สาลี่ (สกุล)
สกุลสาลี่ | |
---|---|
European pear ลูกแพร์ หรือสาลี่ยุโรป | |
สาลี่จีน | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Plantae |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Angiosperms |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Eudicots |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Rosids |
อันดับ: | Rosales |
วงศ์: | Rosaceae |
สกุล: | Pyrus L. |
ชนิด | |
ประมาณ 30 ชนิด; ดู ชนิดที่สำคัญ |
สกุลสาลี่ หรือ สกุลแพร์ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Pyrus) จัดอยู่ในวงศ์ย่อย Amygdaloideae ของวงศ์กุหลาบ เป็นไม้ผลที่ปลูกและใช้บริโภคกระจายทั่วทุกทวีป มีถิ่นกำเนิดในบริเวณชายฝั่งและเขตภูมิอากาศแบบอบอุ่นของยุโรป แอฟริกาเหนือ และเอเชีย ส่วนใหญ่เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูง 10–17 เมตร ทรงค่อนข้างสูงชะลูด บางชนิดเป็นไม้พุ่มขนาดใหญ่ ผลเดี่ยวรูปร่างกลม หรือทรงลูกแพร์ เนื้อนุ่มฉ่ำ หวานอมเปรี้ยว ผิวบาง แกนแข็งเป็นพูหุ้มเมล็ดข้างใน ไม้ผลสกุลสาลี่เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญสำหรับการบริโภคผลไม้สดหรืออบแห้ง เป็นน้ำผลไม้ และปลูกเป็นวัสดุที่เป็นที่ต้องการในอุตสาหกรรมไม้ เช่นในการผลิตเครื่องเป่าลมไม้และเฟอร์นิเจอร์คุณภาพสูง สายพันธุ์แพร์ที่เป็นที่รู้จักและปลูกมีประมาณ 3,000 พันธุ์ปลูกทั่วโลก ซึ่งแตกต่างกันไปทั้งรูปทรง สี ผิว รสชาติ และเนื้อสัมผัส ในประเทศไทยมีการทดลองปลูกสาลี่พันธุ์ต่าง ๆ ในพื้นที่สูงทางภาคเหนือเช่น เชียงใหม่และเชียงราย แต่พบว่าในระยะแรกมีการเจริญเติบโตที่ช้ามากเนื่องจากไม่ได้รับสภาพอากาศที่มีความหนาวเย็นเพียงพอ จึงไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร[1] ต่อมามีการนำเข้าสาลี่พันธุ์ลูกผสมจากเกาะไต้หวันมาทดลองปลูก ซึ่งสามารถติดดอกออกผลได้ดีและมีคุณภาพ จึงมีการส่งเสริมให้ปลูกนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2541 เป็นต้นมา[2][3]
ผลสาลี่ เป็นผลไม้ที่ให้คุณค่าทางอาหารที่ดี มีวิตามินบี1 บี2 วิตามินซี และแร่ธาตุต่างๆ มีสรรพคุณแก้ร้อนใน ละลายเสมหะ ช่วยขับลมและระงับอาการไอ[1]
ศัพทมูลวิทยา
[แก้]ไม้ผลสกุลสาลี่เป็นพืชในเมืองหนาว ชื่อภาษาไทย สาลี่ ยืมมาจาก "ซาหลี" ในภาษาจีน (จีน: 沙梨; พินอิน: shālí, แปลตามตัว: แพร์ทราย) ซึ่งหมายถึง สาลี่จีน (ที่มีผิวสีน้ำตาลผลกลมใหญ่—Pyrus pyrifolia) ซึ่งเป็นเพียงไม้ผลชนิดหนึ่งในสกุลนี้ ชื่อภาษาจีนสำหรับเรียกไม้ผลทุกชนิดในสกุลนี้โดยรวม คือ "หลี" (梨) และเรียกสกุลสาลี่หรือสกุลแพร์ว่า "หลีฉู่" (梨属) (属, ฉู่ หรือ สู่ แปลว่า จำพวก) ส่วนคำว่า แพร์ หรือ ลูกแพร์ ในภาษาไทยนั้นเป็นไม้ผลชนิดหนึ่งในสกุลนี้เช่นกัน คือสาลี่ยุโรป (Pyrus communis) ในภาษาจีนเรียก "ซีหยางหลี" (西洋梨 —ลูกแพร์ตะวันตก)
