ฤดูหนาวในประเทศไทย พ.ศ. 2559–2560
ฤดูหนาวทางดาราศาสตร์ | 21 ธันวาคม – 19 มีนาคม |
---|---|
ฤดูหนาวทางอุตุนิยมวิทยา | 30 ตุลาคม – 3 มีนาคม |
ประเภทอากาศหนาว | |
---|---|
อุณหภูมิ | ความหมาย |
18.0–22.9 | อากาศเย็น |
16.0–17.9 | อากาศค่อนข้างหนาว |
8.0–15.9 | อากาศหนาว |
≤7.9 | อากาศหนาวจัด |
ประเภทอากาศร้อน | |
อุณหภูมิ | ความหมาย |
35.0–39.9 | อากาศร้อน |
≥40.0 | อากาศร้อนจัด |
เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2559 กรมอุตุนิยมวิทยาออกประกาศเริ่มต้นฤดูหนาวอย่างเป็นทางการในประเทศไทย ในวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2558 เนื่องจากลมระดับล่างเปลี่ยนเป็นลมตะวันออกและตะวันออกเฉียงเหนือ และลมชั้นบนเปลี่ยนเป็นลมตะวันตก รวมถึงอุณหภูมิในภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือลดลงอยู่ในเกณฑ์อากาศเย็นต่อเนื่อง รวมทั้งมีปริมาณฝนในประเทศไทยตอนบนลดลง[1]
สำหรับฤดูหนาวทางดาราศาสตร์ เป็นฤดูกาลทางดาราศาสตร์ เมื่อตำแหน่งของวงโคจรโลกรอบดวงอาทิตย์ เคลื่อนเข้าสู่จุดอายัน (จุดหยุด กล่าวคือจุดที่ดวงอาทิตย์โคจรไปถึงใต้สุดหรือเหนือสุด) และจุดวิษุวัต (กลางคืนและกลางวันมีเวลาเท่ากัน)[2][3] สำหรับปีนี้ ฤดูหนาวทางดาราศาสตร์เริ่มต้นในวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2559 (วันอายันเดือนธันวาคม พ.ศ. 2559) และไปสิ้นสุดในวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2560 (วันก่อนวันวิษุวัตเดือนมีนาคม พ.ศ. 2560)[2]
จนเมื่อวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2560 กรมอุตุนิยมวิทยาได้ออกประกาศการเข้าสู่ฤดูร้อนของประเทศไทย พ.ศ. 2560 โดยระบุว่าประเทศไทยได้เข้าสู่ฤดูร้อนแล้วเมื่อวันที่ 3 มีนาคม เนื่องจากมีอุณหภูมิสูงสุดสูงขึ้นและมีอากาศร้อนตอนกลางวัน รวมทั้งมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือได้เปลี่ยนเป็นลมตะวันออกเฉียงใต้หรือลมฝ่ายใต้ และฤดูร้อนจะไปสิ้นสุดประมาณกลางเดือนพฤษภาคม 2560[4] จึงถือว่าเป็นการสิ้นสุดฤดูหนาวลงอย่างเป็นทางการ
ภูมิหลัง
[แก้]ฤดูของประเทศไทยแบ่งเป็น 3 ฤดู คือ ฤดูร้อน (กลางเดือนกุมภาพันธ์ถึงกลางเดือนพฤษภาคม), ฤดูฝน (กลางเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคม) และฤดูหนาว (กลางเดือนตุลาคมถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์) ซึ่งฤดูหนาวเริ่มขึ้นเมื่อมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดเข้าปกคลุมประเทศไทย โดยเริ่มต้นอากาศจะแปรปรวน ไม่แน่นอน อาจมีอากาศเย็น หรือฝนฟ้าคะนอง โดยเฉพาะภาคกลางตอนล่าง[5]
มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือมีแหล่งกำเนิดจะบริเวณความกดอากาศสูงในซีกโลกเหนือแถบประเทศมองโกเลียและจีน ซึ่งจะพัดพาเอามวลอากาศเย็นและแห้งเข้ามาในประเทศไทย ทำให้ท้องฟ้าปลอดโปร่ง อากาศจะหนาวเย็นและแห้งโดยทั่วไปในประเทศไทยตอนบน แต่จะทำให้ภาคใต้มีฝนตกชุกเนื่องจากนำเอาความชื้นจากอ่าวไทยเข้าไปในพื้นที่[6]
ในภาคกลาง, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ อุณหภูมิจะแตกต่างกันมากในช่วงฤดูร้อนและฤดูหนาว ซึ่งในฤดูหนาวอุณหภูมิต่ำสุดในตอนเช้าจะอยู่เกณฑ์หนาวถึงหนาวจัดในเดือนธันวาคมถึงมกราคม ซึ่งอุณหภูมิอาจลดลงได้จนต่ำกว่าจุดเยือกแข็งในพื้นที่ที่มีภูมิประเทศเป็นเทือกเขาหรือยอดเขาสูงของภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ลมพื้นผิวโดยมากเป็นลมฝ่ายเหนือและลมตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนความชื้นสัมพัทธ์จะลดลงอย่างชัดเจน[6]
อุณหภูมิต่ำที่สุดในประเทศไทยที่เคยวัดได้ในระหว่างปี พ.ศ. 2494 ถึง พ.ศ. 2558 คือ -1.4 องศาเซลเซียส ที่สถานีอากาศเกษตร (สกษ.) สกลนคร จังหวัดสกลนคร ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เมื่อวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2517[6]
