ข้ามไปเนื้อหา

ลอเร็มอิปซัม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การใช้โลเร็มอิปซัมเพื่อดึงความสนใจของบุคคลไปยังรูปแบบการจัดวางกราฟิกในเว็บเพจ

ในการพิมพ์และกราฟิกดีไซน์ ข้อความ ลอเร็มอิปซัม[1] (ละติน: lorem ipsum) เป็นข้อความแทนที่ (placeholder text) ที่ใช้สำหรับการแสดงลักษณะองค์ประกอบของกราฟิกหรือสื่อนำเสนอ เช่น ฟอนต์ การพิมพ์และการจัดหน้า และเพื่อลดความสนใจต่อข้อความที่นำมาแสดง ข้อความลอเร็มอิปซัมเป็นข้อความส่วนหนึ่งในภาษาละตินที่แต่งโดยซิเซโรโดยมีการตัดต่อคำให้ดูเหมือนเป็นข้อความที่ไม่มีความหมายและไม่ใช่ภาษาละตินที่ถูกต้อง[1]

แม้ว่าข้อความลอเร็มอิปซัมจะก่อให้เกิดข้อสังเกตว่ามีลักษณะเหมือนภาษาละตินคลาสสิก แต่ข้อความดังกล่าวก็หามีเจตนาที่จะมีความหมายไม่ ในเอกสารต่าง ๆ ถ้าข้อความสามารถอ่านได้ บุคคลจะพุ่งความสนใจไปยังข้อความเสียจนไม่สนใจการจัดหน้าและรูปแบบ ดังนี้ผู้พิมพ์จึงใช้ข้อความลอเร็มอิปซัมเพื่อแสดงไทป์เฟซหรือลักษณะการออกแบบ เพื่อให้บุคคลพุ่งความสนใจไปที่รูปแบบการพิมพ์ มิใช่ข้อความ

ตัวอย่างข้อความ

[แก้]

ตัวอย่างข้อความลอเร็มอิปซัมคือ

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipiscing elit, sed do eiusmod tempor incididunt ut labore et dolore magna aliqua. Ut enim ad minim veniam, quis nostrud exercitation ullamco laboris nisi ut aliquip ex ea commodo consequat. Duis aute irure dolor in reprehenderit in voluptate velit esse cillum dolore eu fugiat nulla pariatur. Excepteur sint occaecat cupidatat non proident, sunt in culpa qui officia deserunt mollit anim id est laborum.

บางฉบับของข้อความใช้คำว่า adipisici แทน adipiscing เพราะการใช้อักษรคู่เสียงเดี่ยว ng ท้ายคำเป็นสิ่งที่แปลกในภาษาละตินคลาสสิก บางฉบับมีการเติมข้อความอื่น ๆ ลงไปอีกเพื่อว่าจะได้ไม่ทำให้เกิดกรณีของคำหล่นขอบและต้องขึ้นบรรทัดใหม่ (word-wrap) ซึ่งจะทำให้คำบางคำในข้อความต้องเขียนแยกกันคนละบรรทัด

ประวัติและการค้นพบ

[แก้]

รูปแบบของข้อความลอเร็มอิปซัมที่ใช้กันทั่วไปมีการใช้งานตั้งแต่ทศวรรษที่ 1960 หรือเร็วกว่านั้น[1] เพื่อใช้เป็นข้อความแทนที่ในระหว่างกระบวนการจัดรูปแบบข้อความ

