ข้ามไปเนื้อหา

วิลเฮ็ล์ม วีน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก วิลเฮล์ม วีน)
วิลเฮ็ล์ม วีน
เกิดวิลเฮ็ล์ม คาร์ล แวร์เนอร์ อ็อทโท ฟริทซ์ ฟรันทซ์ วีน
13 มกราคม พ.ศ. 2407
กัฟเคิน ใกล้กับเมืองฟิชเฮาเซิน แคว้นปรัสเซีย
เสียชีวิต30 สิงหาคม พ.ศ. 2471 (64 ปี)
มิวนิก สาธารณรัฐไวมาร์
สัญชาติเยอรมัน
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยเกิททิงเงิน
มหาวิทยาลัยเบอร์ลิน
มีชื่อเสียงจากการแผ่รังสีของวัตถุดำ
กฎการกระจัดของวีน
คู่สมรสลุยซ์ เมห์เลอร์ (สมรส พ.ศ. 2441)
รางวัลรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ (พ.ศ. 2454)
อาชีพทางวิทยาศาสตร์
สาขาฟิสิกส์
สถาบันที่ทำงานมหาวิทยาลัยกีเซิน
มหาวิทยาลัยเวือทซ์บวร์ค
มหาวิทยาลัยมิวนิก
มหาวิทยาลัยแอร์เวเทฮา อาเคิน
อาจารย์ที่ปรึกษาในระดับปริญญาเอกแฮร์มัน ฟ็อน เฮ็ล์มฮ็อลทซ์
ลูกศิษย์ในระดับปริญญาเอกคาร์ล อมาเดอุส ฮาร์ทมัน
กาเบรียล ฮ็อลตส์มาร์ก
เอดูอาร์ท รือชาร์ท

วิลเฮ็ล์ม คาร์ล แวร์เนอร์ อ็อทโท ฟริทซ์ ฟรันทซ์ วีน (เยอรมัน: Wilhelm Carl Werner Otto Fritz Franz Wien; 13 มกราคม พ.ศ. 2407 – 30 สิงหาคม พ.ศ. 2471) เป็นนักฟิสิกส์ชาวเยอรมัน ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ประจำปี พ.ศ. 2454[1] เขาเป็นผู้รวมทฤษฎีความร้อนและการแผ่รังสีแม่เหล็กไฟฟ้าเข้าด้วยกัน ได้เป็นกฎการกระจัดของวีน ซึ่งว่า ความยาวคลื่นของการแผ่รังสีแม่เหล็กไฟฟ้าแปรผกผันกับอุณหภูมิ

วิลเฮ็ล์มเป็นญาติกับมัคส์ วีน นักอิเล็กทรอนิกส์ผู้ประดิษฐ์วงจรบริดจ์ของวีน (Wien Bridge)

ประวัติ

[แก้]

วิลเฮ็ล์ม วีน เกิดที่ตำบลกัฟเคิน (Gaffken) ใกล้กับเมืองฟิชเฮาเซิน (Fischhausen) แคว้นปรัสเซีย ซึ่งปัจจุบันเป็นเมืองปรีมอสค์ ประเทศรัสเซีย เป็นบุตรของคาร์ล วีน ต่อมาเมื่อวิลเฮ็ล์มอายุได้สองขวบ ครอบครัวของเขาย้ายถิ่นฐานไปยังตำบลดรัคชไตน์ (Drachstein) ใกล้กับเมืองรัสเทินบวร์ค (Rastenburg) ซึ่งปัจจุบันเป็นเมืองแกนต์ชึน (Kętrzyn) ประเทศโปแลนด์ ล่วงปี พ.ศ. 2422 วิลเฮ็ล์มเข้าโรงเรียนที่รัสเตินบวร์ค หนึ่งปีต่อมาเขาย้ายไปศึกษาชั้นมัธยมปลายที่โรงเรียนที่เมืองไฮเดิลแบร์ค

เมื่อวิลเฮ็ล์มจบชั้นมัธยมปลายในปี พ.ศ. 2425 เขาเข้าศึกษาที่มหาวิทยาลัยเกิททิงเงินและมหาวิทยาลัยเบอร์ลิน ระหว่าง พ.ศ. 2426–2428 วิลเฮ็ล์มทำงานในห้องปฏิบัติการของแฮร์มัน ฟ็อน เฮ็ล์มฮ็อลทซ์ ในหัวข้อวิจัยการเลี้ยวเบนของแสงที่ตกกระทบโลหะและผลของวัสดุต่าง ๆ ที่มีต่อสีของรังสีหักเห

