รายชื่อบุคคลที่ได้รับการแต่งตั้ง ถอดถอน หรือควบคุมตัวโดย คปค.
หน้าตา
(เปลี่ยนทางจาก รายชื่อบุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งถอดถอนหรือควบคุมโดยคปค.)
รายชื่อบุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งถอดถอนหรือควบคุมตัวโดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ภายหลังเหตุการณ์รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549
รายชื่อบุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งโดยคปค.
[แก้]กองบัญชาการคณะปฏิรูปการปกครอง
[แก้]- ประกาศแต่งตั้งบุคคลสำคัญเพื่อทำหน้าที่ในกองบัญชาการคณะปฏิรูปการปกครอง (วันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2549) ให้
- พลเอกเรืองโรจน์ มหาศรานนท์ผู้บัญชาการทหารสูงสุดเป็น ประธานที่ปรึกษาคณะปฏิรูปการปกครอง ฯ
- (หลังจาก พลเอกเรืองโรจน์ เกษียณอายุราชการ เมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2549 พลเอกบุญสร้าง เนียมประดิษฐ์ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ดำรงตำแหน่งแทน)
- พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน ผู้บัญชาการทหารบก เป็น หัวหน้าคณะปฏิรูป
- พลเรือเอกสถิรพันธุ์ เกยานนท์ ผู้บัญชาการทหารเรือ เป็นรองหัวหน้าคณะปฏิรูปคนที่ 1
- พลอากาศเอกชลิต พุกผาสุข ผู้บัญชาการทหารอากาศ เป็นรองหัวหน้าคณะปฏิรูปคนที่ 2
- พลตำรวจเอกโกวิท วัฒนะ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เป็นรองหัวหน้าคณะปฏิรูปคนที่ 3
- พลเอกวินัย ภัททิยะกุล เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ หรือ สมช. เป็นเลขาธิการคณะปฏิรูป
- พลเอกเรืองโรจน์ มหาศรานนท์ผู้บัญชาการทหารสูงสุดเป็น ประธานที่ปรึกษาคณะปฏิรูปการปกครอง ฯ
- ประกาศให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง (วันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2549) ประกอบด้วย
- นายอภิชาต สุขัคคานนท์ ประธานกรรมการ
- นายประพันธ์ นัยโกวิท กรรมการ
- นางสดศรี สัตยธรรม กรรมการ
- นายสมชัย จึงประเสริฐ กรรมการ
- นายสุเมธ อุปนิสากร กรรมการ
คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
[แก้]- ตามประกาศ ฉบับที่ 12 (วันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2549) มีผลให้ให้คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (คตง.) และประธาน คตง.พ้นจากตำแหน่ง และให้คุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา ผู้ว่าการสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ดำเนินการแทน คตง.
- ต่อมา คปค. มีประกาศฉบับที่ 29 (วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2549) แก้ไขเพิ่มเติม ให้คุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา คงอยู่ในตำแหน่งผู้ว่าการ สตง. และปฏิบัติหน้าที่แทน คตง.ต่อไปจนถึงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2550 จากนั้นให้ดำเนินการสรรหาและแต่งตั้ง คตง.และผู้ว่าการ สตง.ใหม่
คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
[แก้]- ตามประกาศ คปค. ฉบับที่ 19 (วันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2549) ให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปราบการทุจริต พ.ศ. 2542 ประกอบด้วย
- นายปานเทพ กล้าณรงค์ราญ ประธานกรรมการ
- นายกล้านรงค์ จันทิก กรรมการ
- นายใจเด็ด พรไชยา กรรมการ
- นายประสาท พงษ์ศิวาภัย กรรมการ
- ศาสตราจารย์ภักดี โพธิศิริ กรรมการ
- ศาสตราจารย์เมธี กรองแก้ว กรรมการ
- นายวิชา มหาคุณ กรรมการ
- นายวิชัย วิวิตเสวี กรรมการ
- นางสาวสมลักษณ์ จัดกระบวนพล กรรมการ
- ตามคำสั่ง คปค. ฉบับที่ 13/2549 (สั่ง ณ วันที่ 23 กันยายน 2549) มีคำสั่งให้นายรองพล เจริญพันธุ์ เลขาธิการคณะรัฐมนตรี นักบริหาร 11 รักษาราชการแทนปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีอีกหน้าที่หนึ่ง แทนพลตำรวจตรีพีรพันธุ์ เปรมภูติ ซึ่งให้มาปฏิบัติราชการสำนักนายกรัฐมนตรีก่อนหน้านั้น
- ตามประกาศ คปค. ฉบับ 23 ลงวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2549 ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบการดำเนินงานและโครงการต่างๆ ที่ได้รับอนุมัติหรือเห็นชอบโดยบุคคลในคณะรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีดังกล่าวว่าเป็นไปโดยสุจริตหรือไม่ ดังมีรายนาม ดังต่อไปนี้