ส่วนอุณหภูมิต่ำสุดของภาคอื่น ๆ มีดังนี้
- ภาคเหนือวัดได้ 0.8 องศาเซลเซียส ที่อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2542
- ภาคกลางวัดได้ 5.2 องศาเซลเซียส ที่อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2536
- ภาคตะวันออกวัดได้ 7.6 องศาเซลเซียส ที่อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว เมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2506
- ภาคใต้ฝั่งตะวันออกวัดได้ 6.4 องศาเซลเซียส ที่สถานีอากาศเกษตรหนองพลับ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2542
- ภาคใต้ฝั่งตะวันตกวัดได้ 13.7 องศาเซลเซียส ที่อำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง เมื่อวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2499
ส่วนกรุงเทพมหานครวัดได้ 9.9 องศาเซลเซียส ที่สถานีตรวจอากาศเฉลิมพระเกียรติ แขวงคลองเตย เขตคลองเตย เมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2498[6][7][8]
การพยากรณ์ฤดูกาล
[แก้]วันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2559 กรมอุตุนิยมวิทยาได้ออกประกาศ การคาดหมายลักษณะอากาศช่วงฤดูหนาวของประเทศไทย พ.ศ. 2559–2560 โดยกรมอุตุนิยมวิทยาคาดหมายว่า ฤดูหนาวในประเทศไทยตอนบนจะเริ่มต้นขึ้นในช่วงสัปดาห์ที่ 4 ของเดือนตุลาคม พ.ศ. 2559 และจะไปสิ้นสุดช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 สำหรับอุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ยจะใกล้เคียงกับค่าปกติ (ที่ประมาณ 19–20°ซ) ซึ่งหนาวเย็นกว่าในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยคาดว่าอุณหภูมิต่ำสุดของประเทศอยู่ที่ประมาณ 6–7°ซ อยู่ในบริเวณตอนบนของภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สำหรับกรุงเทพมหานครและปริมณฑลอุณหภูมิต่ำสุดจะอยู่ที่ 14–15°ซ โดยช่วงที่มีอากาศหนาวเย็นที่สุดจะอยู่ประมาณครึ่งหลังของเดือนธันวาคมถึงกลางเดือนมกราคม และบริเวณยอดภูเขา จะมีอากาศหนาวถึงหนาวจัดได้ และอาจเกิดน้ำค้างแข็งขึ้นได้[9][10]
สำหรับภาคใต้ จะมีอากาศเย็นบริเวณตอนบนของภาค และมีฝนตกหนาแน่นในเดือนพฤศจิกายนและธันวาคม โดยเฉพาะชายฝั่งด้านตะวันออก ตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไป จะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง และมีโอกาศได้รับผลกระทบจากพายุหมุนเขตร้อนด้วย อีกทั้งมีร่องมรสุมพาดผ่าน อาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันได้[9]
ส่วนมรสุม คาดว่าจะเป็นมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือปกคลุมตลอดช่วง[9]
ต่อมาในวันที่ 26 ตุลาคม กรมอุตุนิยมวิทยาได้ออกการคาดหมายลักษณะอากาศช่วงฤดูหนาวของประเทศไทย พ.ศ. 2559–2560 ฉบับปรับปรุง[10]
ภาค | พฤศจิกายน 2559 | ธันวาคม 2559 | มกราคม 2560 | กุมภาพันธ์ 2560 | ||
---|---|---|---|---|---|---|
ครึ่งแรก | ครึ่งหลัง | |||||
ภาคเหนือ | ตอนบน | 18–20°ซ | 14–16°ซ | 14–16°ซ | 16–18°ซ | 18–20°ซ |
ตอนล่าง | 20–22°ซ | 16–18°ซ | 16-18°ซ | 18–20°ซ | 20–22°ซ | |
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ | ตอนบน | 18–20°ซ | 15–17°ซ | 15–17°ซ | 17–19°ซ | 19-21°ซ |
ตอนล่าง | 20–22°ซ | 17–19°ซ | 17–19°ซ | 19–21°ซ | 21–23°ซ | |
ภาคกลาง | 22–24°ซ | 19–21°ซ | 20–22°ซ | 21–23°ซ | 23–25°ซ | |
ภาคตะวันออก | 22–24°ซ | 20–22°ซ | 20–22°ซ | 21–23°ซ | 23–25°ซ | |
ภาคใต้ | ฝั่งตะวันออก | 22–24°ซ | 21–23°ซ | 21–23°ซ | 22–24°ซ | |
ฝั่งตะวันตก | 23–25°ซ | 22–24°ซ | 22–24°ซ | 22–24°ซ | ||
กรุงเทพมหานครและปริมณฑล | 23–25°ซ | 21–23°ซ | 22–24°ซ | 22–24°ซ | 24–26°ซ |
ภาคและจังหวัด | อุณหภูมิต่ำสุดคาดหมาย | อุณหภูมิต่ำสุดฤดูกาลก่อน | |||
---|---|---|---|---|---|
