สมัยทิวดอร์
สมัยทิวดอร์ | |
---|---|
ค.ศ. 1485 ถึงปี ค.ศ. 1603 | |
ก่อนหน้า | ไม่มี |
ตามด้วย | สมัยเอลิซาเบธ |
กษัตริย์ | กษัตริย์ราชวงศ์ทิวดอร์ |
ประวัติศาสตร์ - ยุคสมัย - กษัตริย์ |
สมัยในประวัติศาสตร์อังกฤษ |
---|
เส้นเวลา |
สมัยทิวดอร์ (อังกฤษ: Tudor period) มักจะกล่าวถึงช่วงระยะเวลาระหว่างปี ค.ศ. 1485 ถึงปี ค.ศ. 1603 โดยเฉพาะเมื่อเกี่ยวกับประวัติศาสตร์อังกฤษ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ตรงกับราชวงศ์ทิวดอร์ปกครองอังกฤษ โดยมีพระเจ้าเฮนรีที่ 7เป็นปฐมกษัตริย์ สมัยทิวดอร์เรียกอย่างกว้างๆ ที่รวมรัชสมัยของพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 แต่รัชสมัยของพระราชินีนาถเอลิซาเบธก็ถือว่าอีกสมัยหนึ่งต่างหากที่เป็นสมัยเอลิซาเบธ
การปฏิวัติทางสังคมและทางเศรษฐกิจ
[แก้]หลังจากกาฬโรคระบาดในยุโรปและความเสื่อมโทรมทางด้านการเกษตรกรรมของปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 การขยายตัวของประชาชนก็เพิ่มมากขึ้น การขยายตัวของการส่งออกของผลิตภัณฑ์ขนแกะไปยังยุโรปทำให้เพิ่มฐานะทางเศรษฐกิจ ในปี ค.ศ. 1496 พระเจ้าเฮนรีที่ 7 ทรงประสบความสำเร็จในการตกลงในสนธิสัญญาอินเตอร์เคอร์ซัสแม็กนัส (Intercursus Magnus) ซึ่งเป็นสนธิสัญญาทางการค้ากับประเทศในยุโรปที่อังกฤษเป็นฝ่ายได้เปรียบ[1]
ค่าจ้างแรงงานที่สูงและที่ดินที่มีมากมายในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 15 ก็มาแทนที่ด้วยค่าจ้างแรงงานที่ถูกลงและความขาดแคลนที่ดิน ภาวะเงินเฟ้อซึ่งอาจจะมีสาเหตุมาจากทองที่หลั่งไหลเข้ามาจากอเมริกาและการขยายตัวของจำนวนประชากรเป็นบ่อเกิดของความไม่สงบในสังคมซึ่งมาจากช่องว่างระหว่างผู้มีฐานะดีและคนยากจนที่ขยายตัวมากขึ้น[2] สมัยนี้เป็นสมัยของการเปลี่ยนแปลงของประชากรที่อาศัยอยู่ในชนบทที่มีเจ้านายเป็นขุนนางที่เริ่มจะลดจำนวนน้อยลงตามลำดับ
อ้างอิง
[แก้]