สมเด็จพระสังฆราช (ศุข)
สมเด็จพระสังฆราช (ศุข) | |
---|---|
สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก | |
สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก | |
ดำรงพระยศ | พ.ศ. 2336 - พ.ศ. 2359 |
สถาปนา | พ.ศ. 2336 วัดพระศรีรัตนศาสดาราม |
ก่อนหน้า | สมเด็จพระสังฆราช (ศรี) |
ถัดไป | สมเด็จพระอริยวงษญาณ (มี) |
สถิต | วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร |
ประสูติ | พ.ศ. 2278 |
สิ้นพระชนม์ | 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2359พระชันษาเกิน(80ปี) วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร พระนคร |
สมเด็จพระสังฆราช พระนามเดิม ศุข หรือ สุก เป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 4 แห่งอาณาจักรรัตนโกสินทร์ สถิต ณ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เมื่อปี พ.ศ. 2337 ทรงดำรงตำแหน่งอยู่ 23 ปี สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2359 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
พระประวัติในตอนต้นไม่ปรากฏหลักฐาน พระประวัติเมื่อครั้งกรุงธนบุรี เป็นพระราชาคณะที่พระญาณสมโพธ อยู่วัดมหาธาตุ ถึงปี พ.ศ. 2323 เมื่อปลายรัชกาลของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี และได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็น พระธรรมเจดีย์ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชได้รับการโปรดเกล้า ฯ ให้เป็นที่ พระพนรัตน อันเป็นตำแหน่งรองสมเด็จพระสังฆราช
สมเด็จพระสังฆราช (ศุข) ขณะที่ทรงสมณศักดิ์ที่พระพนรัตน ได้เป็นแม่กองชำระพระวินัยปิฎก ในครั้งที่มีการสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งแรกของกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อปี พ.ศ. 2331 ทรงรอบรู้แตกฉานในพระไตรปิฎก ทรงจัดระเบียบการสอบพระปริยัติธรรมเพื่อเป็นเปรียญ แบบ 3 ชั้น คือ เปรียญตรี เปรียญโท และเปรียญเอก
ในปี พ.ศ. 2336 เมื่อสมเด็จพระสังฆราช (ศรี) สิ้นพระชนม์ จึงโปรดตั้งเป็นสมเด็จพระสังฆราช และได้เป็นพระอุปัชฌาย์ในคราวผนวชสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท กรมพระราชวังหลัง เจ้าฟ้ากรมขุนเสนานุรักษ์[1][2]
ใน สมัยของพระองค์ ได้มีการส่งสมณทูตไทยไปสืบข่าวพระศาสนา ณ ลังกาทวีป เป็นครั้งแรกในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อปี พ.ศ. 2358 หลังจากที่ว่างเว้นมา 60 ปี จากสมัยกรุงศรีอยุธยา
สมเด็จพระสังฆราช (สุก) สิ้นพระชนม์เมื่อวันพุธ แรม 11 ค่ำ เดือน 6 ปีชวด จ.ศ. 1178 (ตรงกับวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2359) เวลา 2 โมงเช้า[3]
อ้างอิง
[แก้]- เชิงอรรถ
- ↑ พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๑ : ๗๒. ตั้งสมเด็จพระสังฆราช (ศุข) ทรงผนวชสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ และนักองเอง
- ↑ เรื่องตั้งพระราชาคณะผู้ใหญ่ในกรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม ๑, หน้า 52
- ↑ พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๑ : ๔๒. สถาปนาสมเด็จพระสังฆราช (มี)
- บรรณานุกรม
- ดำรงรชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา (2459). "พระราชพงษาวดาร กรุงรัตนโกสินทร รัชกาลที่ ๒". ห้องสมุดดิจิทัลวชิรญาณ. สืบค้นเมื่อ 10 กันยายน 2560.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค), เจ้าพระยา (11 สิงหาคม 2531). "พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๑". ห้องสมุดดิจิทัลวชิรญาณ. สืบค้นเมื่อ 10 กันยายน 2560.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - สมมอมรพันธุ์, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระ. เรื่องตั้งพระราชาคณะผู้ใหญ่ในกรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม ๑. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2545. 428 หน้า. หน้า 51. ISBN 974-417-530-3
ก่อนหน้า | สมเด็จพระสังฆราช (ศุข) | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
สมเด็จพระสังฆราช (ศรี) | สมเด็จพระสังฆราชแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (พ.ศ. 2336 - พ.ศ. 2359) |
สมเด็จพระอริยวงษญาณ (มี) |