ข้ามไปเนื้อหา

สิว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สิว
ชื่ออื่นAcne vulgaris
สิวของชายอายุ 14 ปีในวัยเจริญพันธุ์
สาขาวิชาตจวิทยา
อาการสิวอุดตัน, ตุ่มหนอง, ผิวมัน, แผลเป็น[1][2]
ภาวะแทรกซ้อนความวิตกกังวล, ความภูมิใจแห่งตนลดลง, ซึมเศร้า, คิดฆ่าตัวตาย[3][4]
การตั้งต้นวัยเริ่มเจริญพันธุ์[5]
ปัจจัยเสี่ยงพันธุศาสตร์[2]
โรคอื่นที่คล้ายกันFolliculitis, rosacea, hidradenitis suppurativa, miliaria[6]
การรักษาเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินชีวิต, ใช้ยา, ทางการแพทย์[7][8]
ยากรดอะซีลาอิก, เบนโซอิลเพอร์ออกไซด์, กรดซาลิไซลิก, ยาปฏิชีวนะ, ยาเม็ดคุมกำเนิด, co-cyprindiol, retinoids, ไอโซเทรติโนอิน[8]
ความชุก633 ล้านคน (2015)[9]

สิว เป็นโรคผิวหนังระยะยาวที่เกิดจากเซลล์ผิวหนังที่ตายกับน้ำมันจากผิวหนังอุดรูขุมขน[10] อาการทั่วไปได้แก่สิวหัวดำและสิวหัวขาว ตุ่มหนอง ผิวมัน และอาจทำให้เกิดแผลเป็น[1][2][11] โดยหลักสิวมักเกิดขึ้นมากในผิวที่มีจำนวนต่อมไขมันมาก ซึ่งบริเวณเหล่านี้รวมถึงใบหน้า ส่วนบนของหน้าอก และหลัง[12] นอกเหนือจากการทำให้เกิดแผลเป็น ผลกระทบหลักคือทางด้านจิตใจ เช่น ก่อให้เกิดความกังวล ลดความเชื่อมั่นในตนเองลง และในกรณีที่รุนแรงมาก จะทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าหรือการฆ่าตัวตาย[3][4]

ความไวต่อการเกิดสิวเกิดจากกรรมพันธุ์เป็นหลักมีถึง 80% ของกรณีทั้งหมด[2] ปัจจัยต่อการไดเอทและการสูบบุหรี่ยังไม่เป็นที่กระจ่าง และทั้งความสะอาดหรือการกระทบแสงแดดก็ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องต่อเรื่องนี้[2][13][14] ฮอร์โมนชื่อว่าแอนโดรเจนน่าจะมีส่วนในกลไกการเกิดสิวของทั้งสองเพศ โดยมันจะเพิ่มการผลิตซีบัม[5] ส่วนอีกปัจจัยหนึ่งคือการเติบโตของแบคทีเรีย Cutibacterium acnes ซึ่งปรากฏในผิงหนังมากเกินไป[15]

การรักษามีอยู่หลายหลายหนทาง เช่นการเปลี่ยนวิถีชีวิต, การให้ยา และขั้นตอนทางการแพทย์ การรับประทานอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตอย่างน้ำตาลน้อยลงอาจช่วยได้[7] ยาสำหรับรักษาสิว ได้แก่ เบนโซอิลเปอร์ออกไซด์ ยาปฏิชีวนะ (ทั้งยาทาหรือยาเม็ด), เรตินอยด์, ยาต้านแอนติเซบอริค, ยาต้านแอนโดรเจน, การปรับฮอร์โมน, กรดซาลิไซลิค, กรดอัลฟาไฮดรอกซี, กรดอะซีลาอิค, นิโคตินอะไมด์ และสบู่ที่มีส่วนผสมของคีราโตไลติค[16] การรักษาในลำดับแรกและเชิงรุก คือ สนับสนุนให้ลดผลกระทบระยะยาวจากการรักษาให้กับคนไข้[17]

ใน ค.ศ. 2015 มีผู้ได้รับผลประทบจากสิวทั่วโลกประมาณ 633 ล้านคน ทำให้เป็นโรคที่พบได้ทั่วไปมากเป็นอันดับ 8 ของโลก[9][18] สิวเกิดขึ้นมากที่สุดในช่วงวัยรุ่น มีผลกระทบประมาณ 80-90% ของวัยรุ่นในโลกตะวันตก[19][20][21] สังคมชนบทบางแห่งรายงานอัตราพบสิวน้อยกว่าพื้นที่อุตสาหกรรม[21][22] เด็กและผู้ใหญ่อาจได้รับสิวทั้งก่อนและหลังวัยเริ่มเจริญพันธุ์[23] ถึงกระนั้นแล้วก็ยังมีบางคนที่อายุมากกว่านั้น ยังเป็นสิวอยู่[2]

