ข้ามไปเนื้อหา

หลักการดาล็องแบร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

หลักการดาล็องแบร์ (อังกฤษ: D'Alembert's principle) หรือหลักการลากร็องฌ์–ดาล็องแบร์ (อังกฤษ: Lagrange–d'Alembert principle) เป็นประพจน์ของกฎการเคลื่อนที่คลาสสิกมูลฐาน ได้ชื่อตามผู้ค้นพบ ฌ็อง เลอ รง ดาล็องแบร์ นักคณิตศาสตร์และฟิสิกส์ชาวฝรั่งเศส เป็นวรรณกรรมคล้ายคลึงพลวัติของหลักการงานเสมือนสำหรับแรงที่กระทำในระบบสถิต และมีความเป็นสากลกว่าหลักการแฮมิลตัน (Hamilton's principle) ที่เลี่ยงการจำกัดระบบโฮโลโนมิค (holonomic system)[1] เงื่อนไขบังคับโฮโลโนมิคขึ้นอยู่กับพิกัดและเวลา ไม่ขึ้นอยู่กับความเร็ว

หลักการนี้ระบุว่า ผลรวมของผลต่างระหว่างแรงที่กระทำต่อระบบอนุภาคมวลกับอนุพันธ์เวลาของโมเมนตัมของระบบเองที่ฉาย (project) ไปบนการกระจัดเสมือนใด ๆ ที่สอดคล้องกับเงื่อนไขบังคับของระบบเป็นศูนย์ สัญลักษณ์ในหลักการดาล็องแบร์เขียนได้ดังนี้

โดยที่

เป็นจำนวนเต็มที่ใช้ระบุตัวแปรที่สอดคล้องกับอนุภาคหนึ่ง ๆ ในระบบ
เป็นแรงที่กระทำทั้งหมด (ไม่รวมแรงเงื่อนไขบังคับ) ต่ออนุภาค
เป็นมวลของอนุภาค
เป็นความเร่งของอนุภาค
  เป็นผลลัพธ์ที่แสดงถึงอนุพันธ์เวลาของโมเมนตัมของอนุภาค หากมวลคงที่
เป็นการกระจัดเสมือนของอนุภาค ซึ่งตรงกับเงื่อนไขบังคับ

อ้างอิง

[แก้]
  1. Lanczos, Cornelius (1970). The Variational Principles of Mechanics (4th ed.). New York: Dover Publications Inc. p. 92. ISBN 0-486-65067-7.