ธันวาคม 2559 | มกราคม 2560 | ธันวาคม 2558 | มกราคม 2559 | ||
ภาคเหนือ | เชียงราย | 5–7°ซ | 6–8°ซ | 13.5°ซ | 8.1°ซ |
เชียงใหม่ | 7–9°ซ | 8–10°ซ | 15.6°ซ | 10.0°ซ | |
พิษณุโลก | 10–12°ซ | 11–13°ซ | 17.8°ซ | 12.3°ซ | |
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ | เลย | 6–8°ซ | 6–8°ซ | 12.8°ซ | 10.5°ซ |
นครพนม | 7–9°ซ | 7–9°ซ | 14.0°ซ | 10.7°ซ | |
นครราชสีมา | 11–13°ซ | 11–13°ซ | 17.1°ซ | 12.0°ซ | |
อุบลราชธานี | 12–14°ซ | 12–14°ซ | 15.1°ซ | 13.0°ซ | |
ภาคกลาง | นครสวรรค์ | 11–13°ซ | 12–14°ซ | 17.3°ซ | 14.0°ซ |
สุพรรณบุรี | 12–14°ซ | 13–15°ซ | 18.6°ซ | 14.3°ซ | |
กาญจนบุรี | 11–13°ซ | 12–14°ซ | 18.2°ซ | 13.6°ซ | |
กรุงเทพมหานคร | 14–16°ซ | 15–17°ซ | 20.6°ซ | 14.8°ซ | |
ภาคตะวันออก | สระแก้ว | 13–15°ซ | 14–16°ซ | 18.3°ซ | 14.5°ซ |
ชลบุรี | 14–16°ซ | 15–17°ซ | 21.0°ซ | 16.4°ซ | |
ภาคใต้ | ประจวบคีรีขันธ์ | 18–20°ซ | 18–20°ซ | 20.3°ซ | 14.0°ซ |
ภูเก็ต | 20–22°ซ | 20–22°ซ | 21.2°ซ | 20.9°ซ |
เหตุการณ์
[แก้]เดือนตุลาคม
[แก้]- วันที่ 30 ตุลาคม กรมอุตุนิยมวิทยาประกาศเริ่มต้นฤดูหนาวอย่างเป็นทางการ[1]
เดือนพฤศจิกายน
[แก้]- วันที่ 2 พฤศจิกายน อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ วัดอุณหภูมิได้ 8 องศาเซลเซียส ส่วนในตัวเมืองเชียงใหม่วัดได้ 22.1 องศาเซลเซียส และดอยอ่างขางวัดได้เฉลี่ย 16.2 องศาเซลเซียส และยังมีหมอกหนาบริเวณจุดชมวิวที่เป็นที่นิยมของดอยอินทนนท์ซึ่งสามารถสังเกตเห็นทะเลหมอกได้[11]
บริเวณความกดอากาศสูงกำลังค่อนข้างแรง 4–11 พฤศจิกายน
[แก้]- วันที่ 4 พฤศจิกายน กรมอุตุนิยมวิทยาออกประกาศ "อากาศแปรปรวนบริเวณประเทศไทยตอนบน ฝนตกหนักบริเวณภาคใต้ และคลื่นลมแรงบริเวณอ่าวไทย" ฉบับที่ 1 โดยได้ระบุว่าความกดอากาศสูงกำลังค่อนข้างแรงจากประเทศจีนจะเข้าปกคลุมประเทศไทยตอนบนในระหว่างวันที่ 7–9 พฤศจิกายน ซึ่งจะทำให้มีฝนฟ้าคะนองและมีลมแรง จากนั้นอากาศจะเย็นลง 3–5 องศาเซลเซียส เริ่มจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ต่อด้วยภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกในระยะต่อไป[12]
- วันที่ 5 พฤศจิกายน กรมอุตุนิยมวิทยาออกประกาศต่อมาในฉบับที่ 2 และ 3[13][14]
- วันที่ 6 พฤศจิกายน กรมอุตุนิยมวิทยาออกประกาศฉบับที่ 4 และ 5 ตามมา[15][16] จากนั้นในช่วงเย็นได้มีประกาศฉบับที่ 6 ออกมา โดยระบุว่า ความกดอากาศสูงกำลังค่อนข้างแรงได้แผ่ลงมาปกคลุมประเทศจีนตอนกลางแล้ว ซึ่งจะลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนในวันที่ 7–11 พฤศจิกายน ทำให้มีฝนฟ้าคะนองในตอนแรก หลังจากนั้นอุณหภูมิจะลดลง 3–5 องศาเซลเซียส โดยเริ่มจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แล้วจึงมาที่ภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกต่อไป[17]
- วันที่ 7 พฤศจิกายน กรมอุตุนิยมวิทยาออกประกาศฉบับที่ 7, 8 และ 9[18][19][20] ต่อมาในประกาศฉบับที่ 10 กรมอุตุนิยมวิทยาระบุว่า ความกดอากาศสูงกำลังค่อนข้างแรงจากประเทศจีนได้ลงมาถึงภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนแล้ว โดยจะทำให้เกิดฝนฟ้าคะนอง ลมแรง จากนั้นอากาศจะเย็นลง 3–5 องศาเซลเซียส โดยมีผลกระทบกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือในวันที่ 7–8 พฤศจิกายน และมีผลกระทบกับภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกในวันที่ 8–10 พฤศจิกายน ส่วนภาคใต้มีฝนตกเพิ่มขึ้น คลื่นลมในอ่าวไทยมีกำลังแรง[21]
