ข้ามไปเนื้อหา

เออร์เนสต์ ลอว์เรนซ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เออร์เนสต์ ลอว์เรนซ์
Head and shoulders of a man wearing rimless glasses, and a dark suit and tie
ลอว์เรนซ์ในปี 1939
เกิดเออร์เนสต์ ออร์แลนโด ลอว์เรนซ์
8 สิงหาคม ค.ศ. 1901(1901-08-08)
รัฐเซาท์ดาโคตา, สหรัฐ
เสียชีวิต27 สิงหาคม ค.ศ. 1958(1958-08-27) (57 ปี)
รัฐแคลิฟอร์เนีย, สหรัฐ
สัญชาติสหรัฐอเมริกา สหรัฐอเมริกา
มีชื่อเสียงจากการคิดค้นไซโคลตรอน
โครงการแมนฮัตตัน
อาชีพทางวิทยาศาสตร์
สาขาฟิสิกส์
สถาบันที่ทำงานมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์
มหาวิทยาลัยเยล
ลายมือชื่อ

เออร์เนสต์ ออร์แลนโด ลอว์เรนซ์ (อังกฤษ: Ernest Orlando Lawrence) เป็นผู้บุกเบิกศาสตร์นิวเคลียร์ชาวอเมริกัน และเป็นผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ในปีค.ศ. 1939 จากการคิดค้นเครื่องเร่งอนุภาคชนิดไซโคลตรอน (Cyclotron) และยังเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่มีส่วนร่วมในโครงการแมนฮัตตัน และยังเป็นผู้ก่อตั้งห้องปฏิบัติการแห่งชาติลอว์เรนซ์เบิร์กลีย์ ตลอดจนห้องปฏิบัติการแห่งชาติลอว์เรนซ์ลิเวอร์มอร์ ชื่อของเขายังถูกนำไปตั้งให้กับธาตุสังเคราะห์ลำดับที่ 103 นามว่าลอว์เรนเซียม ซึ่งค้นพบในปี 1961 โดยห้องปฏิบัติการที่เบิร์กลีย์

เมื่อสงครามโลกครั้งที่สองในยุโรปปะทุขึ้นในปีค.ศ. 1939 เขาถูกดึงตัวไปทำงานให้กับโครงการทางทหาร เขาเป็นผู้เสาะหาบุคลากรเข้าทำงานในห้องปฏิบัติการใต้น้ำเพื่อพัฒนาเครื่องมือและวิธีตรวจจับเรือดำน้ำเยอรมัน พร้อมกับทำงานพัฒนาเครื่องไซโคลตรอนควบคู่ไปด้วย ในปลายปี 1940 เครื่องไซโคลตรอนขนาด 60 นิ้ว สามารถยิงยูเรเนียม-238เข้าปะทะกับดิวเทอเรียมจนได้ธาตุใหม่คือ เนปทูเนียม-238 ซึ่งเมื่อสลายให้อนุภาคบีตาแล้วจะได้เป็นพลูโตเนียม-238 หนึ่งในไอโซโทปของมัน คือพลูโตเนียม-239 มีความเป็นไปได้ที่จะต่อยอดและพัฒนาเป็นอาวุธนิวเคลียร์ของสหรัฐ

ในเดือนกรกฎาคม 1958 ประธานาธิบดีดไวต์ ดี. ไอเซนฮาวร์ ได้ขอให้ลอว์เรนซ์เดินทางไปเจนีวา เพื่อเจรจาข้อตกลงสนธิสัญญาระงับการทดสอบอนุภาคนิวเคลียร์กับสหภาพโซเวียต แม้เขาจะเจ็บป่วยจากโรคลำไส้ใหญ่อักเสบชนิดเป็นแผล แต่เขาก็ตัดสินใจเดินทางไปสวิตเซอร์แลนด์ แต่แล้วขณะอยู่ในเจนีวา อาการก็กำเริบขึ้นจนต้องรับนำตัวกลับมารักษายังมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด เขาเสียชีวิตในวันที่ 27 สิงหาคม ค.ศ. 1958 ในวัย 57 ปี