ข้อความดังกล่าวเป็นข้อความที่ตัดมาจาก ส่วนที่ 1.10.32-33 ของหนังสือ "De finibus bonorum et malorum" (กรอบของความดีความชั่ว หรือแปลอีกนัยหนึ่งว่า เรื่องของความดีความชั่ว) ซึ่งแต่งโดยซิเซโร[2] โดยข้อความเดิมเขียนว่า Neque porro quisquam est qui dolorem ipsum quia dolor sit amet, consectetur, adipisci velit (เพราะความที่สิ่งนั้นคือความเจ็บปวด จึงจะมีผู้ใดชื่นชอบและปรารถนาจะต้องการก็หาไม่) อย่างไรก็ดีไม่เป็นที่แน่ชัดว่าข้อความรูปแบบปัจจุบันของลอเร็มอิปซัมปรากฏขึ้นเมื่อใด อาจเป็นช่วงทศวรรษที่ 1960 ก็ได้ ต้นฉบับของข้อความนี้ได้รับการค้นพบช่วงก่อนปี 1982 โดยริชาร์ด แม็กคลินท็อก (Richard McClintock) ผู้ศึกษาภาษาละตินและเป็นหัวหน้าฝ่ายพิมพ์ในวิทยาลัยแฮมป์เดน-ซิดนีย์ (Hampden-Sydney Collage) ในเวอร์จิเนีย ซึ่งค้นพบต้นฉบับของข้อความนี้ในขณะที่กำลังหาอ้างอิงของคำภาษาละติน "consectetur" อันไม่ปรากฏมากนักในวรรณกรรมคลาสสิก[1][3] ต้นฉบับของข้อความลอเร็มอิปซัมที่ปรากฏเป็นรูปร่างจริง ๆ ปรากฏขึ้นในหนังสือ De finibus ฉบับพิมพ์ชุด Loeb Classical Library ในปี 1914 ซึ่งข้อความในหน้า 134 จบที่คำว่า "Neque porro quisquam est qui do-" และในหน้า 136 เริ่มที่คำว่า "lorem ipsum (และเรื่อยไป) ..." ซึ่งชี้ให้เห็นว่า ข้อความอาจได้รับการสลับให้เป็นข้อความที่อ่านไม่ออกแบบที่ใช้เป็นลอเร็มอิปซัมในปัจจุบันมาก่อนหน้านั้นแล้ว และน่าจะใช้เป็นข้อความแทนที่มาก่อนที่แผ่นเลทราเซต (Letraset) ที่พิมพ์ข้อความดังกล่าวจะทำให้ข้อความนี้เป็นที่ใช้งานทั่วไป

ต้นฉบับของข้อความ (โดยเน้นตัวหนาในส่วนที่ตัดเป็นลอเร็มอิปซัม) ปรากฏอยู่ในหนังสือเล่มที่ 1 ส่วนที่ 32-33 เลขหน้าขึ้นอยู่กับสำนักพิมพ์

[32] Sed ut perspiciatis, unde omnis iste natus error sit voluptatem accusantium doloremque laudantium, totam rem aperiam eaque ipsa, quae ab illo inventore veritatis et quasi architecto beatae vitae dicta sunt, explicabo. Nemo enim ipsam voluptatem, quia voluptas sit, aspernatur aut odit aut fugit, sed quia consequuntur magni dolores eos, qui ratione voluptatem sequi nesciunt, neque porro quisquam est, qui dolorem ipsum, quia dolor sit amet, consectetur, adipisci[ng] velit, sed quia non numquam [do] eius modi tempora inci[di]dunt, ut labore et dolore magnam aliquam quaerat voluptatem. Ut enim ad minima veniam, quis nostrum exercitationem ullam corporis suscipit laboriosam, nisi ut aliquid ex ea commodi consequatur? Quis autem vel eum iure reprehenderit, qui in ea voluptate velit esse, quam nihil molestiae consequatur, vel illum, qui dolorem eum fugiat, quo voluptas nulla pariatur?
[33] At vero eos et accusamus et iusto odio dignissimos ducimus, qui blanditiis praesentium voluptatum deleniti atque corrupti, quos dolores et quas molestias excepturi sint, obcaecati cupiditate non provident, similique sunt in culpa, qui officia deserunt mollitia animi, id est laborum et dolorum fuga. Et harum quidem rerum facilis est et expedita distinctio. Nam libero tempore, cum soluta nobis est eligendi optio, cumque nihil impedit, quo minus id, quod maxime placeat, facere possimus, omnis voluptas assumenda est, omnis dolor repellendus. Temporibus autem quibusdam et aut officiis debitis aut rerum necessitatibus saepe eveniet, ut et voluptates repudiandae sint et molestiae non recusandae. Itaque earum rerum hic tenetur a sapiente delectus, ut aut reiciendis voluptatibus maiores alias consequatur aut perferendis doloribus asperiores repellat...

