สนมเอกสี่ทิศ
สนมเอกสี่ทิศ เป็นข้อสันนิษฐาน[1] ของนักประวัติศาสตร์ไทยว่า พระสนมเอกสี่ตำแหน่งของพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาน่าจะเป็นสตรีที่สืบเชื้อสายมาจากราชวงศ์ทั้งสี่ที่อยู่รายรอบกรุงศรีอยุธยา[2]
ภูมิหลัง
[แก้]กฎหมายของกรุงศรีอยุธยา คือ พระไอยการตำแหน่งนาพลเรือน ซึ่งตราขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1998 ในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ[1] กำหนดว่า พระมหากษัตริย์มีพระสนมเอกสี่ตำแหน่ง คือ ท้าวอินทรสุเรนทร์ ท้าวศรีสุดาจันทร์ ท้าวอินทรเทวี และท้าวศรีจุฬาลักษณ์ ทั้งสี่นี้ถือศักดินาคนละ 1,000[3]
ชื่อ "อินทรสุเรนทร์", "ศรีสุดาจันทร์", "อินทรเทวี", และ "ศรีจุฬาลักษณ์" นี้เป็นชื่อตำแหน่ง มิใช่ชื่อตัว สตรีผู้เป็นพระสนมเอกจะมีชื่อตัวอย่างไรก็ได้ แต่เมื่อได้เป็นพระสนมเอกแล้ว ก็จะต้องได้ชื่อตำแหน่งชื่อใดชื่อหนึ่งในสี่ชื่อนี้[2] ชื่อเหล่านี้นักประวัติศาสตร์เห็นว่า เป็นร่องรอยที่บ่งบอกถึงการสืบเชื้อสายจากราชวงศ์ทั้งสี่ที่อยู่รายรอบกรุงศรีอยุธยา[2] ไม่ใช่สามัญชน และเป็นสัญลักษณ์แสดงอำนาจของกษัตริย์กรุงศรีอยุธยาที่ปกแผ่ออกไปทั้ง 4 ทิศ[4]
ข้อสันนิษฐาน
[แก้]สุจิตต์ วงษ์เทศ สันนิษฐานว่า พระสนมเอกทั้งสี่ตำแหน่งต้องเป็นผู้สืบเชื้อสายราชวงศ์ดังต่อไปนี้ คือ ท้าวอินทรสุเรนทร์จากราชวงศ์สุพรรณภูมิทางทิศตะวันตกของกรุงศรีอยุธยา, ท้าวศรีจุฬาลักษณ์จากราชวงศ์พระร่วงทางทิศเหนือของกรุงศรีอยุธยา, ท้าวอินทรเทวีจากราชวงศ์ศรีธรรมาโศกราชทางทิศใต้ของกรุงศรีอยุธยา, และท้าวศรีสุดาจันทร์จากราชวงศ์ละโว้-อโยธยาทางทิศตะวันออกของกรุงศรีอยุธยา[5] โดยเห็นว่า สตรีที่จะเข้าดำรงตำแหน่งพระสนมเอกต้องไม่ใช่สามัญชน แต่ต้องสืบเชื้อสายจากเจ้านายที่ปกครองแว่นแคว้นรอบกรุงศรีอยุธยาซึ่งถูกผนวกรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของกรุงศรีอยุธยาแล้ว และเจ้าผู้ครองแว่นแคว้นเหล่านั้นต้องถวายเชื้อสายของตนเข้ามาเป็นพระสนมเอก เพื่อเป็นสัญลักษณ์ว่า พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์กรุงศรีอยุธยาแผ่ไปยังทิศทั้งสี่[6] และพระสนมองค์ใดประสูติพระราชโอรสได้ ก็จะได้รับยกย่องเป็น "แม่หยัวเมือง" ซึ่งมีฐานะรองจากพระอัครมเหสี[7]
สุจิตต์ วงษ์เทศ เชื่อว่า ท้าวอินสุเรนทร์ มาจากราชวงศ์สุพรรณภูมิทางทิศตะวันตกนั้น เพราะเห็นว่า แถบนี้มักปรากฏคำว่า "อินทร์" ในชื่อบุคคล เช่น เจ้านครอินทร์ พระมหากษัตริย์ราชวงศ์สุพรรณภูมิ ตลอดจนออกพระศรีสุรินทรฤๅไชย ชื่อตำแหน่งเจ้าเมืองเพชรบุรี และออกพระสุรบดินสุรินทฤๅไชย ชื่อตำแหน่งเจ้าเมืองชัยนาท ซึ่งทั้งสองอยู่ในเขตแคว้นสุพรรณภูมิ ก็มาจากคำว่า "สุร+อินทร"[8] แต่พิเศษ เจียจันทร์พงษ์ เห็นว่า ท้าวอินสุเรนทร์น่าจะเป็นตำแหน่งสำหรับสตรีจากสุโขทัยมากกว่า[9]
