ห่มดอง
ส่วนหนึ่งของชุดบทความ |
ศาสนาพุทธ |
---|
ห่มดอง คือการห่มผ้าของพระสงฆ์แบบหนึ่งโดยห่มเฉวียงบ่าคือเปิดบ่าขวา ปิดบ่าซ้าย พาดสังฆาฏิ แล้วคาดอกด้วยผ้ารัดอก การห่มดองถือว่าเป็นการนุ่งห่มของพระธรรมยุตินิกาย แต่ปัจจุบันเป็นการห่มครองที่นิยมในกลุ่มพระฝ่ายมหานิกายมากกว่า ฝ่ายธรรมยุติไม่ใคร่นิยมแล้ว นิยมห่มในภาคเหนือของประเทศ (อาจจะเพราะครูบาศรีวิชัยซึ่งเป็นที่ศรัทธาของชาวล้านนาห่มดอง) และวัดที่เป็นสำนักเรียนส่วนใหญ่จะกำหนดให้พระและสามเณรนุ่มห่มเพื่อให้ไปในแนวทางเดียวกัน อาจเพราะเนื่องจากมีสามเณรเป็นจำนวนมาก ซึ่งการห่มดองไม่หลุดง่าย บางท้องที่ถือว่าเป็นการห่มของของสามเณร ไม่ใช่การห่มของพระก็มี ปัจจุบันมหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้งสองแห่งจะกำหนดให้พระนิสิตนุ่มห่มเมื่อมามหาวิทยาลัย แม้แต่กลุ่มวัดพระธรรมกาย ก็ยึดถือเป็นการห่มที่กลุ่มสาขาต้องห่มเหมือนกัน และยังส่งเสริมให้พระสงฆ์ในประเทศห่มอีกด้วย รูปปั้นพระสีวลีปางเดินธุดงค์ส่วนมากจะนุ่มห่มดองเช่นกัน และมีพระธุดงค์บางกลุ่มนิยมห่ม เมื่อออกเดินธุดงค์โดยจะถือเป็นสัญลักษณ์หรือธรรมเนียมของกลุ่ม เช่น วัดศีรีล้อม ถ้ำนิรภัย (สำนักท่องปาฏิโมกข์ อำเภอตากฟ้า นครสวรรค์)
อ้างอิง
[แก้]- พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช) ป.ธ. ๙ ราชบัณฑิต พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุด คำวัด, วัดราชโอรสาราม กรุงเทพฯ พ.ศ. 2548