สมเด็จพระวันรัต
สมเด็จพระวันรัต | |
---|---|
การเรียกขาน | ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ |
จวน | พระอารามหลวง |
ผู้แต่งตั้ง | พระมหากษัตริย์ไทย |
วาระ | ตลอดพระชีพ |
ผู้ประเดิมตำแหน่ง | พระธรรมธิราราชมหามุนี ว่าที่พระพนรัตน |
สถาปนา | พ.ศ. 2325 |
เงินตอบแทน | 27,400 บาท[1] |
สมเด็จพระวันรัต แปลว่า ผู้ยินดีในการอยู่ป่า ผู้รักการอยู่ป่า เดิมใช้คำว่า พนรัตน์ และ วันรัตน์ ซึ่งแปลว่า ป่าแก้ว ปัจจุบันเป็นราชทินนามสมเด็จพระราชาคณะรูปหนึ่งในฝ่ายธรรมยุติกนิกาย
วันรัตน์ เป็นนามที่ได้มาจากลังกา สันนิษฐานตามคำแปลว่าคงเป็นสังฆนายกฝ่ายอรัญวาสี คู่กับสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ซึ่งเป็นสังฆนายกฝ่ายคามวาสี ในพระราชพงศาวดาร ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) ปรากฏนามนี้ครั้งแรกในรัชสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ว่าพระพนรัตน์ป่าแก้วให้ฤกษ์แก่พระศรีสินในการก่อกบฏ[2] ที่มีชื่อเสียงปรากฏเด่นชัดอีกรูปหนึ่งคือสมเด็จพระพนรัตน์ป่าแก้ว ซึ่งได้เข้าไปถวายพระพรสมเด็จพระนเรศวรมหาราชขอพระราชทานอภัยโทษแก่แม่ทัพนายกองที่ตามเสด็จไม่ทันคราวสงครามยุทธหัตถี[2]
สมเด็จพระวันรัต ในสมัยกรุงศรีอยุธยาพระมหาเถระผู้จะได้รับพระราชทานนามนี้จะต้องมีความสำคัญมากในด้านภูมิธรรม โดยเฉพาะความป็นผู้ยินดีในการปฏิบัติกรรมฐาน ยินดีในการปลีกวิเวก
ฐานานุกรม
[แก้]สมเด็จพระวันรัต มีฐานานุศักดิ์ตั้งฐานานุกรมได้ 10 รูป ดังนี้
- พระครูปลัดสัมพิพัฒนสุตาจารย์ ญาณโกศล วิมลศีลาจาร มหาคณาธิการนายก ปิฎกธรรมรักขิต
|
|
รายนามสมเด็จพระวันรัตสมัยรัตนโกสินทร์
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช), พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุด คำวัด, วัดราชโอรสาราม กรุงเทพฯ พ.ศ. 2548
- ↑ "บัญชีนิตยภัต ฉบับปรับปรุงใหม่ เริ่มใช้ตั้งแต่ 1 เมษายน 2554 เป็นต้นไป". สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดภูเก็ต. 27 เมษายน 2555. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-06-18. สืบค้นเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 2.0 2.1 พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ, พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และเอกสารอื่น, นนทบุรี : ศรีปัญญา, 2553.