ข้อความดังกล่าวไม่มีตัวอักษร K และ Z เพราะคำใดที่เป็นภาษากรีกจะใช้ตัวอักษรแบบละตินซึ่งไม่ใช้ตัวอักษรสองตัวนี้ นอกจากนี้ W ก็ไม่ปรากฏเพราะ W ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของอักษรโรมันคลาสสิก

คำแปล

[แก้]

ในหนังสือฉบับพิมพ์ชุด Loeb Classical Library (1914) H. Rackham ได้แปลข้อความไว้ดังนี้

[32] หากแต่ข้าพเจ้าต้องอธิบายต่อท่านในเหตุที่มโนคติอันความชิงชังอันหลงผิดทั้งหลาย ในการใฝ่หาและสดุดีบาดแผล ว่าบ่มเพาะขึ้นได้เยี่ยงไรและ ข้าพเจ้าจักให้สาระแห่งระบบอันครบถ้วนแด่ท่าน แลประสิทธิ์คำสอนที่แท้แห่งการแสวงหาอันยิ่งใหญ่ในความจริง ซึ่งเป็นบูรพคณาจารย์ผู้สรรสร้างความผาสุขแห่งมวลมนุษย์ ฤจะมีผู้ใดมิรับ มิชอบ หรือเลี่ยงหลีกความสุข ด้วยเพราะมันเป็นสุขก็หาไม่ ก็ด้วยเหตุเพราะมันเป็นสุข หากแต่ผู้คนเหล่านั้น ซึ่งมิรู้ในวิถีทางแสวงหาความสุข ย่อมประสบเหตุซึ่งทรมานสุดแสนโดยแน่แท้ แลจะมีผู้ใดรักใคร่ หรือแสวงหา ปรารถนาจะมีบาดแผล ด้วยเพราะมันเป็นบาดแผลก็หาไม่ ก็ด้วยเพราะมันคือความเจ็บปวด แต่ก็บ้างบางขณะก็เกิด ด้วยความเหนื่อยเหน็ดแลเจ็บปวดได้นำพาผู้คนมาซึ่งความเปี่ยมสุข อันเป็นตัวอย่างกระผีกเดียวนั้นคือ จะมีผู้ใดในหมู่เราอาสาใช้กำลังแรงกายตรากตรำ เว้นเสียแต่จะมีผลพลอยได้ในการกระทำนั้นฤ? แลผู้ใดเล่ามีสิทธิ์จะตราบาปในผู้ซึ่งเลือกจะเปรมปรีในความสุขซึ่งมิได้เป็นเหตุแห่งความเดือดร้อน หรือใครเล่าซึ่งเลี่ยงความเจ็บปวดซึ่งปราศจากการนำมาซึ่งความสุขแห่งผลลัพธ์กระนั้น?

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 Adams, Cecil (February 2001), What does the filler text "lorem ipsum" mean?, The Straight Dope, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-05-12, สืบค้นเมื่อ 2012-12-21
  2. "Description of the "Lorem ipsum dolor sit amet" text that appears in Word Help". Microsoft. สืบค้นเมื่อ 2007-03-22.
  3. ข้อมูลดังกล่าวนี้ได้รับการเผยแพร่ในปี 1994 ในจดหมายที่ส่งถึงบรรณาธิการของนิตยสารบีฟอร์แอนด์อาฟเทอร์ (Before & After) "www.bamagazine.com". เล่มที่ 4 ฉบับที่ 1 เพื่อทักท้วงบทบรรณาธิการที่เขียนว่าข้อความลอเร็มอิปซัมไม่มีความหมาย

ดูเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]