ข้ามไปเนื้อหา

กรีฑาสถานแห่งชาติญี่ปุ่น

พิกัด: 35°40′41.5″N 139°42′52.5″E / 35.678194°N 139.714583°E / 35.678194; 139.714583
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กรีฑาสถานแห่งชาติญี่ปุ่น
国立競技場
มุมมองทางอากาศ ปี 2020
แผนที่
ชื่อเต็มกรีฑาสถานแห่งชาติญี่ปุ่น
ที่ตั้ง10-2 เมืองคาสึมิกาโอกะ เขตชินจูกุ โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
พิกัด35°40′41.5″N 139°42′52.5″E / 35.678194°N 139.714583°E / 35.678194; 139.714583
ขนส่งมวลชน E25 โคคุริตสึ-เคียวกิโจ
East Japan Railway Company JB12 เซนดากายะ
เจ้าของสภากีฬาประเทศญี่ปุ่น
ความจุ68,000 (กรีฑา)
68,698 (ฟุตบอล)[1]
80,016 (ฟุตบอลและรักบี้ยูเนียน สูงสุดโดยมีที่นั่งชั่วคราวเหนือลู่วิ่ง)
ขนาดสนาม107 × 71 m
พื้นผิวหญ้า
การก่อสร้าง
ลงเสาเข็ม11 ธันวาคม 2016; 8 ปีก่อน (2016-12-11)
ก่อสร้างธันวาคม 2016 – 30 พฤศจิกายน 2019
เปิดใช้สนาม21 ธันวาคม 2019; 4 ปีก่อน (2019-12-21)
งบประมาณในการก่อสร้าง1.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (157 พันล้านเยน)
สถาปนิกเค็งโงะ คูมะ
การใช้งาน
รักบี้ยูเนียนทีมชาติญี่ปุ่น
ฟุตบอลทีมชาติญี่ปุ่น
การแข่งขันรักบี้ชิงแชมป์มหาวิทยาลัยแห่งชาติญี่ปุ่นครั้งที่ 56 รอบชิงชนะเลิศ ระหว่าง สโมสรมหาวิทยาลัยเมจิ กับ สโมสรมหาวิทยาลัยวาเซดะ

กรีฑาสถานแห่งชาติ (ญี่ปุ่น: 国立競技場โรมาจิKokuritsu Kyōgijō)[2][3][4][5][6] หรือเรียกว่า สนามกีฬาโอลิมปิก (ญี่ปุ่น: オリンピックスタジアムโรมาจิOrinpikku Sutajiamu; ระหว่างโอลิมปิกและพาราลิมปิกฤดูร้อน 2020)[7][8] สนามกีฬาแห่งชาติใหม่ของประเทศญี่ปุ่น ตั้งอยู่ในเขตชินจูกุ กรุงโตเกียว เป็นสนามกีฬาเอนกประสงค์ตั้งอยู่บนพื้นที่ของสนามกีฬาแห่งชาติเดิม ใช้สำหรับจัดกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 2020 ที่กรุงโตเกียวเป็นเจ้าภาพ

ประวัติ

[แก้]

สนามกีฬาแห่งชาติเดิมถูกรื้อทิ้งแล้วเสร็จในเดือนพฤษภาคม 2015 และในอีกสองเดือนถัดมา นายกรัฐมนตรีอาเบะประกาศปรับดีไซน์ใหม่ของสนามกีฬาหลังดีไซน์เดิมต้องใช้งบประมาณก่อสร้างสูงมาก ดีไซน์โดยสถาปนิกเค็งโงะ คูมะ ได้รับอนุมัติในเดือนธันวาคม 2015 และมีกำหนดก่อสร้างแล้วเสร็จในเดือนพฤศจิกายน 2019

รายละเอียดสนาม

[แก้]