- วันที่ 8 พฤศจิกายน กรมอุตุนิยมวิทยาออกประเทศฉบับที่ 11, 12 และ 13[22][23][24] ต่อมาในช่วงดึก กรมอุตุฯ ได้ออกประกาศฉบับที่ 14 โดยระบุว่า ความกดอากาศสูงกำลังค่อนข้างแรงได้ปกคลุมอยู่บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางแล้ว โดยจะทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศแปรปรวน มีฝนฟ้าคะนอง ลมแรงในตอนแรก จากนั้นอากาศจะเย็นลง โดยส่งผลกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือวันที่ 8–9 พฤศจิกายน ส่วนภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกมีผลกระทบในวันที่ 8–10 พฤศจิกายน ส่วนบริเวณภาคใต้มีฝนตกหนักบางแห่ง คลื่นลมในอ่าวไทยมีกำลังแรง[25]
- วันที่ 9 พฤศจิกายน กรมอุตุนิยมวิทยาออกประกาศฉบับที่ 14, 15, 16 และ 17[26][27][28][29] ต่อมาในช่วงกลางดึกฉบับที่ 18 ระบุว่า ความกดอากาศสูงกำลังค่อนข้างแรงยังคงปกคลุมประเทศไทยตอนบนอยู่ ซึ่งจะทำให้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีฝนลดลง อากาศเย็นลง 2–4 องศาเซลเซียส ส่วนภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกยังคงมีฝนต่อไปในวันที่ 10 พฤศจิกายน หลังจากนั้นฝนจะลดลงและอากาศจะเย็นลงเล็กน้อย[30]
- วันที่ 10 พฤศจิกายน กรมอุตุนิยมวิทยาออกประกาศฉบับที่ 19 และ 20[31][32] และในช่วงเย็นได้ออกประกาศฉบับที่ 21 โดยระบุว่า บริเวณความกดอากาศสูงยังคงปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คาดว่าจะเข้าปกคลุมภาคเหนือและภาคกลางในช่วงกลางคืนวันเดียวกัน โดยจะทำให้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีฝนลดลง อุณหภูมิลดลงได้ 1–3 องศาเซลเซียส ส่วนภาคเหนือและภาคกลางยังคงมีฝนต่อไปในวันนี้ หลังจากนั้นฝนจะลดลงและอุณหภูมิจะลดลง 1–3 องศาเซลเซียส และยังมีการเตือนให้เกษตรกรระวังความเสียหายจากผลผลิตทางการเกษตร[33]
- วันที่ 11 พฤศจิกายน กรมอุตุนิยมวิทยาออกประกาศฉบับที่ 22[34] และต่อมาได้ออกฉบับสุดท้าย โดยระบุว่าบริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกมีฝนลดลง แต่ภาคเหนือยังมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ และตาก โดยอุณหภูมิจะลด 1–3 องศาเซลเซียส และมีอากาศเย็นในตอนเช้า[35]
บริเวณความกดอากาศสูงกำลังค่อนข้างแรง 21–25 พฤศจิกายน
[แก้]- วันที่ 22 พฤศจิกายน ดอยอินทนนท์วัดอุณหภูมิได้ 0 องศาเซลเซียส ทั้งยังเกิดเหมยขาบ ซึ่งเกิดขึ้นบริเวณยอดดอยและจุดชมวิวกิ่วแม่ปาน[36]
- วันที่ 24 พฤศจิกายน บริเวณความกดอากาศสูงกำลังค่อนข้างแรงปกคลุมอยู่บริเวณตอนบนของประเทศลาวและทะเลจีนใต้ ซึ่งกรมอุตุนิยมวิทยาคาดว่าจะปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยในวันเดียวกัน ทำให้อุณหภูมิลดลง 4–6 องศาเซลเซียส และปกคลุมภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกในวันถัดไป ขณะที่มีกระแสลมตะวันออกเคลื่อนผ่านภาคกลางและภาคเหนือตอนล่าง ทำให้มีอากาศแปรปรวน มีฝนฟ้าคะนอง[37]
เดือนธันวาคม
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
เดือนมกราคม
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
เดือนกุมภาพันธ์
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
เดือนมีนาคม
[แก้]- วันที่ 3 มีนาคม สิ้นสุดฤดูหนาว[4]
สถิติอุณหภูมิต่ำที่สุด
[แก้]ภาคและจังหวัด | อุณหภูมิต่ำที่สุดระหว่าง พ.ศ. 2494 ถึง 2558 | อุณหภูมิต่ำสุดฤดูกาลนี้ | |||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
พฤศจิกายน | ธันวาคม | มกราคม | กุมภาพันธ์ | พฤศจิกายน 2559 | ธันวาคม 2559 | มกราคม 2560 | กุมภาพันธ์ 2560 | ||||||||||||||
อุณหภูมิ | วันที่ | ปี | อุณหภูมิ | วันที่ | ปี | อุณหภูมิ | วันที่ | ปี | อุณหภูมิ | วันที่ | ปี | อุณหภูมิ | วันที่ | อุณหภูมิ | วันที่ | อุณหภูมิ | วันที่ | อุณหภูมิ | วันที่ | ||
ภาคเหนือ | เชียงราย | 5.0°ซ | 21 | 2514 | 1.5°ซ | 25 | 2542 | 1.5°ซ | 2 | 2517 | 6.5°ซ | 11 | 2506 | 12.7°ซ | 22 พ.ย. | 11.3°ซ | 14/29 ธ.ค. | 12.3°ซ | 16 ม.ค. | 10.6°ซ | 4/6 ก.พ. |
เชียงใหม่ | 6.0°ซ | 21 | 2514 | 3.8°ซ | 25 | 2542 | 3.7°ซ | 2 | 2517 | 7.3°ซ | 3 | 2517 | 17.7°ซ | 22 พ.ย. | 17.1°ซ | 20 ธ.ค. | 17.1°ซ | 14/15 ม.ค. | 14.4°ซ | 5 ก.พ. | |
