แรงคู่ควบ
หน้าตา
กลศาสตร์ดั้งเดิม |
---|
ในวิชากลศาสตร์ แรงคู่ควบ (อังกฤษ: couple) หมายถึง แรงขนานสองแรงที่มีขนาดเท่ากัน แต่มีทิศทางตรงข้าม และไม่อยู่ในแนวแรงเดียวกัน
ผลของแรงทำให้เกิดการหมุนโดยไม่มีการเลื่อนขนาน หรือโดยทั่วไปคือ ไม่มีความเร่งของจุดศูนย์กลางมวล ในกลศาสตร์วัตถุแข็ง แรงคู่ควบเป็นเวกเตอร์อิสระ หมายความว่า ผลของแรงต่อวัตถุนั้นไม่ขึ้นอยู่กับจุดที่แรงมากระทำต่อมัน
โมเมนต์ที่เกิดจากแรงคู่ควบเรียกว่า ทอร์ก (torque) แต่ไม่ใช้อย่างเดียวกับคำว่า ทอร์ก ในวิชาฟิสิกส์ ซึ่งเป็นคำไวพจน์ของโมเมนต์เท่านั้น แต่ทอร์กในวิชากลศาสตร์เป็นโมเมนต์กรณีพิเศษ ทอร์กมีคุณสมบัติพิเศษนอกเหนือจากโมเมนต์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคุณสมบัติเป็นอิสระจากจุดอ้างอิง เป็นต้น