คำว่า แพร์ ยืมมาจากภาษาอังกฤษ pear ซึ่งอาจมีรากศัพท์จากกลุ่มภาษาเจอร์แมนิก pera ที่อาจยืมมาจากภาษาละตินพื้นบ้าน pira (พหูพจน์ pirum) คล้ายกับ apios ในภาษากรีก (จากภาษากรีกไมซีนี ápisos)[4] ในกลุ่มภาษาเซมิติก pirâ แปลว่า "ผลไม้" และคำคุณศัพท์ pyriform หรือ piriform หมายถึง "ทรงลูกแพร์"[ต้องการอ้างอิง]
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
[แก้]พืชสกุลสาลี่มีถิ่นกำเนิดในบริเวณชายฝั่งและเขตภูมิอากาศแบบอบอุ่นของโลกเก่าจากชายฝั่งยุโรปตะวันตก แอฟริกาเหนือ จนถึงเอเชีย ส่วนใหญ่เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูง 10–17 เมตร ทรงค่อนข้างสูงชะลูด บางชนิดเป็นไม้พุ่มขนาดใหญ่ ส่วนใหญ่ผลัดใบ เฉพาะบางชนิดในตอนใต้ของจีนและเกาะไต้หวันที่ไม่ผลัดใบ พืชสกุลสาลี่ส่วนใหญ่ทนต่ออากาศหนาวอูณหภูมิ -25 ถึง -40 °ซ. ในฤดูหนาว ยกเว้นชนิดที่ไม่ผลัดใบที่ทนได้เพียงเกินกว่า -15 °ซ.
ใบ หลายขนาด ยาวตั้งแต่ 2–12 เซนติเมตร สีเขียวเป็นมัน บางชนิดมีขนปกคลุมสีออกขาวเงิน ขอบหยักละเอียด ทรงใบที่หลากหลายตั้งแต่รูปวงรีกว้างปลายแหลม รูปใบหอกแคบ
ดอกสีขาว พบน้อยชนิดที่มีสีอื่นเช่น เหลือง หรือ ชมพู ขนาด 2–4 เซนติเมตร และมี 5 กลีบ[5]
ผลเดี่ยว เนื้อนุ่ม ผิวบาง แกนแข็งเป็นพูหุ้มเมล็ดข้างใน (ซึ่งผลไม้แบบนี้เรียก pome —ผลไม้ที่ลักษณะแบบผลแอปเปิ้ล) ในชนิดที่เป็นพืชป่าผลมีขนาดเล็ก 1-4 เซนติเมตร ส่วนชนิดที่เพาะปลูกขนาดใหญที่สุดโดยเฉลี่ย ยาว 18 เซนติเมตร กว้าง 8 เซนติเมตร รูปทรงของผลมีหลากหลาย ตั้งแต่ทรงกลมถึงทรงยาวรีหัวแคบก้นกว้าง ซึ่งเรียกว่า ทรงลูกแพร์ (pyriform หรือ pear shape)
บางครั้งไม่สามารถแยกแยะ สาลี่ (แพร์) และแอปเปิ้ล ได้ด้วยรูปแบบของผลเสมอไป[6] ผลแพร์บางชนิดมีลักษณะคล้ายผลแอปเปิ้ลเช่น สาลี่จีน ความแตกต่างที่สำคัญคือ เนื้อของสาลี่มีเนื้อทราย (เซลล์หิน หรือ สเคลอรีด) ซึ่งเป็นที่มาของชื่อ สาลี่ (ซาหลี—沙梨)
ประวัติ
[แก้]การเพาะปลูกลูกแพร์ในสภาพอากาศเย็น ย้อนไปถึงสมัยโบราณและมีหลักฐานการใช้เป็นอาหารตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ มีการพบร่องรอยมากมายในการใช้เป็นไม้สร้างอาคารบ้านเรือนสมัยก่อนประวัติศาสตร์รอบทะเลสาบซูริก สาลี่ได้รับการปลูกในประเทศจีนตั้งแต่ 2,000 ปีก่อนคริสตกาล[7] บทความเกี่ยวกับการปลูกต้นแพร์ในสเปนถูกนำมาลงไว้ในงานเกษตรกรรมในศตวรรษที่ 12[8]
