นกกระตั้วดำ
นกกระตั้วดำ | |
---|---|
นกกระตั้วดำที่ Lockhart River, Queensland | |
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
โดเมน: | ยูแคริโอตา Eukaryota |
อาณาจักร: | สัตว์ Animalia |
ไฟลัม: | สัตว์มีแกนสันหลัง Chordata |
ชั้น: | สัตว์ปีก |
อันดับ: | นกแก้ว Psittaciformes |
วงศ์: | นกกระตั้ว Cacatuidae Kuhl, 1820 |
สกุล: | Probosciger (Gmelin, JF, 1788) |
สปีชีส์: | Probosciger aterrimus |
ชื่อทวินาม | |
Probosciger aterrimus (Gmelin, JF, 1788) | |
ชนิดย่อย | |
P. a. aterrimus [Gmelin 1788] | |
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์ (สีเขียว) |
นกกระตั้วดำอีกจำพวกดูที่: นกกระตั้วดำ
นกกระตั้วดำ[3] (อังกฤษ: Black cockatoo, Palm cockatoo, Goliath cockatoo; ชื่อวิทยาศาสตร์: Probosciger aterrimus) นกปากขอชนิดหนึ่ง ในวงศ์นกกระตั้ว (Cacatuidae)
เป็นนกกระตั้วที่แตกต่างจากนกกระตั้วชนิดอื่น ๆ อย่างเห็นได้ชัดเจน กล่าวคือ มีลำตัวและหงอนสีทึบทึมคล้ายสีดำ จึงถูกจัดให้เป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Probosciger[4] โดยแบ่งออกได้เป็น 4 ชนิดย่อย (ดูในตาราง)[4] ซึ่งความแตกต่างของชนิดย่อยเหล่านี้จะแตกต่างกันที่ขนาดลำตัว (ชนิด P. a. goliath จะมีขนาดใหญ่ที่สุด)[5]
ลักษณะทั่วไป คือ มีขนสีเทาดำ มีหงอนใหญ่โค้งไปด้านหลังมีลักษณะแคบและยาว สีข้างแก้มสีแดง ตัวเมียจะมีขนาดเล็กกว่าตัวผู้ นอกจากนี้แล้วตัวผู้ขนทั่วตัวมีสีน้ำตาลปนดำ ใต้คอปลายขนมีขอบสีเขียว ส่วนบริเวณหูมีสีเหลือง ปากสีเทา ขาสีน้ำตาล ม่านตาสีน้ำตาล ส่วนตัวเมียขนบริเวณส่วนหูจะมีสีเหลืองจางกว่าเพศผู้ และจะมีลักษณะเด่นของจุดสีเหลือง ๆ บริเวณขนหาง เปลือกตาสีเทา
มีขนาดลำตัวใหญ่ประมาณ 55–60 เซนติเมตร (22–24 นิ้ว) น้ำหนักตัวประมาณ 910–1,200 กรัม[6] พบแพร่กระจายพันธุ์เฉพาะเกาะนิวกินีและรัฐควีนส์แลนด์ ทางตอนเหนือของออสเตรเลียเท่านั้น มีอายุการฟักไข่ประมาณ 30 วัน[3]
จัดเป็นนกที่นิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงและแสดงตามสวนสัตว์อีกชนิดหนึ่ง แต่มีราคาซื้อขายแพงมาก[7]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ BirdLife International (2023). "Probosciger aterrimus". IUCN Red List of Threatened Species. 2023: e.T22684723A221314898. สืบค้นเมื่อ 12 December 2023.
- ↑ "Appendices | CITES". cites.org. สืบค้นเมื่อ 2022-01-14.
- ↑ 3.0 3.1 "นกกระตั้วดำ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-02-24. สืบค้นเมื่อ 2012-11-03.
- ↑ 4.0 4.1 จาก itis.gov
- ↑ นกในทวีปเอเชีย[ลิงก์เสีย]
- ↑ Forshaw (2006). plate 1.
- ↑ [https://web.archive.org/web/20121008231553/http://www.banmuang.co.th/2012/09/%e0%b8%8a%e0%b8%a7%e0%b8%99%e0%b8%94%e0%b8%b9-%e0%b8%99%e0%b8%81%e0%b8%81%e0%b8%a7%e0%b9%88%e0%b8%b2-50-%e0%b8%aa%e0%b8%b2%e0%b8%a2%e0%b8%9e%e0%b8%b1%e0%b8%99%e0%b8%98%e0%b8%b8%e0%b9%8c/ เก็บถาวร 2012-10-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ชวนดู "นกกว่า 50 สายพันธุ์ทั่วโลก" จากบ้านเมือง]
อ่านเพิ่ม
[แก้]- Murphy, S.A.; Legge, S.M. (2007). "The gradual loss and episodic creation of Palm Cockatoo (Probosciger aterrimus) nest-trees in a fire- and cyclone-prone habitat". Emu. 107 (1): 1–6. Bibcode:2007EmuAO.107....1M. doi:10.1071/mu06012. S2CID 84507278.