สำหรับท้าวอินทรเทวี สุจิตต์ วงษ์เทศ เชื่อว่า มาจากราชวงศ์ศรีธรรมาโศกราชทางทิศใต้ เพราะว่า ขุนอินทรเทพในสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิได้เป็นเจ้าพระยาศรีธรรมาโศกราช เจ้าเมืองนครศรีธรรมราช แสดงว่า ชื่อ "อินทรเทพ" หรือ "อินทรเทวี" น่าจะเกี่ยวข้องกับราชวงศ์ศรีธรรมาโศกราชทางทิศใต้[10] พิเศษ เจียจันทร์พงศ์ เห็นเช่นกันว่า ท้าวอินทรเทวีน่าจะมาจากทางใต้มากกว่า[9]
ส่วนท้าวศรีจุฬาลักษณ์ สุจิตต์ วงษ์เทศ เชื่อว่า มาจากราชวงศ์พระร่วงทางทิศเหนือ เพราะจารึกสุโขทัยระบุว่า ท้าวศรีจุฬาลักษณ์เดิมเป็นตำแหน่งพระมเหสีของพระมหากษัตริย์กรุงสุโขทัย ดังปรากฏท้าวศรีจุฬาลักษณ์พระองค์หนึ่งในจารึกวัดบูรพาราม มีพระนามว่า "สมเด็จพระราชเทวี สรีจุฬาลักษณ์ อัครราชมหิศิเทพ ธรณีดิลกรัตนบพิตรเป็นเจ้า ผู้เป็นบาทบริจาริการัตนชายาแด่สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช" จนเมื่อกรุงสุโขทัยถูกผนวกรวมเข้ากับกรุงศรีอยุธยาแล้ว เชื้อสายราชวงศ์สุโขทัยจึงถูกลดฐานะ และชื่อ "ท้าวศรีจุฬาลักษณ์" ก็ถูกริบเป็นชื่อตำแหน่งพระสนมของพระมหากษัตริย์กรุงศรีอยุธยาแทน[11] แต่พิเศษ เจียจันทร์พงศ์ เห็นแย้งว่า ท้าวศรีจุฬาลักษณ์น่าจะเป็นเชื้อสายราชวงศ์สุพรรณภูมิมากกว่า เพราะปรากฏว่า พระมหาธรรมราชาสุโขทัย พระโอรสองค์หนึ่งของพระมหาธรรมราชาที่ 1 (พระยาลิไทย) ได้อภิเษกสมรสกับพระมหาเทวีศรีจุฬาลักษณ์ซึ่งมีพระชาติกำเนิดเป็นเจ้าหญิงในราชวงศ์สุพรรณภูมิ[12] และมีพระโอรสด้วยกันสองพระองค์ คือ รามราชา กับอโสก[13] นอกจากนี้ ท้าวศรีจุฬาลักษณ์ (แจ่ม) ในสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ก็ยังมีพื้นเพมาจากสุพรรณภูมิ[9]
ท้าวศรีจุฬาลักษณ์ซึ่งที่เป็นที่รู้จักมากที่สุด คือ ท้าวศรีจุฬาลักษณ์ (แจ่ม) ซึ่งถูกประหารเพราะลอบเป็นชู้กับเจ้าฟ้าน้อย พระราชอนุชาของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช[14]
เหลืออีกตำแหน่ง คือ ท้าวศรีสุดาจันทร์ ไม่มีที่มาที่ไปชัดเจน สุจิตต์ วงษ์เทศ จึงโยงเข้ากับทิศที่เหลือ คือ ทิศตะวันออก อันเป็นทิศของราชวงศ์ละโว้-อโยธยา[5] และพิเศษ เจียจันทร์พงศ์ ก็เห็นด้วยว่า ท้าวศรีสุดาจันทร์มาจากราชวงศ์ดังกล่าว[15]
ท้าวศรีสุดาจันทร์ซึ่งเป็นที่รู้จักมากที่สุด คือ ท้าวศรีสุดาจันทร์ในรัชกาลสมเด็จพระไชยราชาธิราชและขุนวรวงศาธิราช
ในวรรณกรรม
