สาลี่นก
สาลี่นก | |
---|---|
สาลี่นก (P. calleryana) | |
ช่อดอกสีขาว | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Plantae |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Angiosperms |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Eudicots |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Rosids |
อันดับ: | Rosales |
วงศ์: | Rosaceae |
สกุล: | Pyrus |
สปีชีส์: | P. calleryana |
ชื่อทวินาม | |
Pyrus calleryana Decne. | |
ชื่อพ้อง[1] | |
|
สาลี่นก หรือ สาลี่ถั่ว (ชื่อวิทยาศาสตร์: Pyrus calleryana จีน: 豆梨 หรือ 鸟梨; พินอิน: dòu lí หรือ niǎo lí; อังกฤษ: Callery pear) เป็นไม้ผลผลัดใบในสกุลสาลี่ วงศ์ Rosaceae มีถิ่นกำเนิดในในประเทศจีนตะวันออกและจีนตอนใต้จนถึงเวียดนาม[2] รวมทั้งเกาหลีและญี่ปุ่น[3] มักขึ้นในป่าเชิงเขา ริมหนองบึง และป่าหญ้าที่มีอากาศอบอุ่นและชื้น สามารถใช้เป็นต้นตอในการติดตาต่อกิ่ง รากและใบมีคุณค่าทางยา บำรุงปอด บรรเทาอาการไอ คลายร้อน ล้างพิษ รักษาโรคตาแดงเฉียบพลัน ผลมีขนาดเล็ก ผลไม้ช่วยทำให้กระเพาะแข็งแรง บรรเทาโรคบิด
อนุกรมวิธาน
[แก้]สาลี่นก (P. calleryana) ตั้งชื่อตามผู้เชี่ยวชาญจีนวิทยาชาวอิตาลี-ฝรั่งเศส โจเซฟ-มารี แคลเลอรี (Joseph-Marie Callery; ค.ศ. 1810–ค.ศ. 1862) ซึ่งส่งตัวอย่างต้นไม้จากจีนไปยังยุโรป[4][5]
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
[แก้]สาลี่นกเป็นไม้ผลผลัดใบ มีความสูง 5–8 เมตร (16–26 ฟุต)[6] มักมีทรงพุ่มรูปกรวยถึงกลมมน[7]
ใบเป็นรูปไข่ ยาว 4–8 เซนติเมตร (1+1⁄2 ถึง 3 นิ้ว) สีเขียวเข้มมันด้านบน ด้านล่างสีซีดกว่าเล็กน้อย ก้านใบยาว ใบเมื่อเริ่มงอกเป็นทรงกระบอก (terete) และมีขนสั้น ๆ (tomentose) เมื่อแก่ใบเกลี้ยง (glabrescent) ตารูปสามเหลี่ยมรี[7] เป็นไม้ผลัดใบในช่วงฤดูร้อนใบเป็นสีเขียวเข้ม ในฤดูใบไม้ร่วงมักจะเปลี่ยนเป็นสีตั้งแต่สีเหลืองและสีส้มไปจนถึงสีแดง สีชมพู สีม่วง
ช่อดอก มี 6-12 ดอก ดอกสีขาวห้ากลีบมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2–2.5 เซนติเมตร. (3⁄4 ถึง 1 นิ้ว) กลีบประดับรูปใบหอกขอบเรียบปลายแหลมหยัก ยาว 8-13 มิลลิเมตร[7] ออกดอกมากทั่วทั้งต้นในต้นฤดูใบไม้ผลิ เมื่อดอกร่วงจะออกใบเต็มที่
ผลเกลี้ยง สีน้ำตาลอมดำมีจุดสีซีด ทรงกลม (ซึ่งมักถูกสันนิษฐานว่ากินไม่ได้เนื่องจากมีเมล็ดที่มีไซยาไนด์เจืออยู่มาก) มีขนาดเล็กมาก เส้นผ่านศูนย์กลางน้อยกว่า 1 เซนติเมตร ก้านผลยาว 1.5–3 เซนติเมตร ผลค่อนข้างแข็งสากเกือบเป็นไม้ ช่วงติดผลคือเดือนสิงหาคม-กันยายน[7] มีนกช่วยกระจายเมล็ดจากการถ่ายมูล
สาลี่นกมีความสามารถต้านทานโรคใบไหม้ได้อย่างดี แม้ว่าในสายพันธุ์ปลูกต่าง ๆ แต่อ่อนไหวและได้รับความเสียหายจากพายุลมแรง (รวมทั้งพายุน้ำแข็ง หิมะตกหนัก) โดยง่าย ซึ่งทำให้เสียรูปทรงต้น หรือตายได้ เนื่องจากอัตราการเจริญเติบโตตามธรรมชาติที่เร็วเกินไป
-
สาลี่นกออกดอก
-
ใบสาลี่นกในฤดูใบไม้ร่วง
-
ใบสาลี่นกในฤดูใบไม้ร่วง (ภาพระยะใกล้)
-
ผลสาลี่นก
-
ผลสาลี่นกในฤดูหนาว
