ไอโซเทรติโนอิน
ข้อมูลทางคลินิก | |
---|---|
ชื่อทางการค้า | แอคคูเทน, ไอโซเทน และอื่นๆ[1] |
AHFS/Drugs.com | โมโนกราฟ |
MedlinePlus | a681043 |
ข้อมูลทะเบียนยา |
|
ระดับความเสี่ยงต่อทารกในครรภ์ | |
ช่องทางการรับยา | ปาก, แต้มเฉพาะจุด |
รหัส ATC | |
กฏหมาย | |
สถานะตามกฏหมาย | |
ข้อมูลเภสัชจลนศาสตร์ | |
การจับกับโปรตีน | 99.9% |
การเปลี่ยนแปลงยา | ตับ |
ครึ่งชีวิตทางชีวภาพ | 10–20 ชั่วโมง |
การขับออก | ปัสสาวะและอุจจาระ |
ตัวบ่งชี้ | |
| |
เลขทะเบียน CAS | |
PubChem CID | |
IUPHAR/BPS | |
DrugBank | |
ChemSpider | |
UNII | |
KEGG | |
ChEBI | |
ChEMBL | |
ECHA InfoCard | 100.022.996 |
ข้อมูลทางกายภาพและเคมี | |
สูตร | C20H28O2 |
มวลต่อโมล | 300.44 g/mol g·mol−1 |
แบบจำลอง 3D (JSmol) | |
| |
| |
(verify) | |
ไอโซเทรติโนอิน (Isotretinoin) หรือชื่อทางการค้าเช่น แอคคูเทน (Accutane), แอคโนติน (Acnotin), ไอโซเทน (Isotane) เป็นยาหลักที่ใช้รักษาสิวขั้นรุนแรง[2] และถูกใช้ในการรักษาโรคผิวหนังอื่นเช่นมะเร็งผิวหนัง, โรคเด็กดักแแด้, โรคหนังตาย และโรคผิวหนังเกล็ดปลา ยานี้เป็นยาประเภทเรตินอยด์ที่เกิดจากพันธะทางเคมีของวิตามินเอซึ่งมีอยู่ปริมาณเล็กน้อยในร่างกายตามธรรมชาติ ไอโซเมอร์ของไอโซเทรติโนอินมีชื่อว่า "เทรติโนอิน" ซึ่งเป็นยารักษาสิวเช่นกัน
ยาไอโซเทรติโนอินถูกใช้เพื่อรักษาสิวขั้นรุนแรง ยาจะกดการทำงานของต่อมไขมัน, ลดปริมาณเชื้อแบคทีเรีย Cutibacterium acnes ซึ่งเป็นสาเหตุของสิว, ลดการอักเสบของสิว และยับยั้งการสร้างคอมีโดน[3] ยาไอโซเทรติโนอินมีทั้งแบบยากินและแบบยาแบบแต้มเฉพาะจุด ควรเก็บรักษายาไว้ในที่เย็นและแห้ง[2]
ไอโซเทรติโนอินถูกจดสิทธิบัตรในปีค.ศ. 1969[4] และได้รับอนุมัติให้ใช้งานทางการแพทย์ในปีค.ศ. 1982 และกลายเป็นยาขายดีในหลายประเทศ ไอโซเทรติโนอินเป็นยาควบคุมพิเศษ ต้องมีใบสั่งจากแพทย์จึงจะจ่ายยาได้
การใช้ยา
[แก้]ขนาดยาที่เหมาะสมในการรักษาสิวขั้นรุนแรงอยู่ที่ 0.5–1 มก./กก./วัน ดังนั้นผู้ป่วยสิวขั้นรุนแรงควรทานยาเม็ดขนาด 20-30 มิลลิกรัม วันละสองครั้ง ส่วนขนาดยาที่เหมาะสมในการรักษาสิวขั้นปานกลางอยู่ที่ 0.3-0.4 มก./กก./วัน[5] โดยควรใช้ยาต่อเนื่อง 16-32 สัปดาห์ ทั้งนี้ การใช้ยาขนาดยาที่ต่ำที่น้อยกว่า 20 มิลลิกรัมต่อวัน ถือเป็นขนาดยาที่ไม่แนะนำให้ใช้ในกรณีผู้ป่วยทั่วไป ซึ่งจะเพิ่มอัตราการกลับเป็นสิวซ้ำของผู้ป่วยเมื่อเทียบกับการใช้ยาในขนาดปกติ
ผลจากการใช้ยา
[แก้]ผลของยานี้จะเห็นชัดเจนหลังเริ่มใช้ยาต่อเนื่อง 2-3 สัปดาห์ขึ้นไป ซึ่งในระยะแรกของการใช้ยาอาจพบอาการสิวเห่อเพิ่มขึ้นได้ ควรใช้ยาต่อเนื่องจนครบระยะเวลาที่แพทย์สั่งใช้[2] ผลข้างเคียงทั่วไปอื่นๆได้แก่ ภาวะโลหิตจาง, ปวดในข้อ, อาการปากแห้ง, ผิวหนังแห้งเปราะบาง และเพิ่มความเสี่ยงผิวไหม้จากการออกแดด ผลข้างเคียงที่พบน้อยรายได้แก่ มีสิวขึ้นและปวดกล้ามเนื้อ, ปวดหัว เป็นต้น[6] สตรีมีครรภ์ห้ามใช้ยานี้เนื่องจากอาจก่อให้เกิดความพิการของทารกแรกเกิด สตรีให้นมบุตรควรงดใช้ยานี้เช่นกันเนื่องจากอาจทำให้ทารกมีพัฒนาการช้าลง ผู้ใช้ยานี้ห้ามตั้งครรภ์หรือบริจาคเลือดในเวลาหนึ่งเดือนหลังเลิกใช้ยา ยานี้อาจหยุดยั้งการเจริญของกระดูกยาวของเยาวชน ซึ่งส่งผลให้ส่วนสูงไม่เพิ่ม[7]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Isotretinoin international brands". Drugs.com. สืบค้นเมื่อ 1 June 2017.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 ISOTRETINOIN เก็บถาวร 2019-08-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ และมูลนิธิเพื่อการวิจัยและพัฒนาระบบยา. สืบค้นเมื่อ 1 มิถุนายน 2019
- ↑ Isotretinoin. In: DRUGDEX EVALUATION. [Online]. 2010 Feb 5. Available from: MICROMEDEX Healthcare Series. 2010. [cited 2010 Mar 24].
- ↑ Fischer, Jnos; Ganellin, C. Robin (2006). Analogue-based Drug Discovery (ภาษาอังกฤษ). John Wiley & Sons. p. 476. ISBN 9783527607495.
- ↑ Mandekou L, Delli F, Teknetzis A et al. Low-dose schema of isotretinoin in acne vulgaris. Int J Clin Pharmacol. 2003;23:41-6.
- ↑ "Isotretinoin 20mg capsules - - (eMC)". www.medicines.org.uk (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-12-28. สืบค้นเมื่อ 2017-12-27.
- ↑ US Label (PDF) (Report). FDA. 22 October 2010 [January 2010]. สืบค้นเมื่อ 1 June 2017. See FDA Index page for NDA 018662 for updates