[แก้]มีการกล่าวถึงท้าวศรีจุฬาลักษณ์โดยยกย่องสูงสูงใน โคลงกำสรวลสมุทร และ โคลงทวาทศมาส ซึ่งสุจิตต์ วงษ์เทศ สันนิษฐานว่า เป็นพระราชนิพนธ์กษัตริย์อยุธยาพระองค์ใดพระองค์หนึ่ง[8] ส่วนเพ็ญสุภา สุขคตะ ใจอินทร์ ว่า น่าจะเป็นของสมเด็จพระบรมราชาที่ 3[16] เนื้อความที่กล่าวถึงมีว่า
๏ หน้าเจ้าชู้ช้อยฉาบ | แรมรัก | |
สาวสื่อมาพลางลืม | แล่นไห้ |
บาศรีจุฬาลักษณ์ | เสาวภาคย์ กูเอย | |
เรียมเรียกฝูงเข้าใกล้ | สั่งเทา ฯ |
๏ เดชานุภาพเรื้อง | อารักษ์ ท่านฮา | |
รักเทพจำสารโดย | บอกบ้าง |
บาศรีจุฬาลักษณ์ | ยศยิ่ง พู้นแม่ | |
ไปย่อมโหยไห้อ้าง | โอ่สาร ฯ | |
— กำสรวลสมุทร |
๏ อาณาอาณาศเพี้ยง | เพ็ญพักตร์ | |
อกก่ำกรมทรวงถอน | ถอดไส้ |
ดวงศรีจุฬาลักษณ์ | เฉลิมโลก กูเอย | |
เดือนใหม่มามาได้ | โสกสมร ฯ | |
— ทวาทศมาส |
และยังปรากฏบทโต้ตอบระหว่างท้าวศรีจุฬาลักษณ์ (แจ่ม) พระสนมของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช กับศรีปราชญ์ กวีเอกในรัชกาล ที่นางมองเขาอย่างเหยียดหยาม ความว่า[16]
๏ หะหายกระต่ายเต้น | ชมจันทร์ | |
มันบ่เจียมตัวมัน | ต่ำต้อย |
นกยูงหากกระสัน | ถึงเมฆ | |
มันบ่เจียมตัวน้อย | ต่ำต้อยเดียรฉาน ฯ | |
— ท้าวศรีจุฬาลักษณ์ (แจ่ม) |
๏ หะหายกระต่ายเต้น | ชมแข | |
สูงส่งสุดตาแล | สุดฟ้า |
ระดูฤดูแด | สัตว์สู่ กันนา | |
อย่าว่าเราเจ้าข้า | อยู่พื้นเดียวกัน ฯ | |
— ศรีปราชญ์ |
นอกจากนี้ นางนพมาศที่ปรากฏใน เรื่องนางนพมาศ หรือตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ ก็ว่า มียศเป็นท้าวศรีจุฬาลักษณ์ในพระร่วงเจ้าพระองค์หนึ่ง แต่เอกสารนี้แต่งขึ้นช่วงกรุงรัตนโกสินทร์ราวรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว[17][18][19] โดยมีเนื้อหาเป็นการที่นางนพมาศบอกเล่าความเป็นไปภายในรัฐสุโขทัยว่า มีความเจริญรุ่งเรืองสมบูรณ์พูนสุขนานัปการ ในรัฐมีคนต่างชาติต่างภาษาและศาสนาอาศัยอยู่ร่วมกัน และเรื่องที่เด่นที่สุด คือ การที่นางประดิษฐ์กระทงขึ้นมา[17]
ในวัฒนธรรมประชานิยม
[แก้]- สุริโยไท (2544) บทท้าวศรีสุดาจันทร์ นำแสดงโดยใหม่ เจริญปุระ[20]
- กบฏท้าวศรีสุดาจัน (2548) บทท้าวศรีสุดาจันทร์ นำแสดงโดยยศวดี หัสดีวิจิตร[21]
- แม่หยัว (2567) บทท้าวศรีสุดาจันทร์ นำแสดงโดยดาวิกา โฮร์เน่
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "ตำแหน่งท้าวศรีจุฬาลักษณ์ ของนางนพมาศ ไม่ใช่ตำแหน่งของราชสำนักสุโขทัย". มติชนสุดสัปดาห์. กรุงเทพฯ: มติชน. 2559, 17 พฤศจิกายน.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ 2.0 2.1 2.2 สุจิตต์ วงษ์เทศ (2540). ท้าวศรีสุดาจันทร์ "แม่หยัวเมือง" ใครว่าหล่อนชั่ว?. กรุงเทพฯ: มติชน. p. 61. ISBN 974-7311-70-4.