พิษณุโลก | 12.1°ซ | 29 | 2526 | 8.9°ซ | 26 | 2542 | 7.5°ซ | 13 | 2498 | 10.0°ซ | 9 | 2559 | 20.0°ซ | 29 พ.ย. | 16.3°ซ | 29 ธ.ค. | 17.8°ซ | 24/25 ม.ค. | 17.7°ซ | 9 ก.พ. | |
ภาคตะวันออก เฉียงเหนือ |
เลย | 5.6°ซ | 30 | 2499 | 2.2°ซ | 31 | 2516 2518 |
0.1°ซ | 2 | 2517 | 6.2°ซ | 1 | 2506 | 16.7°ซ | 28 พ.ย. | 12.4°ซ | 29 ธ.ค. | 14.6°ซ | 31 ม.ค. | 12.6°ซ | 5 ก.พ. |
นครพนม | 7.2°ซ | 23 | 2498 | 4.1°ซ | 30 | 2518 | 1.8°ซ | 12 | 2498 | 8.0°ซ | 13 | 2517 | 14.8°ซ | 27 พ.ย. | 14.0°ซ | 29 ธ.ค. | 13.6°ซ | 22 ม.ค. | 13.4°ซ | 13 ก.พ. | |
นครราชสีมา | 9.1°ซ | 30 | 2499 | 6.2°ซ | 31 | 2518 | 4.9°ซ | 12 | 2498 | 10.6°ซ | 21 | 2498 | 19.7°ซ | 28 พ.ย. | 16.3°ซ | 28 ธ.ค. | 16.5°ซ | 28 ม.ค. | 16.1°ซ | 12 ก.พ. | |
อุบลราชธานี | 12.5°ซ | 22 | 2497 | 8.5°ซ | 30 | 2518 | 7.6°ซ | 12 | 2498 | 11.5°ซ | 8 11 |
2559 2520 |
18.2°ซ | 27 พ.ย. | 17.0°ซ | 29 ธ.ค. | 17.2°ซ | 29 ม.ค. | 15.1°ซ | 13 ก.พ. | |
ภาคกลาง | นครสวรรค์ | 11.9°ซ | 28 19 29 |
2499 2514 2526 |
7.7°ซ | 25 | 2542 | 6.1°ซ | 13 | 2498 | 10.4°ซ | 9 | 2559 | 20.0°ซ | 28 พ.ย. | 16.9°ซ | 28 ธ.ค. | 18.5°ซ | 28 ม.ค. | 17.2°ซ | 12/13 ก.พ. |
สุพรรณบุรี | 14.5°ซ | 30 18 |
2499 2514 |
10.0°ซ | 31 | 2518 | 9.2°ซ | 13 | 2498 | 12.0°ซ | 6 | 2500 | 21.3°ซ | 28 พ.ย. | 18.8°ซ | 11 ธ.ค. | 18.1°ซ | 31 ม.ค. | 17.9°ซ | 15 ก.พ. | |
กาญจนบุรี | 11.6°ซ | 17 | 2514 | 6.8°ซ | 31 | 2518 | 5.5°ซ | 13 | 2498 | 12.1°ซ | 13 | 2517 | 22.0°ซ | 29 พ.ย. | 18.3°ซ | 28 ธ.ค. | 19.6°ซ | 27 ม.ค. | 19.0°ซ | 12 ก.พ. | |
กรุงเทพมหานคร | 14.2°ซ | 17 | 2514 | 10.5°ซ | 30 | 2518 | 9.9°ซ | 12 | 2498 | 14.9°ซ | 13 | 2517 | 22.7°ซ | 6 พ.ย. | 20.5°ซ | 28 ธ.ค. | 20.0°ซ | 28 ม.ค. | 20.0°ซ | 13 ก.พ. | |
ภาคตะวันออก | สระแก้ว | 14.7°ซ | 6 | 2543 | 9.0°ซ | 24 | 2542 | 11.4°ซ | 12 | 2552 | 13.0°ซ | 8 | 2559 | 20.9°ซ | 28 พ.ย. | 18.4°ซ | 29 ธ.ค. | 18.2°ซ | 28 ม.ค. | 18.7°ซ | 13 ก.พ. |
ชลบุรี | 14.2°ซ | 16 | 2514 | 12.0°ซ | 29 | 2518 | 9.9°ซ | 12 | 2498 | 16.0°ซ | 8 | 2559 | 23.1°ซ | 29 พ.ย. | 20.6°ซ | 28 ธ.ค. | 21.2°ซ | 28 ม.ค. | 21.0°ซ | 12 ก.พ. | |
ภาคใต้ | ประจวบคีรีขันธ์ | 13.0°ซ | 22 | 2497 | 11.4°ซ | 31 | 2499 | 10.5°ซ | 19 | 2506 | 12.2°ซ | 6 | 2500 | 23.5°ซ | 2 พ.ย. | 22.6°ซ | 10 ธ.ค. | 20.1°ซ | 30 ม.ค. | 20.0°ซ | 8 ก.พ. |
ภูเก็ต | 19.3°ซ | 23 | 2497 | 18.4°ซ | 1 | 2525 | 17.4°ซ | 4 | 2500 | 18.6°ซ | 18 | 2526 | 24.0°ซ | 19 พ.ย. | 23.8°ซ | 29 ธ.ค. | 22.5°ซ | 4 ม.ค. | 21.6°ซ | 9 ก.พ. | |
อ้างอิงข้อมูล | การคาดหมายลักษณะอากาศช่วงฤดูหนาวของกรมอุตุนิยมวิทยา[10] สถิติอุณหภูมิต่ำที่สุดช่วงฤดูหนาวของประเทศไทยคาบ 65 ปี พ.ศ. 2494–2558[38] |
ระบบตรวจอากาศอัตโนมัติ กรมอุตุนิยมวิทยา[39] |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "การเข้าสู่ฤดูหนาวของประเทศไทย พ.ศ. 2559" (PDF). tmd.go.th. กรมอุตุนิยมวิทยา. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2559. สืบค้นเมื่อ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|archivedate=
(help) - ↑ 2.0 2.1 "When does winter start?". metoffice.gov.uk. Met Office. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559. สืบค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|archivedate=