ระหว่าง พ.ศ. 2439–2442 วิลเฮ็ล์มเป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยแอร์เวเทฮา อาเคิน (RWTH Aachen University) ก่อนย้ายไปที่มหาวิทยาลัยเวือทซ์บวร์ค สืบแทนวิลเฮล์ม คอนราด เรินต์เกน ล่วงปี พ.ศ. 2462 เขาย้ายไปที่มหาวิทยาลัยมิวนิก ระหว่างชีวิตวิชาการได้มีส่วนร่วมในโครงการการเมืองต่าง ๆ แต่ไม่ถึงขนาดเข้าร่วมสมาคมฟิสิกส์เยอรมันหรือด็อยท์เชอฟือซีค (Deutsche Physik)[2]

ผลงาน

[แก้]

เมื่อ พ.ศ. 2439 วิลเฮ็ล์ม วีน ค้นพบกฎการแผ่รังสีของวัตถุดำโดยการทดลอง[3] ซึ่งต่อมาเรียกว่า กฎของวีน เพื่อนร่วมงานของเขาคือ มักซ์ พลังค์ ไม่เชื่อถือการทดลองของวิลเฮ็ล์มจนต้องพยายามใช้ทฤษฎีแม่เหล็กไฟฟ้าและอุณหพลศาสตร์เพื่อสร้างทฤษฎีประกอบผลการทดลอง ได้เป็นกฎของวีน-พลังค์ ซึ่งใช้ได้เฉพาะที่ความถี่สูง ๆ และไม่ถูกต้องที่ความถี่ต่ำ มัคส์ พลังค์พยายามแก้ไข และต่อมาได้เสนอกฎของพลังค์ซึ่งว่า พลังงานแปรผันตรงกับความถี่ของแม่เหล็กไฟฟ้า อันนำไปสู่การพัฒนากลศาสตร์ควอนตัม อย่างไรก็ดีนั้นน กฎของวีนยังมีรูปแบบที่ใช้ได้อยู่คือ ซึ่งว่า สเปกตรัมคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจะมียอดที่ความยาวคลื่น λmax ซึ่งแปรผกผันกับอุณหภูมิ T ต่อมาในปี พ.ศ. 2454 วิลเฮ็ล์ม วีน ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ ในฐานะผู้คนพบกฎการแผ่รังสีของวัตถุร้อน[1]

เมื่อ พ.ศ. 2441 วิลเฮ็ล์มประดิษฐ์ตัวกรองวีน (Wien filter) หรือตัวคัดเลือกความเร็วสำหรับใช้ศึกษารังสีแอโนด เครื่องมือดังกล่าวประกอบด้วยสนามไฟฟ้ากับสนามแม่เหล็กตั้งฉากกัน เมื่ออนุภาคเคลื่อนที่ผ่านจะตีวงโค้งไปตกที่ระยะต่าง ๆ ตามแต่จะกำหนดโดยมวลของอนุภาคมีประจุ ปัจจุบันใช้ในกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนและสเปกโทรมิเตอร์ รวมถึงเครื่องเร่งอนุภาค ปีเดียวกันนั้นเอง วิลเฮ็ล์มศึกษาแก๊สไอออน (ionized gas) และค้นพบอนุภาคประจุบวกมวลเท่ากับอะตอมไฮโดรเจนโดยใช้ตัวกรองของเขาเอง ต่อมาในปี พ.ศ. 2456 โจเซฟ จอห์น ทอมสัน ได้พัฒนาปรับปรุงตัวกรองวีน และทดลองเพิ่มเติม การทดลองกินเวลานานหลายปี จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2462 เออร์เนสต์ รัทเทอร์ฟอร์ด เสนอว่า อนุภาคที่วิลเฮ็ล์มค้นพบตั้งแต่แรกนั้นคือโปรตอน (คือ อะตอมไฮโดรเจนเสียอิเล็กตรอนหนึ่งตัว)

ในปี พ.ศ. 2533 วิลเฮ็ล์มอ่านงานของจอร์จ เฟรเดอริก ชาลส์ เซิร์ล (George Frederick Charles Searle) และดัดแปลงทฤษฎีของอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ในภาษาอังกฤษ) บรรดามวลของสสารทั้งหลายมีที่มาจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า และกำหนดตามสมการ

อ้างอิง

[แก้]
  • Rüchardt, E. (1936). "Zur Entdeckung der Kanalstrahlen vor fünfzig Jahren". Naturwissenschaften. 24 (30): 57–62. Bibcode:1936NW.....24..465R. doi:10.1007/BF01473963.
  • Rüchardt, E. (1955). "Zur Erinnerung an Wilhelm Wien bei der 25. Wiederkehr seines Todestages". Naturwissenschaften. 42 (3): 57–62. Bibcode:1955NW.....42...57R. doi:10.1007/BF00589524.