ข้ามไปเนื้อหา

พระพนรัตน์ป่าแก้ว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

พระพนรัตน์ป่าแก้ว เป็นพระสังฆราชกรุงศรีอยุธยาในรัชสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ

ประวัติ

[แก้]

พระพนรัตน์ป่าแก้ว มีนามเดิมอย่างไรไม่ปรากฏ ในรัชสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ท่านเป็นพระสังฆราช[1] มีราชทินนามว่าพระพนรัตน์ ในปี พ.ศ. 2104 พระศรีสินจะก่อกบฏ ได้ไปขอฤกษ์กับพระสังฆราชป่าแก้วเพื่อทำการยึดอำนาจ ท่านว่าวันเสาร์ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 8 (ตรงกับวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2104[2]) เป็นฤกษ์ดีให้ยกพลเข้ามา[3] แต่พระยาสีหราชเดโช พระยาท้ายน้ำ พระยาพิชัยรณฤทธิ หมื่นภักดีศวร และหมื่นภัยนรินทร์ ซึ่งต้องโทษขังอยู่ได้ส่งหนังสือไปกราบทูลพระศรีสินว่าพวกตนจะถูกประหารหลังวันพระแรม 15 ค่ำ เดือน 8 จึงขอให้พระศรีสินยกเข้ามาช่วยตนก่อน พระศรีสินจึงยกพลมาในตอนเย็นวันแรม 14 ค่ำ รุ่งขึ้นเป็นวันพระ เข้าพระราชวังได้ก็ปล่อยขุนนางทั้ง 5 แล้วปะทะกับกองพลฝ่ายพระราเมศวร พระมหินทราธิราช และพวกเสนาบดี จนพระศรีสินต้องปืนสิ้นพระชนม์ ต่อมาสมเด็จพระมหาจักรพรรดิรับสั่งให้ประหารชีวิตพระพนรัตน์ป่าแก้วและขุนนางทั้ง 5 แล้วนำศพไปเสียบประจานที่ตะแลงแกงกับศพพระศรีสิน[4]

อ้างอิง

[แก้]
เชิงอรรถ
  1. นามานุกรมพระมหากษัตริย์ไทย, หน้า 105
  2. การปรับแก้เทียบศักราช และ การอธิบายความ พระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐ, หน้า 118
  3. ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 64 พงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม), หน้า 56
  4. ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 64 พงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม), หน้า 57
บรรณานุกรม
  • ตรงใจ หุตางกูร. การปรับแก้เทียบศักราช และ การอธิบายความ พระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐ. กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), 2561. 200 หน้า. หน้า 118-119.
  • ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 64 พงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร, 2479. 437 หน้า. หน้า 56-57. [เจ้าภาพพิมพ์ในงานปลงศพ คุณหญิงปฏิภาณพิเศษ (ลมุน อมาตยกุล) ณ วัดประยุรวงศาวาส วันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2479]
  • มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา. นามานุกรมพระมหากษัตริย์ไทย. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา, 2554. 264 หน้า. หน้า 105-106. ISBN 978-616-7308-25-8