วังสวนกุหลาบ
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
บทความนี้อาจต้องเขียนใหม่ทั้งหมดเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพของวิกิพีเดีย หรือกำลังดำเนินการอยู่ คุณช่วยเราได้ หน้าอภิปรายอาจมีข้อเสนอแนะ |
วังสวนกุหลาบ | |
---|---|
พระราชวังดุสิต | |
ที่มา | สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา |
ข้อมูลทั่วไป | |
ประเภท | วัง |
สถาปัตยกรรม | ยุโรป |
ที่ตั้ง | แขวงดุสิต เขตดุสิต |
เมือง | กรุงเทพมหานคร |
ประเทศ | ไทย |
ข้อมูลทางเทคนิค | |
โครงสร้าง | อาคาร 2 ชั้น ก่ออิฐถือปูน ทาสีเหลืองอ่อน หลังคามุงกระเบื้องสีแดง |
วังสวนกุหลาบ เป็นวังที่ประทับของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา ตั้งอยู่ที่มุมถนนราชสีมากับถนนศรีอยุธยา โดยทางด้านทิศเหนือติดกับถนนอู่ทองนอก และทิศตะวันออกติดกับสวนอัมพร ซึ่งอาณาเขตดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของพระราชวังดุสิต
ประวัติ
[แก้]ตามเดิมพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริที่จะสร้างวังสมเด็จฯเจ้าฟ้ากรมหลวงนครราชสีมา ที่วังริมแม่น้ำเจ้าพระยาตอนใต้ปากคลอง(ตลาด) คูเมืองเดิม ครั้งเสด็จฯกลับมาจากทรงศึกษาในประเทศอังกฤษ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชประสงค์จะให้ทรงศึกษาราชการอยู่ใกล้พระองค์ จึงได้โปรดเกล้าฯให้สร้างตำหนักชั่วคราวที่สวนดุสิต ตรงริมถนนใบพร พระราชทานนามว่า "สวนกุหลาบ" สมเด็จฯเจ้าฟ้ากรมหลวงนครราชสีมา จึงเสด็จประทับอยู่ตลอดรัชกาลที่ 5
ในสมัยรัชกาลที่ 6 โปรดเกล้าฯ ให้ขยายเขตที่วังสวนกุหลาบออกไปให้กว้างขวางกว่าเก่า สร้างพระตำหนักและท้องพระโรงพระราชทานเป็นอาคารถาวร สมเด็จเจ้าฟ้าฯกรมหลวงนครราชสีมาได้ประทับอยู่จนเสด็จทิวงคตในปีพุทธศักราช 2468
สถาปัตยกรรม
[แก้]วังสวนกุหลาบสร้างตามแบบสถาปัตยากรรมของยุโรป ตัวอาคารมี 2 ชั้น ก่ออิฐถือปูน ทาสีเหลืองอ่อน หลังคามุงกระเบื้องสีแดง ภายในตกแต่งอย่างงดงาม มีทางลับลงยังโถงชั้นใต้ดินขนาดใหญ่ แบ่งเป็นโซนเป็นห้องจำนวนมาก พื้นที้ชั้นใต้ดินนี้ เคยเป็นศูนย์บัญชาการหน่วยข่าวกรอง สมัย จอมพล ป.พิบูลสงคราม
ที่วังนี้เคยเป็นที่ทำการของรัฐบาล ในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี และเป็นที่ตั้งของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) ซึ่งต่อมาได้ย้ายไปอยู่ที่สวนรื่นฤดี ในปีพุทธศักราช 2507 ต่อมากองออมทรัพย์ กองแผนและโครงการของกรมสวัสดิการทหารบกได้ย้ายจากสวนพุดตานมาทำการอยู่ที่วังนี้แทน จนกระทั่งในวันที่ 9 ธันวาคม พุทธศักราช 2539 กรมสวัสดิการทหารบก ได้ทำหนังสือถวายคืนวังสวนกุหลาบให้กลับมาอยู่ในความควบคุมดูแลของสำนักพระราชวัง โดยมีพิธีส่งมอบเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม พุทธศักราช 2539 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานจิตรกรรมฝีพระหัตถ์ มาจัดแสดงไว้ที่พระตำหนักวังสวนกุหลาบตั้งแต่วันที่ 28 ธันวาคม พุทธศักราช 2542
นอกจากนี้ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ ยังใช้เป็นที่ทรงงาน และโปรดให้คณะบุคคลมาเข้าเฝ้าที่วังสวนกุหลาบอยู่เสมอ
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ วังสวนกุหลาบ
- ภาพถ่ายดาวเทียมจากวิกิแมเปีย หรือกูเกิลแมปส์
- แผนที่จากลองดูแมป หรือเฮียวีโก
- ภาพถ่ายทางอากาศจากเทอร์ราเซิร์ฟเวอร์