หางล่าง
ในศิลปะการใช้ตัวพิมพ์และการเขียนด้วยลายมือ หางล่าง (อังกฤษ: descender) คือส่วนของตัวอักษรที่อยู่ต่ำกว่าเส้นฐานของไทป์เฟซ
ตัวอย่างเช่น ในตัวอักษร y หางล่างคือ "หาง" หรือส่วนของเส้นทแยงซึ่งอยู่ใต้ v ที่เกิดจากเส้นสองเส้นมาบรรจบกัน ส่วนในตัวอักษร p หางล่างคือก้านที่ทอดยาวผ่าน ɒ
ในฟอนต์อักษรละตินโดยส่วนใหญ่ เฉพาะตัวพิมพ์เล็ก เช่น g, j, q, p, y และบางครั้ง f จึงจะมีหางล่าง อย่างไรก็ตาม ฟอนต์บางตัวมีตัวเลขบางตัวที่มีหางล่างด้วย (โดยทั่วไปคือ 3, 4, 5, 7 และ 9) ตัวเลขดังกล่าวเรียกว่าตัวเลขแบบเก่า (ฟอนต์ตัวเอียงแท้บางตัว เช่น Computer Modern italic จะมีเลข 4 ที่มีหางล่าง แต่ไม่มีส่วนดังกล่าวในตัวเลขอื่น ๆ ฟอนต์ดังกล่าวไม่ถือเป็นแบบเก่า) ฟอนต์บางตัวยังมีตัวพิมพ์ใหญ่บางตัว เช่น J และ Q ที่มีหางล่างด้วย[1]
ส่วนของอักขระที่ขยายเกินความสูงของตัวอักษรเอ็กซ์ ของฟอนต์นั้นเรียกว่าหางบน[2]
ไทป์เฟซขนาดเล็กมักจะลดขนาดหางล่างลง เช่นในหนังสือพิมพ์ ไดเร็กทอรี หรือคัมภีร์ไบเบิลแบบพกพา เพื่อให้สามารถพิมพ์ข้อความบนแผ่นกระดาษได้มากขึ้นในเนื้อที่เท่าเดิม ในวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2345 ฟิลิป รัชเชอร์ แห่งเมืองแบนบรี ได้จดสิทธิบัตรไทป์เฟซใหม่ โดยไทป์เฟซดังกล่าวตัดหางล่างออก และย่อหางบนให้สั้นลง[3] [4][5][6] ไทป์เฟซดังกล่าวไม่เป็นที่นิยม และเลิกใช้ไปหลังปี พ.ศ. 2395[7][8] ไทป์เฟซแสดงผล Art Nouveau Hobo และไทป์เฟซพาดหัว Permanent Headline ซึ่งกำจัดหางล่างนั้นได้รับความนิยมค่อนข้างมากตั้งแต่นั้นมา[9]
จอแสดงผลคอมพิวเตอร์ในยุคแรก ๆ บางจอ (เช่น Compukit UK101) และเครื่องพิมพ์ (เช่น Commodore 4022 [10]) มีข้อจำกัดในเรื่องระยะห่างในแนวตั้งของอักขระ ทำให้ไม่มีที่ว่างพอสำหรับการแสดงหางล่างอย่างถูกต้อง ตัวอักษรที่มีหางล่างจะถูกเลื่อนขึ้นตามแนวตั้งให้ส่วนล่างของตัวอักษรเสมอกับเส้นฐาน ระบบในปัจจุบัน อันไม่มีข้อจำกัดนี้ เคยถูกเรียกว่ารองรับ หางล่างที่แท้จริง (true descenders)
เทียบกับอักษรไทย
[แก้]ตัวอักษรไทยบางตัวก็มีหางล่าง เช่น ฤ และ ฦ[11][12] ฐานของตัวอักษรบางตัวก็นับเป็นหางล่างด้วย เช่น ฎ, ฏ, ญ, และ ฐ)[13][14]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Mcclam, Erin (2007-09-16). "Typeface designers mix art, engineering". USA Today. สืบค้นเมื่อ 2013-04-25.
- ↑ Snider, Lesa (2013-04-23). "Typography for all: Demystifying text for high-impact messages". Macworld. สืบค้นเมื่อ 2013-04-25.
- ↑ English Patents of Inventions, Specifications. H.M. Stationery Office. 1856. pp. 14–15.
- ↑ Goudy, Frederic (1 January 1977). Typologia: Studies in Type Design & Type Making, with Comments on the Invention of Typography, the First Types, Legibility, and Fine Printing. University of California Press. pp. 141–142. ISBN 978-0-520-03308-5.
- ↑ Johnson, Samuel (1804). Rasselas, Prince of Abissinia. By Dr. Johnson. Printed with Patent Types in a Manner Never Before Attempted. Rusher's Edition. Banbury: P. Rusher. สืบค้นเมื่อ 11 August 2021.
- ↑ Johnston, Alastair (21 March 2012). "Weird And Wonderful Typography - Yet Still Illegible". Smashing Magazine. สืบค้นเมื่อ 11 August 2021.
- ↑ William White (of Shutford.) (1852). A Complete Guide to the Mystery and Management of Bees;. Simpkin, Marshall, and Company; and Hamilton, Adams, and Company: Oxford; H. Slatter: Reading; Rusher and Johnson: Banbury; J. G. Rusher.
- ↑ John Cheney and His Descendants: Printers in Banbury Since 1767. Banbury. 1936. pp. 26–31.
- ↑ Devroye, Luc. "Karlgeorg Hoefer". Type Design Information. สืบค้นเมื่อ 17 June 2016.
- ↑ "Commodore 4022 Printer". The Centre For Computing History.
- ↑ Virunhaphol, Farida (2017). Designing Khom Thai Letterforms for Accessibility (doctoral thesis). University of Huddersfield. pp. 38–67.
- ↑ Rachapoom Punsongserm (2012). "ข้อสังเกตในการใช้แบบตัวพิมพ์ไทยเสมือนโรมัน: เอกลักษณ์และความชัดเจนที่หายไป" [Viewpoint of Using a Roman-like Typeface: Disappearance of Singularity and Legibility]. Manutsayasat Wichakan. 19 (1): 113–145. ISSN 2673-0502.
- ↑ Gunkloy, Sirin (2020). Tiga: A Latin-Thai type family for news media (PDF) (post-graduate dissertation). École supérieure d'art et de design d'Amiens. pp. 6–37. สืบค้นเมื่อ 22 May 2020.
- ↑ Punsongserm, Rachapoom; Sunaga, Shoji; Ihara, Hisayasu (28 February 2017). "Thai Typefaces (Part 1): Assumption on Visibility and Legibility Problems". Archives of Design Research. 30 (1): 5–23. doi:10.15187/adr.2017.02.30.1.5.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- นิยามแบบพจนานุกรมของ หางล่าง ที่วิกิพจนานุกรม