(help) - ↑ "Meteorological Versus Astronomical Summer—What's the Difference?". ncdc.noaa.gov. NOAA. สืบค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 4.0 4.1 "ประกาศการเข้าสู่ฤดูร้อนของประเทศไทย พ.ศ. 2560". tmd.go.th. กรมอุตุนิยมวิทยา. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 6 มีนาคม พ.ศ. 2560. สืบค้นเมื่อ 6 มีนาคม พ.ศ. 2560.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|archivedate=
(help) - ↑ "ฤดูกาลของประเทศไทย". tmd.go.th. กรมอุตุนิยมวิทยา. สืบค้นเมื่อ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 6.0 6.1 6.2 6.3 "ภูมิอากาศของประเทศไทย" (PDF). tmd.go.th. กรมอุตุนิยมวิทยา. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559. สืบค้นเมื่อ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|archivedate=
(help) - ↑ "ภูมิอากาศกรุงเทพมหานคร" (PDF). tmd.go.th. กรมอุตุนิยมวิทยา. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559. สืบค้นเมื่อ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|archivedate=
(help) - ↑ "ข้อมูลพื้นฐานสถานีอุตุนิยมวิทยากรุงเทพฯ" (PDF). tmd.go.th. กรมอุตุนิยมวิทยา. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559. สืบค้นเมื่อ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|archivedate=
(help) - ↑ 9.0 9.1 9.2 "การคาดหมายลักษณะอากาศช่วงฤดูหนาวของประเทศไทย พ.ศ. 2559–2560". tmd.go.th. กรมอุตุนิยมวิทยา. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-10-31. สืบค้นเมื่อ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ 10.0 10.1 10.2 10.3 10.4 "การคาดหมายลักษณะอากาศช่วงฤดูหนาวของประเทศไทย พ.ศ. 2559–2560 ฉบับปรับปรุง 26 ตุลาคม พ.ศ. 2559". tmd.go.th. กรมอุตุนิยมวิทยา. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-10-31. สืบค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ "นักท่องเที่ยว ขึ้นดอยสัมผัสอากาศหนาว". www.nationtv.tv. NATION. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559. สืบค้นเมื่อ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|archivedate=
(help) - ↑ "อากาศแปรปรวนบริเวณประเทศไทยตอนบน ฝนตกหนักบริเวณภาคใต้ และคลื่นลมแรงบริเวณอ่าวไทย ฉบับที่ 1 ลงวันที่ 04 พฤศจิกายน 2559" (PDF). tmd.go.th. กรมอุตุนิยมวิทยา. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559. สืบค้นเมื่อ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|archivedate=
(help) - ↑ "อากาศแปรปรวนบริเวณประเทศไทยตอนบน ฝนตกหนักบริเวณภาคใต้ และคลื่นลมแรงบริเวณอ่าวไทย ฉบับที่ 2 ลงวันที่ 05 พฤศจิกายน 2559". tmd.go.th. กรมอุตุนิยมวิทยา. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559. สืบค้นเมื่อ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|archivedate=
(help) - ↑ "อากาศแปรปรวนบริเวณประเทศไทยตอนบน ฝนตกหนักบริเวณภาคใต้ และคลื่นลมแรงบริเวณอ่าวไทย ฉบับที่ 3 ลงวันที่ 05 พฤศจิกายน 2559" (PDF). tmd.go.th. กรมอุตุนิยมวิทยา. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559. สืบค้นเมื่อ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|archivedate=
(help) - ↑ "อากาศแปรปรวนบริเวณประเทศไทยตอนบน ฝนตกหนักบริเวณภาคใต้ และคลื่นลมแรงบริเวณอ่าวไทย ฉบับที่ 4 ลงวันที่ 06 พฤศจิกายน 2559". tmd.go.th. กรมอุตุนิยมวิทยา. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559. สืบค้นเมื่อ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|archivedate=
(help) - ↑ "อากาศแปรปรวนบริเวณประเทศไทยตอนบน ฝนตกหนักบริเวณภาคใต้ และคลื่นลมแรงบริเวณอ่าวไทย ฉบับที่ 5 ลงวันที่ 06 พฤศจิกายน 2559". tmd.go.th. กรมอุตุนิยมวิทยา. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559. สืบค้นเมื่อ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|archivedate=