สนามกีฬาแห่งนี้มีความแปลกตรงที่ไม้ถูกนำมาใช้เป็นส่วนประกอบหลักของโครงสร้าง โดยทั้งหมดได้มาจากประเทศญี่ปุ่นเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม องค์ประกอบไม้หลายชิ้นอยู่ในรูปแบบโมดูลาร์ ซึ่งสามารถทดแทนได้เมื่อไม้เสื่อมสภาพ ไม้ที่ได้รับการรับรองนั้นได้มาจากทั้ง 47 จังหวัดของญี่ปุ่นตามประเพณีที่เริ่มต้นโดยศาลเจ้าเมจิ การออกแบบชายคาได้รับแรงบันดาลใจจากวัดโฮริวจิ และรวมเอาช่องว่างอากาศที่ใช้ประโยชน์จากสภาพลมที่พัดเข้ามาเพื่อระบายอากาศภายในพื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ส่วนหนึ่งของหลังคาประกอบด้วยแผงโซลาร์เซลล์โปร่งใส และน้ำฝนจะถูกเก็บในถังเก็บน้ำใต้ดิน และใช้ในการชลประทานสนามหญ้าในสนามกีฬาตลอดจนพืชพรรณนานาชนิดบนทางเดินเล่นชั้นบนสุด การเข้าถึงเป็นปัญหาสำคัญ ส่งผลให้มีสถานที่สำหรับผู้ใช้รถเข็นมากกว่า 450 แห่ง รวมถึงห้องน้ำที่ใช้เทคโนโลยีใหม่ล่าสุด

สมุดภาพ

[แก้]

การก่อสร้าง

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "FIFA Women's World Cup 2023: Bid Evaluation Report" (PDF). FIFA. 10 June 2020. pp. 177–178. สืบค้นเมื่อ 7 June 2023.
  2. "Olympic Stadium". 2020 Summer Olympics official website. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 July 2021. สืบค้นเมื่อ 21 March 2020.
  3. "国立競技場 一般の皆さまへ初めてのお披露目イベント開催のお知らせ 「国立競技場オープニングイベント ~HELLO, OUR STADIUM~」 日本を代表するアスリートやアーティストなどと一緒に競技場完成を祝う 1日限りのスペシャルイベント!" (PDF) (Press release) (ภาษาญี่ปุ่น). Japan Sport Council. 3 July 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 July 2019. สืบค้นเมื่อ 3 July 2019.
  4. "Japan National Stadium, Main Venue of 2020 Games, Completed". nippon.com. 30 November 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 July 2021. สืบค้นเมื่อ 21 March 2020.
  5. "Olympics: National Stadium launched ahead of 2020 Tokyo Games". Kyodo News. 30 November 2019. สืบค้นเมื่อ 21 March 2020.
  6. "New National Stadium declared finished nearly eight months ahead of Tokyo Olympics". The Japan Times. 30 November 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 December 2019. สืบค้นเมื่อ 1 December 2019.
  7. "オリンピックスタジアム|競技会場等|大会情報|東京2020大会開催準備|東京都オリンピック・パラリンピック準備局". www.2020games.metro.tokyo.lg.jp. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 December 2021. สืบค้นเมื่อ 20 December 2021.
  8. "オリンピックスタジアム(新国立競技場)|東京オリンピック2020会場:朝日新聞デジタル". 朝日新聞デジタル (ภาษาญี่ปุ่น). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 December 2021. สืบค้นเมื่อ 20 December 2021.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
ก่อนหน้า กรีฑาสถานแห่งชาติญี่ปุ่น ถัดไป
สนามกีฬามารากานัง
รีโอเดจาเนโร
โอลิมปิกฤดูร้อน
พิธีเปิดและพิธีปิด (สนามกีฬาโอลิมปิก)

(2020)
สตาดเดอฟร็องส์
ปารีส
สนามกีฬาโอลิมปิกนิลตง ซังตุส
รีโอเดจาเนโร
กีฬากรีฑา
สนามกีฬาหลัก

(2020)
สตาดเดอฟร็องส์
ปารีส
สนามกีฬาโอลิมปิกนิลตง ซังตุส
รีโอเดจาเนโร
กีฬากรีฑาพาราลิมปิก
สนามกีฬาหลัก

(2020)
สตาดเดอฟร็องส์
ปารีส