ชนิดที่สำคัญ
[แก้]
|
การเพาะปลูก
[แก้]จากข้อมูลของ Pear Bureau Northwest พบว่ามีไม้ผลสกุลสาลี่ประมาณ 3,000 พันธุ์ปลูกทั่วโลก[9] โดยปกติสาลี่จะขยายพันธุ์โดยการต่อกิ่งพันธุ์ที่บนต้นตอซึ่งอาจเป็นต้นสาลี่ท้องถิ่น หรือควินซ์ (quince ไม้ผลข้ามสายพันธุ์ของแอปเปิ้ลและสาลี่) จะได้ต้นที่มีขนาดไม่สูงซึ่งมักเป็นที่ต้องการในการทำสวนผลไม้เชิงพาณิชย์ หรือแม้แต่สวนในบ้าน ซึ่งให้ผลเมื่อมีอายุมากกว่าหนึ่งปี[10]
สาลี่ สามชนิดที่มีความสำคัญที่เป็นพืชเศรษฐกิจในการผลิตผลไม้สดส่วนใหญ่คือ แพร์ (สาลี่ยุโรป–Pyrus communis) ส่วนมากปลูกในยุโรปและอเมริกาเหนือ สาลี่เป็ดของจีน (ไป่หลี่ หรือ สาลี่ขาว–Pyrus × bretschneideri)[11] และสาลี่จีน (nashi pear –Pyrus pyrifolia) (หรือที่เรียกว่า สาลี่เอเชีย หรือสาลี่แอปเปิ้ล) ซึ่งสองชนิดหลังส่วนมากปลูกในเอเชียตะวันออกเป็นหลัก สาลี่ทั้งสามชนิดมีการคัดเลือกพันธุ์จนมีหลายพันพันธุ์ปลูก (cultivar) สาลี่ชนิดอื่น ๆ ที่ปลูกและให้ผลผลิดระดับรอง ๆ ลงไปเช่น Pyrus sinkiangensis และ Pyrus pashia
สาลี่ชนิดอื่นที่ใช้เป็นต้นตอสำหรับแพร์ในยุโรปและเอเชีย และเป็นไม้ประดับตามแต่ละพื้นที่ที่ชนิดนั้นเป็นสาลี่ท้องถิ่น ไม้แพร์ เป็นไม้เนื้อละเอียด ในอดีตก็ถูกใช้เป็นไม้พิเศษสำหรับเฟอร์นิเจอร์ชั้นดีและทำบล็อกสำหรับตัดไม้ซึ่งให้ความละเอียดเป็นพิเศษ
ปริมาณการผลิต
[แก้]ประเทศ | ปริมาณ (ล้านตัน) | |||
---|---|---|---|---|
ในปี 2561 การผลิตสาลี่หรือแพร์ทั่วโลกอยู่ที่ 23.7 ล้านตัน นำโดยประเทศจีนโดยมีสัดส่วนร้อยละ 68 ของทั้งหมด (ตาราง)
คุณค่าทางโภชนาการ
[แก้]ลูกแพร์สดประกอบด้วยน้ำ ร้อยละ 84 คาร์โบไฮเดรต ร้อยละ 15 และมี โปรตีน และ ไขมัน เล็กน้อย (ตาราง) ในจำนวนอ้างอิง 100 กรัม วัตถุดิบลูกแพร์ดิบ 57 กิโลแคลอรี่ มีเส้นใยอาหารในปริมาณปานกลาง และไม่มีสารอาหารที่จำเป็นอื่น ๆ ในปริมาณที่มีนัยสำคัญ (ดังแสดงในตาราง)
ระเบียงภาพ
[แก้]-
แพร์แช่ไวน์แดง
-
สาลี่เชื่อม
-
เค้กแพร์
-
แพร์ดองเหล้า
-
ไม้สาลี่
คุณค่าทางโภชนาการต่อ 100 กรัม (3.5 ออนซ์) | |
---|---|
พลังงาน | 239 กิโลจูล (57 กิโลแคลอรี) |
15.23 g | |
น้ำตาล | 9.75 g |
ใยอาหาร | 3.1 g |
0.14 g | |
0.36 g | |
วิตามิน | |
ไทอามีน (บี1) | (1%) 0.012 มก. |
ไรโบเฟลวิน (บี2) | (2%) 0.026 มก. |
ไนอาซิน (บี3) | (1%) 0.161 มก. |
(1%) 0.049 มก. | |
วิตามินบี6 | (2%) 0.029 มก. |
โฟเลต (บี9) | (2%) 7 μg |
คลอรีน | (1%) 5.1 มก. |
