ข้ามไปเนื้อหา

อันดับนกแก้ว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก นกปากขอ)

นกแก้ว
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: อีโอซีนโฮโลซีน 50–0Ma
A montage of six different types of parrot. Clockwise from top to bottom, these are two images of a large, squat, dull-green parrot; a skinny black parrot similar to a crow; a blue-black parrot with red cheeks and a large, hooked bill; a blue and yellow parrot with a hooked black beak and a white face; and a small, bright green parrot with a yellow collar and a black face.นกแก้วคาคาโปออสเตรเลียน ริงเน็กบลูแอนด์โกลด์ มาคอว์คีอานกแก้ววาซาน้อยนกกระตั้วดำ
ตามเข็มนาฬิกาจากบนลงล่าง: นกแก้วคาคาโปและคีอาที่พบในนิวซีแลนด์ นกแก้ววาซาน้อยพบได้เฉพาะในมาดากัสการ์, นกกระตั้วดำ, บลูแอนด์โกลด์ มาคอว์ในอเมริกาใต้ และออสเตรเลียน ริงเน็ก
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
Eukaryota
อาณาจักร: สัตว์
Animalia
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
Chordata
ชั้น: สัตว์ปีก
เคลด: Psittacopasserae
อันดับ: นกแก้ว
Psittaciformes
Wagler, 1830
วงศ์ใหญ่
แผนที่การกระจายพันธุ์ของนกแก้วทั้งหมด (แดง)

นกแก้ว หรือ นกปากขอ (ภาษาไทยถิ่นเหนือ: นกแล) เป็นอันดับของนกอันดับหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Psittaciformes

เป็นนกที่มีความแตกต่างกันมากทางสรีระ คือมีตั้งแต่ขนาดเล็กจนถึงใหญ่ (19-100 เซนติเมตร) มีหัวกลมโต ลำตัวมีขนอุยปกคลุมหนาแน่น ขนมีแกนขนรอง ต่อมน้ำมันมีลักษณะเป็นพุ่มขน ผิวหนังค่อนข้างหนา มีลักษณะเด่นที่แตกต่างจากนกอันดับอื่น ๆ คือ จะงอยปากที่สั้นหนา และทรวดทรงงอเป็นตะขอหุ้มปากล่าง มีความคมและแข็งแรง อันเป็นที่ของชื่อสามัญ ใช้สำหรับกัดแทะอาหารและช่วยในการปีนป่าย เช่นเดียวกับกรงเล็บ[1] รูจมูกไม่ทะลุถึงกัน สันปากบนหนาหยาบและแข็งทื่อ ขนปลายปีกมี 10 เส้น ขนกลางปีกมี 8-14 เส้น ไม่มีขนกลางปีกเส้นที่ 5 ขนหางมี 12-14 เส้น หน้าแข้งสั้นกว่าความยาวของนิ้วที่ยาวที่สุด แข้งปกคลุมด้วยเกล็ดชนิดเกล็ดร่างแห นิ้วมีการจัดเรียงแบบนิ้วคู่สลับกัน คือ เหยียดไปข้างหน้า 2 นิ้ว (นิ้วที่ 2 และ 3) และเหยียดไปข้างหลัง 2 นิ้ว (นิ้วที่ 1 และนิ้วที่ 4) ซึ่งนิ้วที่ 4 สามารถหมุนไปข้างหน้าได้

เป็นนกที่อาศัยและหากินบนต้นไม้ กินผลไม้และเมล็ดพืช บินได้ดีและบินได้เร็ว พบอาศัยอยู่เป็นคู่หรือเป็นฝูง ทำรังตามโพรงต้นไม้ ไข่สีขาว ลักษณะทรงกลม วางไข่ครั้งละ 2-6 ฟอง ลูกนกแรกเกิดมีสภาพเป็นลูกอ่อนเดินไม่ได้ พบกระจายพันธุ์ตามเขตร้อนทั่วโลก ในบางชนิดมีอายุยืนได้ถึง 50 ปี โดยเฉพาะนกแก้วชนิดที่มีขนาดใหญ่ และจากการศึกษาของนักวิทยาศาสตร์พบว่า นกแก้วขนาดใหญ่มีความเฉลียวฉลาดเทียบเท่ากับเด็กอายุ 4 ขวบ[1]

เป็นนกที่มนุษย์รู้จักกันเป็นอย่างดี เนื่องด้วยนิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงที่สามารถฝึกหัดให้เลียนเสียงตามแบบภาษามนุษย์ในภาษาต่าง ๆ ได้ ประกอบกับมีสีสันต่าง ๆ สวยงามตามชนิด ซึ่งนกแก้วไม่มีกล่องเสียง แต่การส่งเสียงมาจากกล้ามเนื้อถุงลมและแผ่นเนื้อเยื่อ เมื่ออวัยวะส่วนนี้เกิดการสั่นสะเทือน จึงเปล่งเสียงออกมาได้[1][2] แบ่งออกได้ราว 360 ชนิด ใน 80 สกุล[3]

ในประเทศไทยพบเพียงวงศ์เดียว คือ Psittacidae หรือนกแก้วแท้ พบทั้งหมด 7 ชนิด ใน 3 สกุล อาทิ นกแขกเต้า (Psittacula alexandri), นกแก้วโม่ง (P. eupatria) เป็นต้น[2]

อย่างไรก็ตาม มีนกเพียงชนิดเดียวในอันดับนี้ที่บินไม่ได้ และหากินในเวลากลางคืนด้วย คือ นกแก้วคาคาโป (Strigops habroptila) ที่พบเฉพาะบนเกาะนิวซีแลนด์เท่านั้น โดยเป็นนกรูปร่างใหญ่ บินไม่ได้ นอกจากจะหากินในเวลากลางคืนแล้ว ยังมีเสียงร้องประหลาดที่คล้ายกบหรืออึ่งอ่างอีกด้วย ปัจจุบันมีสถานภาพใกล้สูญพันธุ์มากแล้ว[4]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 Pets 101 : Pet Guide, สารคดีทางอนิมอลพลาเน็ต ทางทรูวิชั่นส์: พฤหัสบดีที่ 3 มกราคม 2556
  2. 2.0 2.1 อนุกรมวิธานและสถานภาพของนกในประเทศไทย
  3. Psittaciformes (Parrots)
  4. แดนสนธยา, สารคดี. ดินแดนสวรรค์แปซิฟิกตอนใต้ ตอน 14: ช่อง 9 18 พฤศจิกายน 2552

ข้อมูลอ้างอิง

[แก้]
  • Cameron, Matt (2007). Cockatoos. Collingwood, VIC, Australia: CSIRO Publishing. ISBN 978-0-643-09232-7.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]