(help) - ↑ "อากาศแปรปรวนบริเวณประเทศไทยตอนบน ฝนตกหนักบริเวณภาคใต้ และคลื่นลมแรงบริเวณอ่าวไทย ฉบับที่ 6 ลงวันที่ 06 พฤศจิกายน 2559" (PDF). tmd.go.th. กรมอุตุนิยมวิทยา. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559. สืบค้นเมื่อ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|archivedate=
(help) - ↑ "อากาศแปรปรวนบริเวณประเทศไทยตอนบน ฝนตกหนักบริเวณภาคใต้ และคลื่นลมแรงบริเวณอ่าวไทย ฉบับที่ 7 ลงวันที่ 07 พฤศจิกายน 2559". tmd.go.th. กรมอุตุนิยมวิทยา. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559. สืบค้นเมื่อ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|archivedate=
(help) - ↑ "อากาศแปรปรวนบริเวณประเทศไทยตอนบน ฝนตกหนักบริเวณภาคใต้ และคลื่นลมแรงบริเวณอ่าวไทย ฉบับที่ 8 ลงวันที่ 07 พฤศจิกายน 2559". tmd.go.th. กรมอุตุนิยมวิทยา. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559. สืบค้นเมื่อ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|archivedate=
(help) - ↑ "อากาศแปรปรวนบริเวณประเทศไทยตอนบน ฝนตกหนักบริเวณภาคใต้ และคลื่นลมแรงบริเวณอ่าวไทย ฉบับที่ 9 ลงวันที่ 07 พฤศจิกายน 2559". tmd.go.th. กรมอุตุนิยมวิทยา. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559. สืบค้นเมื่อ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|archivedate=
(help) - ↑ "อากาศแปรปรวนบริเวณประเทศไทยตอนบน ฝนตกหนักบริเวณภาคใต้ และคลื่นลมแรงบริเวณอ่าวไทย ฉบับที่ 10 ลงวันที่ 07 พฤศจิกายน 2559" (PDF). tmd.go.th. กรมอุตุนิยมวิทยา. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559. สืบค้นเมื่อ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|archivedate=
(help) - ↑ "อากาศแปรปรวนบริเวณประเทศไทยตอนบน ฝนตกหนักบริเวณภาคใต้ และคลื่นลมแรงบริเวณอ่าวไทย ฉบับที่ 11 ลงวันที่ 08 พฤศจิกายน 2559". tmd.go.th. กรมอุตุนิยมวิทยา. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559. สืบค้นเมื่อ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|archivedate=
(help) - ↑ "อากาศแปรปรวนบริเวณประเทศไทยตอนบน ฝนตกหนักบริเวณภาคใต้ และคลื่นลมแรงบริเวณอ่าวไทย ฉบับที่ 12 ลงวันที่ 08 พฤศจิกายน 2559". tmd.go.th. กรมอุตุนิยมวิทยา. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559. สืบค้นเมื่อ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|archivedate=
(help) - ↑ "อากาศแปรปรวนบริเวณประเทศไทยตอนบน ฝนตกหนักบริเวณภาคใต้ และคลื่นลมแรงบริเวณอ่าวไทย ฉบับที่ 13 ลงวันที่ 08 พฤศจิกายน 2559" (PDF). tmd.go.th. กรมอุตุนิยมวิทยา. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559. สืบค้นเมื่อ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|archivedate=
(help) - ↑ "อากาศแปรปรวนบริเวณประเทศไทยตอนบน ฝนตกหนักบริเวณภาคใต้ และคลื่นลมแรงบริเวณอ่าวไทย ฉบับที่ 14 ลงวันที่ 08 พฤศจิกายน 2559" (PDF). tmd.go.th. กรมอุตุนิยมวิทยา. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559. สืบค้นเมื่อ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|archivedate=
(help) - ↑ "อากาศแปรปรวนบริเวณประเทศไทยตอนบน ฝนตกหนักบริเวณภาคใต้ และคลื่นลมแรงบริเวณอ่าวไทย ฉบับที่ 14 ลงวันที่ 09 พฤศจิกายน 2559". tmd.go.th. กรมอุตุนิยมวิทยา. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559. สืบค้นเมื่อ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|archivedate=
(help) - ↑ "อากาศแปรปรวนบริเวณประเทศไทยตอนบน ฝนตกหนักบริเวณภาคใต้ และคลื่นลมแรงบริเวณอ่าวไทย ฉบับที่ 15 ลงวันที่ 09 พฤศจิกายน 2559". tmd.go.th. กรมอุตุนิยมวิทยา. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559. สืบค้นเมื่อ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|archivedate=