ชื่อเหล่านี้เป็นชื่อตำแหน่ง ไม่ใช่ชื่อตัว ใครจะมีชื่อตัวอย่างไรก็ได้...แต่เมื่อได้เป็นที่สนมเอก ก็จะต้องได้ชื่อตำแหน่งชื่อใดชื่อหนึ่งตามบทพระไอยการฯ ที่มีร่องรอยว่า แต่ละตำแหน่งล้วนเป็นเชื้อสายราชวงศ์ใดราชวงศ์หนึ่งที่อยู่โดยรอบกรุงศรีอยุธยา
- ↑ "พระไอยการตำแหน่งนาพลเรือน". กฎหมายตรา 3 ดวง ฉบับพิมพ์มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง เล่ม 1. กรุงเทพฯ: สุขภาพใจ. 2548. p. 119. ISBN 974-409-652-7.
แลนางท้าวพระสนมเอกทัง 4 คือ ท้าวอินสุเรนทร 1 ท้าวศรีสุดาจัน 1 ท้าวอินทรเทวี 1 ท้าวศรีจุลาลักษ 1 นาคละ 1000
- ↑ ล้อม เพ็งแก้ว, สุจิตต์ วงษ์เทศ (บก.), และคณะ. กำสรวลสมุทรเป็นพระราชนิพนธ์ยุคต้นกรุงศรีอยุธยา หรือกำสรวลศรีปราชญ์. กรุงเทพฯ : มติชน, 2549. 189 หน้า. หน้า 24–27. ISBN 978-974-3236-08-2
- ↑ 5.0 5.1 สุจิตต์ วงษ์เทศ (2540). ท้าวศรีสุดาจันทร์ "แม่หยัวเมือง" ใครว่าหล่อนชั่ว?. กรุงเทพฯ: มติชน. p. 64. ISBN 974-7311-70-4.
ศรีจุฬาลักษณ์เป็นชื่อตำแหน่งเชื้อสายราชวงศ์สุโขทัยทางทิศเหนือ อินทรสุเรนทร์เป็นชื่อตำแหน่งเชื้อสายราชวงศ์สุพรรณภูมิ (สุพรรณบุรี) ทางทิศตะวันตก อินทรเทวีเป็นชื่อตำแหน่งเชื้อสายราชวงศ์นครศรีธรรมราชทางทิศใตั เหลืออีกทิศเดียว คือ ตะวันออก เพราะฉะนั้น น่าเชื่อว่า ศรีสุดาจันทร์เป็นชื่อตำแหน่งเชื้อสายราชวงศ์ละโว้-อโยธยาทางทิศตะวันออก
- ↑ สุจิตต์ วงษ์เทศ (2540). ท้าวศรีสุดาจันทร์ "แม่หยัวเมือง" ใครว่าหล่อนชั่ว?. กรุงเทพฯ: มติชน. p. 66. ISBN 974-7311-70-4.
- ↑ สุจิตต์ วงษ์เทศ (2540). ท้าวศรีสุดาจันทร์ "แม่หยัวเมือง" ใครว่าหล่อนชั่ว?. กรุงเทพฯ: มติชน. p. 69. ISBN 974-7311-70-4.
- ↑ 8.0 8.1 สุจิตต์ วงษ์เทศ (2540). ท้าวศรีสุดาจันทร์ "แม่หยัวเมือง" ใครว่าหล่อนชั่ว?. กรุงเทพฯ: มติชน. p. 63. ISBN 974-7311-70-4.