วิตามินซี | (5%) 4.3 มก. |
วิตามินอี | (1%) 0.12 มก. |
วิตามินเค | (4%) 4.4 μg |
แร่ธาตุ | |
แคลเซียม | (1%) 9 มก. |
เหล็ก | (1%) 0.18 มก. |
แมกนีเซียม | (2%) 7 มก. |
แมงกานีส | (2%) 0.048 มก. |
ฟอสฟอรัส | (2%) 12 มก. |
โพแทสเซียม | (2%) 116 มก. |
โซเดียม | (0%) 1 มก. |
สังกะสี | (1%) 0.1 มก. |
องค์ประกอบอื่น | |
น้ำ | 84 g |
ประมาณร้อยละคร่าว ๆ โดยใช้การแนะนำของสหรัฐสำหรับผู้ใหญ่ แหล่งที่มา: USDA FoodData Central |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "สาลี่ ปลูกในเมืองไทยจะดีไหมหนอ". blog.arda.or.th (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2020-08-07.
- ↑ "พันธุ์สาลี่ที่นิยมปลูกในประเทศไทย – วิชาการเกษตร ปลูกผัก ทำไร่ ไถนา" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-21. สืบค้นเมื่อ 2021-04-21.
- ↑ "พีช+สาลี่..โครงการหลวง ไม้ผลเมืองหนาวจากไทยไปยุโรป?". www.thairath.co.th. 2018-07-30.
- ↑ Harper, Douglas. "pear". Online Etymology Dictionary.
- ↑ Pear Fruit Facts Page Information. bouquetoffruits.com
- ↑ The New Werner Twentieth Century Edition of the Encyclopaedia Britannica: A Standard Work of Reference in Art, Literature, Science, History, Geography, Commerce, Biography, Discovery and Invention (ภาษาอังกฤษ). Werner Company. 1907. p. 456.
- ↑ Clement, Charles R. (2005). Prance, Ghillean; Nesbitt, Mark (บ.ก.). The Cultural History of Plants. Routledge. p. 86. ISBN 0415927463.
- ↑ Ibn al-'Awwam, Yaḥyá (1864). Le livre de l'agriculture d'Ibn-al-Awam (kitab-al-felahah) (ภาษาฝรั่งเศส). แปลโดย J.-J. Clement-Mullet. Paris: A. Franck. pp. 240–242 (ch. 7 - Article 12). OCLC 780050566. (pp. 240–242 (Article XII)
- ↑ "Pear Varieties". Usapears.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 June 2014. สืบค้นเมื่อ 9 August 2014.
- ↑ RHS Fruit, Harry Baker, ISBN 1-85732-905-8, pp100-101.
- ↑ "ชวนเลือกสาลี่ พันธุ์ไหนดี ถึงจะหวานกรอบถูกใจใช่เลยกันนะ – อะไรดีวะ" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-21. สืบค้นเมื่อ 2021-04-21.
- ↑ "Production of pears in 2018, Crops/Regions/World Regions/Production Quantity by picklists". UN Food & Agriculture Organization, Statistics Division. 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-11-22. สืบค้นเมื่อ 10 October 2020.