ศาลเจ้าโชเซ็ง
ศาลเจ้าโชเซ็ง | |
---|---|
บันไดทางเข้าศาลเจ้าจากโปสการ์ด (ป. คริสต์ทศวรรษ 1930) | |
ศาสนา | |
ศาสนา | ชินโต |
เทพ | คูนิตามะโอกามิ อามาเตราซุโอกามิ |
ที่ตั้ง | |
พิกัดภูมิศาสตร์ | 37°33′13″N 126°58′58″E / 37.55361°N 126.98278°E |
ที่ตั้งในอดีตเทียบกับโซลสมัยใหม่ | |
ชื่อเกาหลี | |
ฮันกึล | 조선신궁 |
ฮันจา | |
อาร์อาร์ | Joseon Singung |
เอ็มอาร์ | Chosŏn Singung |
อภิธานศัพท์ชินโต |
ศาลเจ้าโชเซ็ง (ญี่ปุ่น: 朝鮮神宮; โรมาจิ: Chōsen Jingū; เกาหลี: 조선신궁; ฮันจา: 朝鮮神宮) เป็นศาลเจ้าชินโตที่สำคัญที่สุดในประเทศเกาหลีตั้งแต่ ค.ศ. 1925 ถึง 1945 ในสมัยการปกครองของญี่ปุ่น
อิโจ ชูตะ สถาปนิกและนักประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมชื่อดังที่มีส่วนในการสร้างศาลเจ้าเมจิ ก็มีส่วนในการวางแผนสร้างศาลเจ้านี้ด้วย
ที่ตั้งของอดีตศาลเจ้าปัจจุบันกลายเป็นส่วนหนึ่งของสวนนัมซาน
เบื้องหลัง
[แก้]หลังญี่ปุ่นผนวกเกาหลีใน ค.ศ. 1910 รัฐบาลญี่ปุ่นได้ดำเนินการตามนโยบายกระบวนการกลายเป็นญี่ปุ่น (Japanization) ซึ่งรวมไปถึงการสักการะที่ศาลเจ้าชินโต เช่นเดียวกันกับการแสดงออกทางการเมืองต่อความรักประเทศชาติเป็นข้อปฏิบัติทางศาสนา[1][2] ตั้งแต่ ค.ศ. 1925 นักเรียนในโรงเรียนจะต้องเข้าไปในศาลเจ้าชินโต และใน ค.ศ. 1935 มีการบังคับให้นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยและข้าราชการจะต้องเข้าร่วมพิธีศาสนาชินโต[3][4] จนถึง ค.ศ. 1945 มีศาลเจ้าในเกาหลีที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับรัฐชินโต (State Shinto) รวม 1,140 แห่ง[3]
โองาซาวาระ โชโซะ เป็นผู้สนับสนุนให้พยายามใช้แนวคิดโอกูนิตามะ เพื่อผสานความเชื่อศาสนาญี่ปุ่นและเกาหลี บางคนระบุพระเจ้าทันกุนเข้ากับซูซาโนโอะ-โนะ-มิโกโตะ รัฐบาลไม่ต้องการแสดงจุดยืนในเรื่องการบรรจุโอกูนิตามะทั่วไปไว้ที่โชเซ็งจิงงู เพื่อให้ผู้ศรัทธาสามารถตีความในแบบของตนเอง[5] โองาซาวาระ โชโซะ เป็นผู้สนับสนุนจุดยืนนี้อย่างหนักแน่น และการสนับสนุนของเขาเกี่ยวข้องกับการสถาปนาโอกูนิตามะทั้งที่โชเซ็นจิงงุและศาลเจ้าเคโจ[5]
อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่ของรัฐที่โชเซ็งจิงงูไม่อนุญาตให้โอกูนิตามะตรงนั้นมีชื่อเรียกว่า "โชเซ็นโอกูนิตามะ" และความเชื่อท้องถิ่นพระเจ้าทันกุนถูกปราบปรามลงเพื่อหันไปบูชาอามาเตราซุในศาลเจ้าแทน[5]
ประวัติ
[แก้]โชเซ็งจิงงูถูกสร้างขึ้นใน ค.ศ. 1925 ที่ยอดเขานัมซานในเมืองเคโจ และทำพิธีบูชาในเดือนตุลาคม[6] โดยอุทิศแด่เทพีอามาเตราซุกับจักรพรรดิเมจิ[6] ตัวอาคารมีรูปแบบสถาปัตยกรรมชินเม-ซูกูริตามศาลเจ้าอิเซะ[7][8]
การบูชาที่ศาลเจ้าเพิ่มมากขึ้นในคริสต์ทศวรรษ 1930 หลังรัฐบาลเริ่มบังคับให้ผู้คนเข้าชมที่นี่[5][6] ทำให้ศาลเจ้าและที่อื่น ๆ กลายเป็นเป้าหมายความขุ่นเคือง หลังการปลดปล่อยเกาหลีใน ค.ศ. 1945 ภายในไม่กี่วัน มีศาลเจ้าหลายแห่งที่ถูกเผาทำลาย[6]
กลุ่มชาติพันธุ์เกาหลีเสนอให้เข้ามารับช่วงการบูชาโอกูนิตามะต่อหลังสงครามและเปลี่ยนศาลเจ้าไปเป็นศาลที่บูชาพระเจ้าทันกุน แต่รัฐบาลใหม่ปฏิเสธ[5] โองาซาวาระ ก็เสนอระบบที่ชาวญี่ปุ่นในอาณานิคมถูกมองเป็นอามัตสึกามิและชนพื้นเมืองมองเป็นคูนิตสึกามิ[5]
