สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
Anti-Money Laundering Office | |
ตราสัญลักษณ์ | |
อาคารสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน | |
ภาพรวมสำนักงาน | |
---|---|
ก่อตั้ง | 19 สิงหาคม พ.ศ. 2542 |
ประเภท | ส่วนราชการ |
เขตอำนาจ | ทั่วราชอาณาจักร |
สำนักงานใหญ่ | เลขที่ 422 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330 |
บุคลากร | 523 คน (พ.ศ. 2566) |
งบประมาณต่อปี | 524,081,800 บาท (พ.ศ. 2568)[1] |
ฝ่ายบริหารสำนักงาน |
|
ต้นสังกัดสำนักงาน | นายกรัฐมนตรี |
เว็บไซต์ | เว็บไซต์ของสำนักงาน |
สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (อักษรย่อ: ปปง.) (อังกฤษ: Anti-Money Laundering Office) เป็นส่วนราชการที่อยู่ในบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี[2] มีอำนาจหน้าที่ในการวางหลักเกณฑ์ และดูแลให้มีการปฏิบัติตามกฎหมาย ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน รวมทั้งเป็นหน่วยงานตรวจสอบวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับการฟอกเงิน
สำนักงาน ปปง. เป็นหน่วยงาน จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 [3] มีเลขาธิการ ปปง. เป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งขึ้นตามคำแนะนำของคณะรัฐมนตรีและได้รับความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา ต่อมาภายหลัง รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 ได้มีการเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการตามกฎหมายพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2558 [4] โดยไม่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นรองประธานกรรมการ[5]
การวิพากษ์วิจารณ์
[แก้]สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน เป็นหน่วยงานที่ถูกวิจารณ์ว่าทำตามคำสั่งของนักการเมืองในการดำเนินคดีต่าง ๆ อาทิ กรณีเข้าตรวจสอบบัญชีธนาคาร และการชำระภาษีย้อนหลัง ของสื่อมวลชน เช่นสมัย ทักษิณ ชินวัตร เป็นประธานสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินโดยตำแหน่ง สั่งสอบบัญชี สุทธิชัย หยุ่น[6] แม้ว่าเป็นหน่วยงานที่ไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง ทบวงใด แต่นายกรัฐมนตรีมักส่งบุคคลที่เขาไว้ใจได้ว่าจะนโยบายมาเป็นเลขาธิการ ไม่เว้นแม้แต่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่แต่งตั้ง พลตำรวจเอก ชัยยะ ศิริอำพันธ์กุล เป็นเลขาธิการ [7] ภายหลัง รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 ได้มีการแก้กฎหมาย ยกเลิกให้ นายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการโดยตำแหน่ง และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นรองประธานกรรมการโดยตำแหน่ง ยกเลิกอธิบดีกรมการประกันภัย อธิบดีกรมที่ดิน อธิบดีกรมสรรพากร อธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด และประธานสมาคมธนาคารไทย จากการเป็นกรรมการในสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
ภายหลัง รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 พ.ต.อ.สีหนาท ประยูรรัตน์ เลขาธิการปปง. ถูกย้ายเป็นที่ปรึกษาปปง. ในวันที่ 13 มีนาคม 2559 และ มีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 120/2560 เรื่องให้ข้าราชการมาปฏิบัติราชการสำนักนายกรัฐมนตรี โดยย้ายให้มาปฏิบัติราชการที่สำนักนายกรัฐมนตรี ในวันที่ 3 พฤษภาคม 2560 และพล.ต.ต.รมย์สิทธิ์ วีริยาสรร เลขาธิการปปง.ในขณะนั้น[8] ถูกคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 12/2561 ให้ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการพิเศษประจำสำนักนายกรัฐมนตรี[9]ซึ่งเท่ากับเขาเป็นเลขาธิการที่ทำงานเพียง 46 วัน[10]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘, เล่ม ๑๔๑ ตอนที่ ๕๙ ก หน้า ๘๓, ๓๐ กันยายน ๒๕๖๗
- ↑ "พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-12. สืบค้นเมื่อ 2018-01-15.
- ↑ http://www.goldtraders.or.th/downloads/amlo/AMLO_ACT2.pdf
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2558/A/098/1.PDF
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2542/A/029/45.PDF
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-01-12. สืบค้นเมื่อ 2016-05-24.
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้ข้าราชการตำรวจพ้นจากตำแหน่งและแต่งตั้งข้าราชการพลเรือน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 133 ตอน 159 ง พิเศษ หน้า 4 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2559
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ (พลตำรวจตรี รมย์สิทธิ์ วีริยาสรร)
- ↑ คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 12/2561 เรื่อง ให้ข้าราชการพ้นจากตำแหน่ง (พลตำรวจตรี รมย์สิทธิ์ วีริยาสรร)
- ↑ http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/810379