- ↑ 9.0 9.1 9.2 พิเศษ เจียจันทร์พงษ์ (ม.ป.ป.). "ความหมายของพระพุทธรูปศิลปะอู่ทองที่พบในสุโขทัย" (PDF). ดำรงวิชาการ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร: 64.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|year=
(help) - ↑ สุจิตต์ วงษ์เทศ (2540). ท้าวศรีสุดาจันทร์ "แม่หยัวเมือง" ใครว่าหล่อนชั่ว?. กรุงเทพฯ: มติชน. p. 64. ISBN 974-7311-70-4.
- ↑ สุจิตต์ วงษ์เทศ (2540). ท้าวศรีสุดาจันทร์ "แม่หยัวเมือง" ใครว่าหล่อนชั่ว?. กรุงเทพฯ: มติชน. pp. 62–63. ISBN 974-7311-70-4.
- ↑ พิเศษ เจียจันทร์พงษ์. การเมืองในประวัติศาสตร์ ยุคสุโขทัย-อยุธยา พระมหาธรรมราชา กษัตราธิราช. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : มติชน, 2553, หน้า 57
- ↑ พิเศษ เจียจันทร์พงษ์. การเมืองในประวัติศาสตร์ ยุคสุโขทัย-อยุธยา พระมหาธรรมราชา กษัตราธิราช. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : มติชน, 2553, หน้า 83
- ↑ ฟรังซัวส์ อังรี ตุรแปง เขียน, สมศรี เอี่ยมธรรม แปล. ประวัติศาสตร์ไทยสมัยกรุงศรีอยุทธยา. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร. 2522, หน้า 76-77
- ↑ พิเศษ เจียจันทร์พงษ์. สุริโยไท ประวัติศาสตร์จากภาพยนตร์. กรุงเทพฯ : รีดเดอร์ พับลิชชิ่ง, 2543, หน้า 40
- ↑ 16.0 16.1 เพ็ญสุภา สุขคตะ ใจอินทร์ (24 กุมภาพันธ์ 2555). "ชู้รัก "ศรีจุฬาลักษณ์" ไม่ใช่ "ศรีปราชญ์"". มติชนสุดสัปดาห์. 32:1645, หน้า 76
- ↑ 17.0 17.1 "นางนพมาศ ตัวตนจริงหรือตัวละคร". สำนักบรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สืบค้นเมื่อ 15 เมษายน 2557.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)[ลิงก์เสีย] - ↑ ทองเนื้อเก้า ประกายแสง (31 ตุลาคม 2556). "ลอยกระทง มรดกทางวัฒนธรรม ที่ถูกทำให้เกิดความเสื่อมเสีย?". สุวรรณภูมิ. สืบค้นเมื่อ 15 เมษายน 2557.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ สุจิตต์ วงษ์เทศ. (29 ตุลาคม 2552). "ลอยกระทง-นางนพมาศ มีครั้งแรกในรัชกาลที่ 3 กรุงรัตนโกสินทร์ ไม่เคยมีครั้งกรุงสุโขทัย". มติชนรายวัน, หน้า 20
- ↑ วิวัฒน์ พันธวุฒิยานนท์ (สิงหาคม 2544). "ประวัติศาสตร์ สุริโยไท บทสนทนาอันไม่รู้จบระหว่างปัจจุบันกับอดีต". สารคดี. สืบค้นเมื่อ 5 มิถุนายน 2558.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "กบฏท้าวศรีสุดาจัน". สยามโซน. สิงหาคม 2544. สืบค้นเมื่อ 5 มิถุนายน 2558.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- สุจิตต์ วงษ์เทศ (17 สิงหาคม 2555). "นางในนิราศ เป็นจินตนาการ เพื่อพิธีกรรมบำเพ็ญบารมี". สุจิตต์ วงษ์เทศ. สืบค้นเมื่อ 5 มิถุนายน 2558.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - สุจิตต์ วงษ์เทศ (19 ตุลาคม 2555). ""นาคาสังวาส" วรรณกรรมราชสำนักอยุธยา สืบนางนาคจากนครธม". สุจิตต์ วงษ์เทศ. สืบค้นเมื่อ 5 มิถุนายน 2558.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)