สตาดเดอฟร็องส์
ชื่อเต็ม | สตาดเดอฟร็องส์ |
---|---|
ที่อยู่ | แซ็ง-เดอนี ประเทศฝรั่งเศส |
ที่ตั้ง | แซกดูก็องนีย็องเหนือ แซ็ง-เดอนี แคว้นอีล-เดอ-ฟร็องส์ ประเทศฝรั่งเศส |
พิกัด | 48°55′28″N 2°21′37″E / 48.9245°N 2.3602°E |
ขนส่งมวลชน | แซ็ง-เดอนี – ปอร์ตเดอปารีส สตาดเดอฟร็องส์ – แซ็ง-เดอนี ลา แปลน – สตาดเดอฟร็องส์ |
เจ้าของ | สมาคมสตาดเดอฟร็องส์ |
ผู้ดำเนินการ | สมาคมสตาดเดอฟร็องส์ |
ชนิด | สนามกีฬาอเนกประสงค์ |
ที่นั่งพิเศษ | 172 |
ความจุ | 81,338 (ฟุตบอล, รักบี้); 77,083 (กรีฑา)[2] |
ขนาดสนาม | 119 × 75 m (130 × 82 yd) |
พื้นผิว | กราสมาสเตอร์ โดย Tarkett Sports |
การก่อสร้าง | |
ลงเสาเข็ม | 2 พฤษภาคม 1995 |
ก่อสร้าง | 1995–1998 |
เปิดใช้สนาม | 28 มกราคม 1998 |
งบประมาณในการก่อสร้าง | 364 ล้านยูโร |
สถาปนิก | มิเชล มาซารี[1] อโยเมริก ซูบเลนา[1] มิเชล เรเกมเบิล[1] คล็อดด์ คอนสแตนตินี[1] |
การใช้งาน | |
ฟุตบอลทีมชาติฝรั่งเศส (1998–ปัจจุบัน) รักบี้ทีมชาติฝรั่งเศส สตาดฟร็องซัวส์ (บางนัด) เรสซิงเมโทร 92 (บางนัด) | |
เว็บไซต์ | |
stadefrance.com |
สตาดเดอฟร็องส์ (ฝรั่งเศส: Stade de France) เป็นสนามกีฬาแห่งชาติของฝรั่งเศส ตั้งอยู่ในย่านแซ็งเดอนี ตอนเหนือของกรุงปารีส ทำให้เป็นสนามกีฬาที่ใหญ่เป็นอันดับ 8 ของยุโรป โดยใช้เป็นสนามเหย้าในการแข่งขันระหว่างประเทศทั้งของฟุตบอลทีมชาติฝรั่งเศสและรักบี้ทีมชาติฝรั่งเศส สนามกีฬาแห่งนี้เป็นสนามกีฬาประเภทที่ 4 จัดโดยยูฟ่า สนามแห่งนี้ใช้จัดการแข่งขันฟุตบอลโลก 1998 ที่ฝรั่งเศสเป็นเจ้าภาพ และในนัดชิงชนะเลิศ ฝรั่งเศสเป็นฝ่ายเอาชนะบราซิล ไปได้ 3–0 อย่างเหนือความคาดหมาย ได้แชมป์โลกไปครองเป็นสมัยแรกในที่สุด
สตาดเดอฟร็องส์ เปิดใช้ในวันที่ 28 มกราคม ค.ศ. 1998 ก่อนหน้าที่ฟุตบอลโลก 1998 จะเริ่มขึ้นไม่นาน ใช้เวลาสร้างประมาณ 3 ปี โดยมีความจุเต็มที่ 81,338 คน
ในฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2016 ซึ่งฝรั่งเศสเป็นเจ้าภาพ สตาดเดอฟร็องส์ก็ใช้เป็นสนามจัดการแข่งขันนัดเปิดสนามระหว่างฝรั่งเศสและโรมาเนีย ซึ่งเป็นการแข่งขันในรอบแรกกลุ่มเอ และนัดชิงชนะเลิศอีกด้วย
นอกจากฟุตบอลแล้ว สตลาดเดอฟร็องส์ยังใช้สนามจัดแข่งขันรักบี้ชิงแชมป์โลก 1999, กรีฑาชิงแชมป์โลก 2003 และรักบี้ชิงแชมป์โลก 2007
และใช้เป็นสถานที่จัดคอนเสิร์ตของนักร้องชื่อดังระดับโลกหลายคน เช่น จัสติน ทิมเบอร์เลก, เลดี้กาก้า, มาดอนน่า หรือริฮันน่า[3]
ในเหตุการณ์วินาศกรรมกรุงปารีสเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน ค.ศ. 2015 ก็มีเหตุระเบิดเกิดขึ้นใกล้ ๆ กับสตาดเดอฟรองส์ โดยขณะนั้นใช้จัดแข่งขันนัดกระชับมิตรระหว่างฝรั่งเศสกับเยอรมนี มีผู้ชมประมาณ 70,000 คน ในนาทีที่ 17 ก็เกิดระเบิดได้ยินชัดถึงในสนามถึง 2 ครั้ง แต่การแข่งขันก็ยังไม่ยุติลง โดยที่ประธานาธิบดีฟร็องซัว ออล็องด์ ก็ได้นั่งชมการแข่งขันอยู่ด้วย เมื่อได้ทราบเหตุก็ได้ลุกออกจากสนามทันทีโดยมีเจ้าหน้าที่คอยอารักขา แต่การแข่งขันยังคงดำเนินต่อไปจนจบ เมื่อจบการแข่งขัน โฆษกสนามได้ประกาศให้ผู้ชมทราบเหตุการณ์และให้ทยอยออกจากสนามทางประตูฝั่งตะวันตกโดยไม่แตกตื่นและเป็นไปด้วยความเป็นระเบียบ[4] โดยสตาดเดอฟรองส์เชื่อว่าเป็นเป้าหมายหนึ่งที่ผู้ก่อการร้ายเล็งไว้ให้เกิดเหตุโกลาหลจลาจลถึงขั้นเหยียบกันตาย[5]
ในโอลิมปิกฤดูร้อน 2024 สตาดเดอฟร็องส์จะใช้จัดกรีฑา รักบี้เจ็ดคน และพิธีปิด ส่วนพิธีเปิดจะจัดที่แม่น้ำแซนและฌาร์แด็งดูว์ทรอกาเดโร
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 "Zublena Macary Architects". e-Architect. 3 March 2010. สืบค้นเมื่อ 18 May 2021.
- ↑ "Stade de France". Stadiumdb.com
- ↑ จุดประกาย, EURO 2016 ยังไม่สิ้นกลิ่นความปัง Ready to Know รู้ไว้ไม่มีเอาท์ !. กรุงเทพธุรกิจปีที่ 29 ฉบับที่ 10123: วันศุกร์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2559
- ↑ "ปากคำจากสนาม : บรรยากาศในสตาด เดอ ฟรองซ์ เป็นอย่างไร". goal.com. 14 November 2015. สืบค้นเมื่อ 10 June 2016.
- ↑ "'สตาด เดอ ฟรองซ์' เป้าใหญ่ เล่นงานคน8หมื่น". ไทยรัฐ. 16 November 2015. สืบค้นเมื่อ 10 June 2016.