ข้ามไปเนื้อหา

วงศ์นกกระตั้ว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วงศ์นกกระตั้ว
Cockatoo perching on a branch. Its plumage on the top of its head above its eyes is white and it has a horn-coloured beak. The rest of its head, its neck, and most of its front are pink. Its wings and tail are grey.
นกกระตั้วซัลเฟอร์เครสต์ (Cacatua galerita) ที่เกาะแทสมาเนีย
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Aves
อันดับ: Psittaciformes
วงศ์ใหญ่: Cacatuoidea
วงศ์: Cacatuidae
G. R. Gray, 1840
สกุลต้นแบบ
Cacatua Vieillot, 1817[1]
สกุล
Map showing southeastern Asia, Australia, Melanesia, and New Zealand. Islands in the Philippines and the Sunda Islands are colored red, east to the Solomon Islands, as is Australia with Tasmania. New Caledonia is colored blue.
การกระจายพันธุ์ในปัจจุบัน – สีแดง
พบซากดึกดำบรรพ์ – สีฟ้า
ชื่อพ้อง

นกกระตั้ว หรือ นกคอกคาทู (อังกฤษ: cockatoo) เป็นนกประเภทปากคีม มีหลายสกุล ส่วนมากจะมีสีขาว บางชนิดมีสีเหลืองอ่อนแซมเล็กน้อย มีหงอน มีลิ้นและสามารถสอนให้เลียนเสียงได้เหมือนนกแก้ว โดยที่ชื่อสามัญที่ว่า "Cockatoo" เป็นภาษามลายูแปลว่า "คีมใหญ่" พบในแถบอินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์, นิวกินี, หมู่เกาะโซโลมอน และ ออสเตรเลีย ชนิดที่มนุษย์จับมาเลี้ยงนั้นมีราคาสูง นกกระตั้วที่อยู่ตามธรรมชาติจะมีอายุขัยเพียง 20-30 ปีเท่านั้น แต่นกกระตั้วที่มนุษย์นำมาเลี้ยงจะมีอายุยืนถึง 60-80 ปี

ศัพทมูลวิทยา

[แก้]

คำว่า "cockatoo" นั้นมีมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 17 จากคำว่า "Kakatuwah" เป็นภาษามลายู แปลว่า "พ่อเฒ่า" หรือ "คีมใหญ่" จากลักษณะปากที่แข็งแรงและมีแรงกัดมหาศาล สามารถทำลายสิ่งต่าง ๆ ได้แม้กระทั่งเหล็กบาง ๆ

อนุกรมวิธาน

[แก้]

เดิมทีนกกระตั้วถูกจัดเป็นหนึ่งในวงศ์ย่อย Cacatuinae ของวงศ์นกแก้ว Psittacidae โดย จอร์จ โรเบิร์ต เกรย์ นักธรรมชาติวิทยาชาวอังกฤษ ในปี ค.ศ. 1840 โดยมีสกุล Cacatua เป็นสกุลต้นแบบ ก่อนจะถูกจัดแยกออกมาเป็นวงศ์เฉพาะในปี ค.ศ. 1990

สกุลและชนิด

[แก้]

ลักษณะทางกายภาพ

[แก้]

นกกระตั้วเป็นนกที่มีขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ลำตัวยาว 30-60 เซนติเมตร (12-24 นิ้ว) หนัก 300-1,200 กรัม (0.66-2.6 ปอนด์) มีหงอนบนหัวที่สามารถหุบและแผ่ได้ จะงอยปากสีดำใหญ่เหมือนคีม มีความคมและแรงกัดมหาศาล เท้าแต่ละข้างมีนิ้ว 4 นิ้ว ยาวและมีเล็บแหลม สามารถเกาะและปีนป่ายได้ดี

การเลี้ยงนกกระตั้วในประเทศไทย

[แก้]
นกกระตั้วอัมเบรลล่า หนึ่งในชนิดที่นิยมเลี้ยง

นกกระตั้วที่นิยมเลี้ยงในประเทศไทยคือ นกกระตั้วมอลลัคคัน (Cacatua moluccensis), นกกระตั้วอัมเบรลล่า (C pastinator) และ นกกระตั้วซัลเฟอร์เครสต์ (C. galerita) โดยมีราคาสูงหลักหมื่นบาท นกกระตั้วที่มนุษย์เลี้ยงโดยป้อนอาหารให้กับมือจะมีความเชื่องมากกว่านกที่ปล่อยให้แม่นกป้อนอาหารเองมาก และจะขายได้ราคาสูงกว่าด้วย นกกระตั้วเป็นนกที่มีนิสัยชอบร้องเสียงดัง ผู้อยู่อพาร์ทเมนท์ไม่ควรเลี้ยงอย่างเด็ดขาด นกกระตั้วมีนิสัยติดและหวงเจ้าของ จำเป็นต้องดูแลเอาใจใส่และมีเวลาให้กับนกกระตั้วมาก ๆ หากปล่อยนกไว้ไม่มีใครสนใจจะทำให้นกกระตั้วหงุดหงิดและทำลายข้าวของ, ทำร้ายตัวเอง (กัดขาตัวเอง), ทำร้ายผู้คนที่เข้ามาใกล้ นกกระตั้วที่ผูกพันกับเจ้าของมากเกินไปอาจจะทำให้ไม่ยอมมีคู่และไม่ยอมผสมพันธุ์ได้

อ้างอิง

[แก้]
  1. ICZN (2000). "Opinion 1949. Cacatua Vieillot, 1817 and Cacatuinae Gray, 1840 (Aves, Psittaciformes) : conserved". Bulletin of Zoological Nomenclature: 66–67.
  2. Suppressed by the International Commission on Zoological Nomenclature in Opinion 1949 (2000). ICZN (2000). "Opinion 1949. Cacatua Vieillot, 1817 and Cacatuinae Gray, 1840 (Aves, Psittaciformes) : conserved". Bulletin of Zoological Nomenclature: 66–67.
  3. Roselaar CS, Michels JP (2004). "Systematic notes on Asian birds. 48. Nomenclatural chaos untangled, resulting in the naming of the formally undescribed Cacatua species from the Tanimbar Islands, Indonesia (Psittaciformes: Cacatuidae)". Zoologische Verhandelingen. 350: 183–96. สืบค้นเมื่อ 5 December 2009.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]