอาแล้วไง มายด์ โจทก์ พลเอก ประยุทธ์ จำเลย คนธรรมดาก็ฟ้องนายกฯ ได้ ข่าวสดออนไลน์ สืบค้นเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2563
  17. “มายด์ ภัสราวลี” เจอหมายเรียกผู้ต้องหา กระทำผิด ม.112 ประชาชาติธุรกิจ สืบค้นเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2563
  18. ชุมนุม 24 มี.ค.: มายด์ ภัสราวลี ขึ้นเวทีปราศรัยราชประสงค์ กราบบังคมทูลขอ 3 เรื่อง บีบีซีไทย สืบค้นเมื่อ 24 มีนาคม 2564
  19. แจ้งจับ "มายด์ ภัสราวลี" โดนคดี 112 ปราศรัยจาบจ้วงสถาบัน ไทยรัฐ สืบค้นเมื่อ 29 มีนาคม 2564
  20. ชมคลิป: มายด์ ภัสราวลี: ประเทศนี้เป็นของประชาชน และจงเชื่อมั่นในอำนาจของตัวเอง Thestandard สืบค้นเมื่อ 25 มีนาคม 2021
  21. มายด์ ภัสราวลี รายงานตัวอัยการคดีชุมนุมอ่านแถลงการณ์หน้าสถานทูตเยอรมนี เผยกำลังใจดี สู้ไม่ถอย THE STANDARD TEAM สืบค้นเมื่อ 25.03.2021
  22. กุนซือสมองเพชร ชำแหละใครเขียนบทให้น้องมายด์ จนถูกแจ้งจับ ม.112 ปราศรัย 24 มีนา ไทยโพสต์ สืบค้น 26 มีนาคม 2564
  23. อัยการสั่งฟ้อง 'มายด์ ภัสราวลี' พร้อมพวกรวม 12 คน คดี 112,116 ชุมนุมหน้าสถานทูตเยอรมนี ไทยโพสต์ สืบค้นเมื่อ 22 กรกฎาคม 2564
  24. ศาลให้ประกันสองนักกิจกรรม ‘มายด์’ ภัสราวลี และธนพร ปมปราศรัยคาร์ม็อบ1สิงหา จ.สระบุรี ประชาไท สืบค้นเมื่อ 23-09-2021
  25. เยาวชนนักกิจกรรมหลายกลุ่มทยอยรับทราบข้อกล่าวหาฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ จากการร่วมม็อบ ประชาไท สืบค้นเมื่อ 07-09-2021
  26. อัยการยื่นฟ้องมาตรา 112 'มายด์ ภัสราวลี' ปราศรัยหมิ่นสถาบันฯ ไทยโพสต์ สืบค้นเมื่อ 30 กันยายน 2564
  27. ยกฟ้อง 'มายด์ ภัสราวลี' ฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ร้ายแรง ศาลชี้ชุมนุมโดยสงบตาม รธน. ประชาไท สืบค้นเมื่อ 13-12-2021
  28. "มายด์ ภัสราวลี" เฮ! ศาลยกฟ้องคดีฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ #ม็อบ21ตุลา sanook สืบค้นเมื่อ 13 ธันวาคม 2564
  29. ศาลยกฟ้องคดีชุมนุมเรียกร้องประยุทธ์ลาออก ยกเหตุใช้เสรีภาพตาม รธน. ไม่กระทบความมั่นคง ประชาไท สืบค้นเมื่อ 02-03-2022
  30. ศาลแขวงดุสิตยกฟ้อง “มายด์ ภัสราวลี” ไม่ผิด พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ กรณีร่วมม็อบ 21 ตุลา ยื่นหนังสือให้ “ลุงตู่” ลาออก ผู้จัดการออนไลน์ สืบค้นเมื่อ 13 ธันวาคม 2564
  31. มายด์ ภัสราวลี – โตโต้ ยื่นหนังสืออัยการสูงสุด เรียกร้องไม่อุทธรณ์คดีที่ศาลแขวงดุสิตยกฟ้อง คืนความเป็นธรรมให้ประชาชน THE STANDARD TEAM สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2022
  32. 'มายด์' ขออัยการหยุดฟ้องคดี พ.ร.ก.ฉุกเฉินกับประชาชน Voicetv สืบค้นเมื่อ 10-01-2022
  33. ศาลยกฟ้องคดี พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ‘ไหม ธนพร-มายด์ ภัสราวลี’ คาร์ม็อบสระบุรีไล่ประยุทธ์ ประชาไท สืบค้นเมื่อ 09-08-2022
  34. แกนนำนักศึกษาร่วมจับตา 24 ส.ค. ปม 8 ปี ‘ประยุทธ์’ เผยม็อบไม่ได้ล่ม-อย่าหมดหวังในพลังของตัวเอง THE STANDARD TEAM สืบค้นเมื่อ 18.08.2022
  35. “มายด์”ประกาศจะออกมาชุมนุม จนกว่า “ประยุทธ์”จะออกจากตำแหน่ง เดลินิวส์ สืบค้นเมื่อ 1 ตุลาคม 2565
  36. 'มายด์-ภัสราวลี' ปลุกราษฎรสู้ชนชั้นนำ ย้ำข้อเรียกร้องแก้ รธน. - ปฏิรูปสถาบันฯ Voicetv สืบค้นเมื่อ 1 ตุลาคม 2022

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]