การแพร่กระจายและถิ่นที่อยู่
[แก้]พบในป่าเนินเขา ที่ราบ ป่าเบญจพรรณ ป่าทึบในมณฑลชานตง เหอหนาน เจียงซู เจ้อเจียง เจียงซี อานฮุย หูเป่ย์ หูหนาน ฝูเจี้ยน กวางตุ้ง กวางสี และยูนนาน ในสภาพอากาศที่อบอุ่นและชื้น เหนือระดับน้ำทะเล 80–1800 เมตร และในภาคเหนือของเวียดนาม[7]
การใช้ประโยชน์
[แก้]ไม้สาลี่ (ทุกชนิด) เป็นไม้ที่มีเนื้อสัมผัสที่ดีที่สุดในจำนวนพืชไม้ผลทั้งหมด มีเนื้อแข็งและมีเนื้อแน่นเหมาะสำหรับทำเครื่องเป่าลมไม้ และใช้ในเฟอร์นิเจอร์ชั้นดี[7] นอกจากนี้ยังเป็นที่ต้องการสำหรับเป็นแผ่นไม้แกะสำหรับงานภาพพิมพ์แกะไม้ด้วย[8]
สาลี่นกถูกใช้เป็นต้นตอสำหรับการติดตาต่อกิ่งแพร์และโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับสาลี่จีน
สาลี่นก (P. calleryana) ได้ถูกนำเข้าไปปลูกครั้งแรกในสหรัฐอเมริกาในปี 1909 และ 1916 โดยส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลจากงานวิจัยของแฟรงค์ เมเยอร์ (Frank N. Meyer) นักสำรวจพันธุ์พืชของกระทรวงเกษตรสหรัฐ หรือที่รู้จักกันทั่วไปในเรื่องการค้นพบ "มะนาวเมเยอร์" สำหรับการทดลองทางการเกษตรในเรื่องศักยภาพของสายพันธุ์ในฐานะเป็นไม้ประดับ[2]
ในไต้หวัน พบใช้เป็นผลไม้แทนซานจาในถังหูหลู เรียกว่า หลี่จึเซียน (李仔攕), เหนี่ยวหลีจึเกา (鳥梨仔膏), เหนี่ยวหลีจึถัง (鳥梨仔糖)[9][10]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Pyrus calleryana Decne". Plants of the World Online. Board of Trustees of the Royal Botanic Gardens, Kew. 2017. สืบค้นเมื่อ 22 September 2020.
- ↑ 2.0 2.1 Swearingen, J.; B. Slattery; K. Reshetiloff; S. Zwicker (2010). Plant Invaders of Mid-Atlantic Natural Areas (4th ed.). Washington, D.C.: National Park Service and U.S. Fish and Wildlife Service. p. 168.
- ↑ "Pyrus calleryana Decne. | Plants of the World Online | Kew Science". Plants of the World Online (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ Reimer, F.C., "A promising new pear stock," The Monthly Bulletin, California State Commission of Horticulture, 5:5 (May 1916), p. 167.
- ↑ Bretschneider, Emil (1898), History of European botanical discoveries in China, vol. 1, Sampson Low, p. 525, ISBN 9783863471651
- ↑ Gu, Cuizhi; Spongberg, Stephen A. "Pyrus calleryana". Flora of China. Vol. 9 – โดยทาง eFloras.org, Missouri Botanical Garden, St. Louis, MO & Harvard University Herbaria, Cambridge, MA.
- ↑ 7.0 7.1 7.2 7.3 7.4 7.5 "Pyrus calleryana in Flora of China @ efloras.org". www.efloras.org.
- ↑ Escher, M.C. The Graphic Work of M. C. Escher. Pub: Oldbourne Book Co. London. 1961. page 9
- ↑ 桑渝柔 (moongirl0515) (2011-04-10). "♥。台灣古早人氣第一零食 鳥梨仔". 隨意窩 Xuite日誌. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-02-07. สืบค้นเมื่อ 2022-02-07.
- ↑ 三立新聞網 (2020-01-16). "宮廷御醫也治不好的病 竟然靠它…吃幾顆就能痊癒?! | 寶神 | 三立新聞網 SETN.COM". www.setn.com (ภาษาจีน).