สาเหตุ

[แก้]

สาเหตุของสิว มีหลายสาเหตุ เป็นที่ถกเถียงกันว่า สิวเกิดจากอะไร สาเหตุหลัก ๆ แบ่งได้ 2 ปัจจัยดังนี้

  • ปัจจัยภายใน คือ ปัจจัยที่เกิดจากร่างกายเราเอง เช่น ฮอร์โมน, กรรมพันธุ์, โรคเรื้อรัง และ ผิวพรรณ ซึ่งเป็นสิ่งที่ติดตัวเราตั้งแต่กำเนิด
  • ปัจจัยภายนอก คือ ปัจจัยที่เกิดขึ้นจากนอกร่างกายของเรา เช่น ยา, เครื่องสำอาง, สภาพแวดล้อม, สังคม, แสงแดดและอุณหภูมิ ความสะอาด และอาหาร ซึ่งเราสามารถป้องกันได้

ชนิดของสิว

[แก้]

สิวมี 2 ชนิดหลักได้แก่

  1. สิวที่ไม่มีการอักเสบ คือ สิวที่เกิดจากการอุดตันของรูขุมขน เช่น สิวหัวปิด (สิวหัวขาว) และ สิวหัวเปิด (สิวหัวดำ)
  2. สิวที่มีการอักเสบ คือ สิวที่มีการอุดตันของรูขุมขน และมีการอักเสบร่วมด้วย ส่วนมากมักจะเกิดขึ้นตามหลังสิวหัวปิดที่ไม่ได้รับการรักษา ร่วมกับมีการติดเชื้อแบคทีเรียในบริเวณรูขุมขน เช่น สิวที่เป็นตุ่มแดง (สิวอักเสบ) สิวที่มีหนอง (สิวตุ่มหนอง) สิวอักเสบขนาดใหญ่ (สิวหัวช้าง) และสิวที่มีการทำลายของผิวข้างในจนเป็นโพรงคล้ายซีสต์

กระบวนการเกิดสิว

[แก้]

สิวมักเกิดบริเวณ Seborrhic area ซึ่งผิวหนังบริเวณนั้นมี Pilosebaceous unit ชนิด Sebaceous follicle,เป็น follicleที่ประกอบไปด้วย small villus hair และ large multiacina sebaceous gland เมื่อมีการกระตุ้นSebaceous glandมากเกินพอดีจะสร้างไขมัน (Sebum) มามากขึ้น ไขมันนี้ประกอบด้วย triglyceride, ester, ไข และสารอื่น ๆ หากไขมันถูกผลิตมากจะระบายออกทางรูขุมขนไม่ทัน และค้างใน follicle, ไขมันจะกระตุ้นให้ Keratinocyte สร้างเคราทินมามากขึ้น และจับตัวกันแน่นผิดปรกติเกิดเป็นสิวอุดตัน (Comidone)

ต่อมาการอุดตันนั้นทำให้เกิดสภาพไร้ออกซิเจนในรูขุมขน แบคทีเรีย P.acne จะเจริญเติบโตได้ดีและย่อยสลายไขมันเป็นสารที่มีความสามารถrecruitเม็ดเลือด ขาวมาที่บริเวณนั้นและก่อให้เกิดการอักเสบตามมา จึงเกิดเป็นสิวอักเสบ พออายุ 40 ขึ้นไป สิวจะไม่ขึ้นอีกต่อไป