- นายสวัสดิ์ โชติพานิช เป็นประธานกรรมการ
- ผู้ว่าการสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน เป็นกรรมการ
- อัยการสูงสุด หรือผู้แทน เป็นกรรมการ
- เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือผู้แทน เป็นกรรมการ
- เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน หรือผู้แทน เป็นกรรมการ
- เจ้ากรมพระธรรมนูญ หรือผู้แทน เป็นกรรมการ
- ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย หรือผู้แทน เป็นกรรมการ
- เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือผู้แทน เป็นกรรมการ
- ต่อมา มีการวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง ถึงที่มาของกรรมการบางคนในคณะกรรมการชุดดังกล่าว คปค.จึงออกประกาศฉบับที่ 30 ลงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2549 ยกเลิกประกาศฉบับที่ 23 และตั้งคณะกรรมการตรวจสอบชุดใหม่ (คตส.) ทำหน้าที่แทน โดยขยายอำนาจหน้าที่ให้ครอบคลุมถึงความผิดอันเกิดจากการหลีกเลี่ยงกฎหมายภาษีอากร ซึ่งทำให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ ประกอบด้วยกรรมการ 12 คน คือ
- นายกล้านรงค์ จันทิก
- นายแก้วสรร อติโพธิ
- คุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา
- นายจิรนิติ หะวานนท์
- นายนาม ยิ้มแย้ม
- นายบรรเจิด สิงคะเนติ
- นายวิโรจน์ เลาหะพันธ์
- นายสวัสดิ์ โชติพานิช (ลาออก)
- นายสัก กอแสงเรือง
- นางเสาวนีย์ อัศวโรจน์
- นายอุดม เฟื่องฟุ้ง
- นายอำนวย ธันธรา
รายชื่อบุคคลที่ถูกเรียกปลดหรือโยกย้ายโดยคปค.
[แก้]- ตามประกาศ ฉบับที่ 12 (วันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2549) มีผลให้ให้คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (คตง.) และประธาน คตง.พ้นจากตำแหน่ง
- คำสั่ง คปค. ที่ 11/2549 (วันที่ 21 กันยายน พุทธศักราช 2549) เรื่องให้ข้าราชการมาปฏิบัติราชการสำนักนายกรัฐมนตรีเพื่อความเหมาะสมและประโยชน์แก่ราชการ โยกย้าย 4 นายตำรวจ มาปฏิบัติราชการสำนักนายกรัฐมนตรี โดยให้ได้รับเงินเดือนตามสังกัดเดิมไปพลางก่อน ได้แก่
- พล.ต.อ.จุมพล มั่นหมาย ผอ.สำนักข่าวกรองแห่งชาติ นักบริหาร 11
- พล.ต.ต.พีรพันธุ์ เปรมภูติ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี นักบริหาร 11
- พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ รอง ผบ.ตร.
- พล.ต.ท.ชลอ ชูวงษ์ ผู้ช่วย ผบ.ตร.
- คำสั่ง คปค.ที่ 12/2549 (วันที่ 21 กันยายน พุทธศักราช 2549) เรื่องให้ข้าราชการมาปฏิบัติราชการสำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อความเหมาะสมและประโยชน์แก่ราชการ มีคำสั่งให้ พล.ท.ไวพจน์ ศรีนวล ผู้บัญชาการศูนย์รักษาความปลอดภัยแห่งชาติ กองบัญชาทหารสูงสุด กระทรวงกลาโหม มาปฏิบัติราชการสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ โดยให้ได้รับเงินเดือนตามสังกัดเดิมไปพลางก่อน
รายชื่อบุคคลที่ถูกเรียกตัว ควบคุมตัวหรือจับกุมโดยคปค.
[แก้]- พล.ต.อ.ชิดชัย วรรณสถิตย์ อดีตรองนายกรัฐมนตรี และ น.พ.พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช อดีตเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ถูก คปค. ควบคุมตัวตั้งแต่ช่วงค่ำของวันที่ 19 ก.ย. ที่ผ่านมา ในฐานะทำหน้าที่รักษาการแทนนายกรัฐมนตรี ซึ่งอาจใช้อำนาจต่อต้านยึดอำนาจกลับ[1]
- นายยงยุทธ ติยะไพรัช อดีต รมว.กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, นายเนวิน ชิดชอบ อดีต รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี จาก คำสั่งคณะปฏิรูปฉบับที่ 9/2549 เรื่อง ให้นายยงยุทธ ติยะไพรัช และนายเนวิน ชิดชอบ ไปรายงานตัว (วันที่ 20 กันยายน พุทธศักราช 2549)
- ตามประกาศ คปค. ฉบับที่ 12 (วันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2549) มีผลให้ให้คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (คตง.) ซึ่งมีนาย นรชัย ศรีพิมล เป็นประธานฯพ้นจากตำแหน่ง และให้ จารุวรรณ เมณฑกา ผู้ว่าการ สตง. ดำเนินการแทน คตง.
อ้างอิง
[แก้]- ↑ เดลินิวส์ 22 กย. 49 ชิดชัย ยังถูกควบคุมตัวไว้ภายใน ศรภ.