(help) - ↑ "อากาศแปรปรวนบริเวณประเทศไทยตอนบน ฝนตกหนักบริเวณภาคใต้ และคลื่นลมแรงบริเวณอ่าวไทย ฉบับที่ 16 ลงวันที่ 09 พฤศจิกายน 2559". tmd.go.th. กรมอุตุนิยมวิทยา. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559. สืบค้นเมื่อ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|archivedate=
(help) - ↑ "อากาศแปรปรวนบริเวณประเทศไทยตอนบน ฝนตกหนักบริเวณภาคใต้ และคลื่นลมแรงบริเวณอ่าวไทย ฉบับที่ 17 ลงวันที่ 09 พฤศจิกายน 2559". tmd.go.th. กรมอุตุนิยมวิทยา. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559. สืบค้นเมื่อ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|archivedate=
(help) - ↑ "อากาศแปรปรวนบริเวณประเทศไทยตอนบน ฝนตกหนักบริเวณภาคใต้ และคลื่นลมแรงบริเวณอ่าวไทย ฉบับที่ 18 ลงวันที่ 09 พฤศจิกายน 2559" (PDF). tmd.go.th. กรมอุตุนิยมวิทยา. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559. สืบค้นเมื่อ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|archivedate=
(help) - ↑ "อากาศแปรปรวนบริเวณประเทศไทยตอนบน ฝนตกหนักบริเวณภาคใต้ และคลื่นลมแรงบริเวณอ่าวไทย ฉบับที่ 19 ลงวันที่ 10 พฤศจิกายน 2559". tmd.go.th. กรมอุตุนิยมวิทยา. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559. สืบค้นเมื่อ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|archivedate=
(help) - ↑ "อากาศแปรปรวนบริเวณประเทศไทยตอนบน ฝนตกหนักบริเวณภาคใต้ และคลื่นลมแรงบริเวณอ่าวไทย ฉบับที่ 20 ลงวันที่ 10 พฤศจิกายน 2559". tmd.go.th. กรมอุตุนิยมวิทยา. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559. สืบค้นเมื่อ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|archivedate=
(help) - ↑ "อากาศแปรปรวนบริเวณประเทศไทยตอนบน ฝนตกหนักบริเวณภาคใต้ และคลื่นลมแรงบริเวณอ่าวไทย ฉบับที่ 21 ลงวันที่ 10 พฤศจิกายน 2559" (PDF). tmd.go.th. กรมอุตุนิยมวิทยา. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559. สืบค้นเมื่อ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|archivedate=
(help) - ↑ "อากาศแปรปรวนบริเวณประเทศไทยตอนบน ฝนตกหนักบริเวณภาคใต้ และคลื่นลมแรงบริเวณอ่าวไทย ฉบับที่ 22 ลงวันที่ 11 พฤศจิกายน 2559". tmd.go.th. กรมอุตุนิยมวิทยา. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559. สืบค้นเมื่อ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|archivedate=
(help) - ↑ "อากาศแปรปรวนบริเวณประเทศไทยตอนบน ฝนตกหนักบริเวณภาคใต้ และคลื่นลมแรงบริเวณอ่าวไทย ฉบับที่ 23 ลงวันที่ 11 พฤศจิกายน 2559" (PDF). tmd.go.th. กรมอุตุนิยมวิทยา. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559. สืบค้นเมื่อ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|archivedate=
(help) - ↑ ""ดอยอินทนนท์" หนาวจัดอุณหภูมิต่ำสุด 0 องศาเซลเซียส-เกิด "เหมยขาบ" ต่อเนื่องวันที่สอง". manager.co.th. MGR Online. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-11-22. สืบค้นเมื่อ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "อากาศแปรปรวนบริเวณประเทศไทยตอนบน ฉบับที่ 15 ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2559" (PDF). tmd.go.th. กรมอุตุนิยมวิทยา. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559. สืบค้นเมื่อ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|archivedate=
(help) - ↑ สถิติอุณหภูมิต่ำที่สุดช่วงฤดูหนาวของประเทศไทยคาบ 65 ปี พ.ศ. 2494–2558
- ↑ "Thai Meteorological Department Automatic Weather System". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-11-10. สืบค้นเมื่อ 2016-11-04.