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Vary JC (November 2015). "Selected Disorders of Skin Appendages--Acne, Alopecia, Hyperhidrosis". The Medical Clinics of North America (Review). 99 (6): 1195–211. doi:10.1016/j.mcna.2015.07.003. PMID 26476248.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 Bhate K, Williams HC (March 2013). "Epidemiology of acne vulgaris". The British Journal of Dermatology (Review). 168 (3): 474–85. doi:10.1111/bjd.12149. PMID 23210645. S2CID 24002879.
  3. 3.0 3.1 Barnes LE, Levender MM, Fleischer AB, Feldman SR (April 2012). "Quality of life measures for acne patients". Dermatologic Clinics (Review). 30 (2): 293–300, ix. doi:10.1016/j.det.2011.11.001. PMID 22284143.
  4. 4.0 4.1 Goodman, Greg (July 2006). "Acne and acne scarring - the case for active and early intervention". Australian Family Physician. 35 (7): 503–504. PMID 16820822.
  5. 5.0 5.1 James WD (April 2005). "Clinical practice. Acne". The New England Journal of Medicine (Review). 352 (14): 1463–72. doi:10.1056/NEJMcp033487. PMID 15814882.
  6. Kahan S (2008). In a Page: Medicine (ภาษาอังกฤษ). Lippincott Williams & Wilkins. p. 412. ISBN 9780781770354. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 September 2017.
  7. 7.0 7.1 Mahmood SN, Bowe WP (April 2014). "[Diet and acne update: carbohydrates emerge as the main culprit]". Journal of Drugs in Dermatology (Review). 13 (4): 428–35. PMID 24719062.
  8. 8.0 8.1 Titus, Stephen; Hodge, Joshua (15 October 2012). "Diagnosis and Treatment of Acne". American Family Physician. 86 (8): 734–740. PMID 23062156.
  9. 9.0 9.1 GBD 2015 Disease Injury Incidence Prevalence Collaborators (October 2016). "Global, regional, and national incidence, prevalence, and years lived with disability for 310 diseases and injuries, 1990-2015: a systematic analysis for the Global Burden of Disease Study 2015". Lancet. 388 (10053): 1545–1602. doi:10.1016/S0140-6736(16)31678-6. PMC 5055577. PMID 27733282. {{cite journal}}: |author1= มีชื่อเรียกทั่วไป (help)
  10. Aslam I, Fleischer A, Feldman S (March 2015). "Emerging drugs for the treatment of acne". Expert Opinion on Emerging Drugs (Review). 20 (1): 91–101. doi:10.1517/14728214.2015.990373. ISSN 1472-8214. PMID 25474485. S2CID 12685388.(ต้องสมัครสมาชิก)
  11. Tuchayi SM, Makrantonaki E, Ganceviciene R, Dessinioti C, Feldman SR, Zouboulis CC (September 2015). "Acne vulgaris". Nature Reviews. Disease Primers. 1: 15033. doi:10.1038/nrdp.2015.33. PMID 27227877. S2CID 44167421.
  12. "Frequently Asked Questions: Acne" (PDF). U.S. Department of Health and Human Services, Office of Public Health and Science, Office on Women's Health. July 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 10 December 2016. สืบค้นเมื่อ 30 July 2009.
  13. Knutsen-Larson S, Dawson AL, Dunnick CA, Dellavalle RP (January 2012). "Acne vulgaris: pathogenesis, treatment, and needs assessment". Dermatologic Clinics (Review). 30 (1): 99–106, viii–ix. doi:10.1016/j.det.2011.09.001. PMID 22117871.
  14. Schnopp C, Mempel M (August 2011). "Acne vulgaris in children and adolescents". Minerva Pediatrica (Review). 63 (4): 293–304. PMID 21909065.
  15. Zaenglein AL (October 2018). "Acne Vulgaris". The New England Journal of Medicine (Review). 379 (14): 1343–1352. doi:10.1056/NEJMcp1702493. PMID 30281982. S2CID 52914179.
  16. Ramos-e-Silva M, Carneiro SC (March 2009). "Acne vulgaris: review and guidelines". Dermatology Nursing (Review). 21 (2): 63–8, quiz 69. PMID 19507372.
  17. Goodman, Greg (2006). "Acne and acne scarring - the case for active and early intervention". Australian family physician. 35 (7): 503–4. PMID 16820822.
  18. Hay RJ, Johns NE, Williams HC, Bolliger IW, Dellavalle RP, Margolis DJ, และคณะ (June 2014). "The global burden of skin disease in 2010: an analysis of the prevalence and impact of skin conditions". The Journal of Investigative Dermatology. 134 (6): 1527–1534. doi:10.1038/jid.2013.446. PMID 24166134.
  19. Taylor M, Gonzalez M, Porter R (May–June 2011). "Pathways to inflammation: acne pathophysiology". European Journal of Dermatology (Review). 21 (3): 323–33. doi:10.1684/ejd.2011.1357. PMID 21609898.
  20. Dawson AL, Dellavalle RP (May 2013). "Acne vulgaris". BMJ (Review). 346 (5): 30–33. doi:10.1136/bmj.f2634. JSTOR 23494950. PMID 23657180. S2CID 5331094.
  21. 21.0 21.1 Goldberg DJ, Berlin AL (October 2011). Acne and Rosacea: Epidemiology, Diagnosis and Treatment. London: Manson Pub. p. 8. ISBN 978-1-84076-150-4. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 July 2016.
  22. Spencer EH, Ferdowsian HR, Barnard ND (April 2009). "Diet and acne: a review of the evidence". International Journal of Dermatology (Review). 48 (4): 339–47. doi:10.1111/j.1365-4632.2009.04002.x. PMID 19335417. S2CID 16534829.
  23. Admani S, Barrio VR (November 2013). "Evaluation and treatment of acne from infancy to preadolescence". Dermatologic Therapy (Review). 26 (6): 462–6. doi:10.1111/dth.12108. PMID 24552409. S2CID 30549586.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
  • Acne Support. Expert, impartial advice on acne by the BAD.
  • "Acne". MedlinePlus. U.S. National Library of Medicine.
การจำแนกโรค
ทรัพยากรภายนอก