หลังคำประกาศยอมจำนนของญี่ปุ่นในวันที่ 15 สิงหาคม ในช่วงบ่ายวันนั้นได้มีพิธีเคลื่อนย้ายองค์เทพที่ประดิษฐานอยู่[6] รัฐบาลทหารของกองทัพสหรัฐในเกาหลีพิจารณาให้ศาลเจ้านี้เป็น "ทรัพย์สินศัตรู"[6]
โชเซ็งจิงงูจึงถูกทำลายในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1945[2][9] พื้นที่อดีตศาลเจ้าปัจจุบันกลายเป็นส่วนหนึ่งของสวนนัมซาน[10] และใน ค.ศ. 1970 ได้มีการสร้าง "อนุสรณ์สถานรักชาติ อัน จุง-กึน" ในบริเวณที่เคยเป็นศาลเจ้า เพื่อยกย่องอัน จุง-กึน ผู้ลอบสังหารอิโต ฮิโรบูมิ ผู้ตรวจราชการชาวญี่ปุ่นคนแรก[2][9][6] และมีการติดตั้งอนุสรณ์คิม กู นักเคลื่อนไหวเพื่ออิสรภาพอีกคนหนึ่งด้วย[6]
รายละเอียด
[แก้]ศาลเจ้านี้มีความยาวเป็นแกนตรงประมาณ 500 เมตร (1,600 ฟุต)* ศาลเจ้าหลักอยู่ที่ปลายสุดจากทางเข้า[6]
ภาพ
[แก้]
|
ดูเพิ่ม
[แก้]- รัฐชินโต (State Shinto)
- ศาสนาชินโตในประเทศเกาหลี
- เกาหลีภายใต้การปกครองของญี่ปุ่น
- การจัดอันดับศาลเจ้าชินโตในระบบสมัยใหม่ (Modern system of ranked Shinto Shrines)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Sung-Gun Kim (1997). "The Shinto Shrine Issue in Korean Christianity under Japanese Colonialism". Journal of Church and State. 39 (3): 503–521. doi:10.1093/jcs/39.3.503.[ลิงก์เสีย]
- ↑ 2.0 2.1 2.2 Wakabayashi, Ippei. "Ahn Jung-geun and the Cultural Public Sphere" (PDF). Bunkyo University. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 13 June 2011. สืบค้นเมื่อ 31 March 2011.
- ↑ 3.0 3.1 Grayson, James H. (1993). "Christianity and State Shinto in Colonial Korea: A Clash of Nationalisms and Religious Beliefs". Diskus. British Association for the Study of Religions. 1 (2): 13–30. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-09-05. สืบค้นเมื่อ 2011-04-27.
- ↑ Wagner, Edward W.; และคณะ (1990). Korea Old and New: A History. Harvard University Press. p. 315. ISBN 0-9627713-0-9.
- ↑ 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 5.5 Kōji, Suga; 𨀉𠄈 (2010). "A Concept of "Overseas Shinto Shrines": A Pantheistic Attempt by Ogasawara Shōzō and Its Limitations". Japanese Journal of Religious Studies. 37 (1): 47–74. ISSN 0304-1042.
- ↑ 6.0 6.1 6.2 6.3 6.4 6.5 6.6 6.7 6.8 "東アジアの都市における歴史遺産の保護と破壊――古写真と旅行記が語る近代――". www.gakushuin.ac.jp. สืบค้นเมื่อ 2023-10-09.
- ↑ "Chōsen Jingū". Genbu.net. สืบค้นเมื่อ 31 March 2011.
- ↑ Hiura, Satoko (2006). "朝鮮神宮と学校 : 勧学祭を中心に". Japan Society for the Historical Studies of Education. National Institute of Informatics. 49: 110–112.
- ↑ 9.0 9.1 Keene, Donald (2002). Emperor of Japan: Meiji and his World, 1852-1912. Columbia UP. pp. 664ff. ISBN 9780231123402.
- ↑ Grisafi, John G (September 2016). "Shintō in Colonial Korea: A Broadening Narrative of Imperial Era Shintō". Academia.edu. University of Pennsylvania. สืบค้นเมื่อ 13 June 2023.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้](ในภาษาญี่ปุ่น) Chōsen Jingū (plan and photographs)
- 1931 photograph เก็บถาวร 4 มีนาคม 2016 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน